"จาการ์ตา" เผชิญน้ำท่วมใหญ่ ตาย 21 ราย อพยพทิ้งบ้าน 62,000 คน

Friday, 03 January 2020 Read 796 times Written by 

03012020 3

ฝนตกหนักเป็นสาเหตุให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันในหลายพื้นที่ในกรุงจาการ์ตาและเมืองข้างเคียง ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 21 ราย และมีประชาชนต้องอพยพออกจากบ้านเรือนตัวเองไปอยู่ที่พักชั่วคราวมากกว่า 62,000 คน

หน่วยงานอุตุนิยมวิทยา ภูมิอากาศวิทยาและธรณีฟิสิกส์ของอินโดนีเซีย (BMKG) ระบุว่า มีฝนตกลงมาถึง 377 มิลลิเมตร ใน 1 วัน ซึ่งเป็นปริมาณน้ำฝนที่มากที่สุดในรอบ 24 ปี แต่ผู้ว่าการกรุงจาการ์ตาระบุว่า ขณะนี้ ฝนหยุดตกแล้ว รอเพียงให้ระดับน้ำลดลงเท่านั้น

ส่วนหน่วยงานบรรเทาสาธารณภัยของอินโดนีเซีย (BNPB) เปิดเผยว่า ระดับน้ำทางตะวันออกและทางใต้ของกรุงจาการ์ตา และอีกหลายเมืองในจังหวัดชวาตะวันตกเริ่มสูงขึ้นตั้งแต่ 3.00 น. ตามเวลาท้องถิ่นของวันที่ 1 ม.ค.ที่ผ่านมา

ด้านการไฟฟ้าของอินโดนีเซียระบุว่า การไฟฟ้าอินโดนีเซียได้ตัดไฟฟ้าในหลายร้อยเขตในกรุงจาการ์ตา ส่งผลกระทบกับประชาชนถึง 30 ล้านคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ดังกล่าว

น้ำท่วมในกรุงจาการ์ตายังส่งผลให้สนามบินฮาลิม สนามบินภายในประเทศต้องปิดรันเวย์ จนหลายเที่ยวบินต้องเปลี่ยนเส้นทางไปลงที่สนามบินซูการ์โนแทน

ทั้งนี้ ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่ เสียชีวิตจากภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำกว่าปกติ (ไฮโปเธอร์เมีย) จมน้ำ และดินถล่ม ขณะที่ วัยรุ่นอีก 1 รายเสียชีวิตเนื่องจากถูกไฟฟ้าดูด

ปัญหาน้ำท่วมฉับพลันเป็นปัญหาซ้ำซากที่กรุงจาการ์ตาประสบมาตลอด โดยกรุงจาการ์ตาเป็นหนึ่งในเมืองที่จะจมน้ำเร็วที่สุดในโลก และผู้เชี่ยวชาญระบุว่า กรุงจาการ์ตาทั้งหมดอาจจมน้ำภายในปี 2050

เมื่อปี 2007 เกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ในกรุงจาการ์ตา ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 50 ราย ถือเป็นหนึ่งในน้ำท่วมครั้งที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากที่สุด

แม้ช่วงหลายปีหลังมานี้ ทางการกรุงจาการ์ตาจะพยายามหาวิธีรับมือปัญหาน้ำท่วมช่วงฤดูฝนในพื้นที่เสี่ยงต่างๆ แต่ประชาชนหลายคนก็รู้สึกผิดหวังที่ทางการไม่สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากนัก

Content : VioceTV
Credit : https://www.sanook.com/news/7998926/

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank