ครั้งหนึ่งดาวอังคารเคยมีน้ำมากกว่ามหาสมุทรอาร์คติก

Sunday, 08 March 2015 Read 847 times Written by 

08 03 2015 5

สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานจากกรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 5 มี.ค. ว่า วารสารวิทยาศาสตร์ "ไซแอนซ์" เผยแพร่ผลการศึกษาของทีมนักดาราศาสตร์นานาชาติ ที่ตรวจสอบวิเคราะห์ปริมาณน้ำที่เคยมีอยู่บนดาวอังคารในอดีต โดยใช้กล้องอวกาศเวรีลาร์จเทเลสโคพ (วีแอลที) จากหอสังเกตุการณ์ยุโรปตอนใต้ (อีเอสโอ) ในชิลี กล้องโทรทรรศน์เค็ค 2 จากหอสังเกตการณ์เค็คในฮาวาย สหรัฐ และกล้องอวกาศอินฟราเรดเทเลสโคพฟาซิลิตี จากองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐ (นาซา) ในการสังเกตและบันทึกภาพชั้นบรรยากาศของดาวอังคาร เพื่อวิเคราะห์ตำแหน่งที่เคยมีน้ำอยู่ โดยใช้เวลาราว 6 ปีบนโลก ซึ่งเทียบได้กับเวลา 3 ปีบนดาวอังคาร

นายเจโรนิโม วิลลานูวา นักวิทยาศาสตร์จากศูนย์การบินอวกาศก็อดดาร์ดของนาซา ในรัฐแมริแลนด์ สหรัฐ ซึ่งเป็นหัวหน้าทีมวิจัยครั้งนี้ กล่าวว่า หลักการที่ใช้คือตรวจสอบว่ามีน้ำปริมาณเท่าไรที่ระเหยอยู่ในชั้นบรรยากาศของดาว เพื่อนำมาคำนวณหาปริมาณน้ำที่เคยมีบนดาวอังคาร โดยการสังเกตองค์ประกอบทางเคมีของน้ำที่แตกต่างกัน 2 ชุด ได้แก่ เอชทูโอ (H2O) ที่ประกอบไปด้วยไฮโดรเจน 2 อะตอม และอ็อกซิเจน 1 อะตอม กับเอชดีโอ (HDO) หรือที่เรียกว่าน้ำชนิดกึ่งหนัก เป็นการที่โมเลกุลของไฮโดรเจน 1 อะตอมถูกแทนที่ด้วยไฮโดรเจนหนัก หรือดิวเทอเรียม

เนื่องจากเอชดีโอหนักกว่าเอชทูโอ มันจึงระเหยไปสู่อวกาศได้ยากกว่า ดังนั้นแล้ว ยิ่งมีน้ำระเหยออกไปมากเท่าไร ก็แปลว่าสัดส่วนของเอชดีโอต่อเอชทูโอในน้ำที่เหลืออยู่จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น เมื่อคำนวณย้อนกลับ สัดส่วนที่เหลืออยู่ของเอชดีโอ จะเชื่อมโยงถึงปริมาณน้ำที่ระเหยหายไปในอวกาศ ซึ่งจะบอกได้ถึงปริมาณน้ำทั้งหมดที่เคยมีอยู่ก่อนหน้านี้

จากการคำนวณพบว่า เมื่อราว 4,000 ล้านปีก่อน พื้นที่ซีกบนของดาวเกือบครึ่งหนึ่งถูกปกคลุมด้วยน้ำซึ่งมีความลึกประมาณ 140 เมตร โดยบางจุดมีความลึกมากถึงกว่า 1.6 กิโลเมตร คาดว่าตำแหน่งที่เคยเป็นมหาสมุทรใหญ่น่าจะอยู่ตรงจุดที่เรียกว่านอร์เทิร์นเพลนส์ซึ่งมีลักษณะเป็นพื้นที่ต่ำ สัดส่วนที่เป็นน้ำคิดเป็นร้อยละ 19 ของพื้นผิวดาว ใหญ่กว่าสัดส่วนของมหาสมุทรแอตแลนติกบนโลก และมีปริมาณน้ำอย่างน้อย 20 ล้านลูกบาศก์กิโลเมตร มากกว่าน้ำในมหาสมทรอาร์คติคของโลก ก่อนที่น้ำราวร้อยละ 87 จะระเหยออกสู่ชั้นบรรยากาศ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า น้ำปริมาณมหาศาลขนาดนั้นน่าจะทำให้ดาวอังคารเป็นมีลักษณะที่เหมาะสำหรับการอยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตเป็นช่วงระยะเวลาที่นานกว่าที่เราเคยคิดไว้

ทังนี้ นักวิทยาศาสตร์ยังให้ความสนใจกับน้ำแข็งที่ปกคลุมบริเวณขั้วโลกเหนือและใต้ของดาว ซึ่งถือเป็นแหล่งเก็บกักน้ำที่ใหญ่ที่สุด โดยเชื่อว่าน้ำแข็งเหล่านั้นเต็มไปด้วยข้อมูลที่บันทึกวิวัฒนาการของน้ำบนดาวอังคาร จากยุคโนอาเคียนที่ชุ่มชิ้นเมื่อราว 3,700 ล้านปีก่อน มาจนถึงปัจจุบัน.

Credit : http://www.dailynews.co.th

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank