บราซิลปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้น

Friday, 21 November 2014 Read 784 times Written by 

21 11 2014 3

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากนครเซาเปาโลประเทศบราซิล เมื่อวันที่20 พ.ย.ว่า กลุ่มพิทักษ์สิ่งแวดล้อมที่มีเครือข่ายมากกว่า30 องค์กรระบุว่า บราซิล ซึ่งเป็นประเทศยักษ์ใหญ่ในลาตินอเมริกา ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ8 ในปี 2556 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้านี้ กลุ่มอ็อบเซิร์พเวทอริโอโด คลิมา หรือไคลเมตอ็อบเซิร์พเวทอรี รายงานว่า บราซิลปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นจำนวนถึง1,570 ล้านเมตริกตันในปี2556 เมื่อเทียบกับปี2555 ซึ่งอยู่ที่1,450 ล้านเมตริกตัน

 รายงานชี้ว่าภาคพลังงานมีสัดส่วนของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกถึงร้อยละ7.8 เพราะการใช้พลังงานความร้อนมากขึ้นของโรงงานและการบริโภคน้ำมันเบนซินกับดีเซลอย่างมหาศาลในระบบการขนส่ง นายคาร์ลอส ริตต์ เลขาธิการของอ็อบเซิร์พเวทอริโอโด คลิมา บอกว่า บราซิลไม่ได้ลงทุนอย่างเพียงพอในแหล่งพลังงานทางเลือก และว่าบราซิลกำลังให้ความสำคัญกับการพัฒนาแหล่งน้ำมันสำรองนอกชายฝั่ง ในขณะที่ ประเทศต่างๆอย่างสหรัฐ จีน และเยอรมนีได้ลงทุนในพลังงานหมุนเวียน

Credit : http://www.dailynews.co.th/

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank