ชม ‘รบ.อินเดีย’ อพยพคนเฉียดล้าน ลดยอดเหยื่อ ‘ไพลิน’ พบตายแค่ 17

Monday, 14 October 2013 Read 661 times Written by 

14 10 2013 1

เอเจนซีส์ – พายุไซโคลน “ไพลิน” ซึ่งมีกำลังรุนแรงมาก ขึ้นบกที่บริเวณชายฝั่งด้านตะวันออกของอินเดียแล้วในตอนดึกวันเสาร์ (12 ต.ค.) จากนั้นก็เคลื่อนตัวสร้างความเสียหายแก่รัฐโอริสสา และรัฐ อานธรประเทศ 2 รัฐชายฝั่งในพื้นที่ดังกล่าวของอินเดีย อย่างไรก็ตาม จากการเตรียมตัวรับมือด้วยการอพยพผู้คนครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ของแดนภารตะ ได้ช่วยลดการสูญเสียลงเป็นอย่างมาก โดยพบผู้เสียชีวิต 17 รายเท่านั้น
       
        ทีมรับมือสถานการณ์ฉุกเฉินของอินเดีย เมื่อวันอาทิตย์ (13 ต.ค.) ได้เริ่มประเมินความเสียหายจากพายุไซโคลนลูกที่มีกำลังรุนแรงที่สุดในรอบ 14 ปี พร้อมกับที่การปฏิบัติการกู้ภัยครั้งใหญ่ ก็ได้นำอาหารแจกจ่ายแก่ผู้อพยพออกจากบ้านเรือนชั่วคราว ซึ่งจำนวนราว 1 ล้านคน ตลอดจนทำการเก็บกู้ถนน และช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ
       
        เป็นที่คาดว่า พายุไซโคลนไพลินจะค่อยๆ อ่อนกำลังลงภายใน 36 ชั่วโมง หลังจากขึ้นจากอ่าวเบงเกล ตรงบริเวณเมืองโกปัลปุระ รัฐโอริสสา เมื่อตอนดึกวันเสาร์ (12) พร้อมหอบลมที่มีความเร็วกว่า 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เข้ากระหน่ำทำลายบ้านเรือนและถอนรากถอนโคนต้นไม้ อย่างไรก็ดี พอถึงเช้าวันอาทิตย์ (13) ฝนเริ่มเบาลง และความเร็วลมของไซโคลนลูกนี้ก็ลดเหลือ 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
       
        พื้นที่ส่วนใหญ่ในรัฐโอริสสายังคงไม่มีไฟฟ้าใช้เป็นวันที่ 2 ขณะที่พวกเจ้าหน้าที่รับผิดชอบของอินเดียกล่าวว่า พบผู้เสียชีวิตทั้งหมดแล้ว 17 ราย จำนวนมากถูกต้นไม้ที่โค่นล้มหล่นทับ หรือผนังกระท่อมที่ทำจากโคลนตากแห้งพังถล่มลงมา กระนั้น ยังเร็วเกินไปที่จะประเมินความเสียหายอย่างแม่นยำ รวมทั้งยังอาจจะพบผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นอีก เมื่อเจ้าหน้าที่สามารถเข้าถึงชายฝั่งซึ่งถูกพายุกระหน่ำรุนแรงที่สุดได้มากขึ้น
       
        ไซโคลน “ไพลิน” นับเป็นพายุใหญ่ 1 ใน 3 ลูกที่กำลังเล่นงานและคุกคามทวีปเอเชียในวันอาทิตย์ โดยอีกสองลูกคือไต้ฝุ่น “นาริ” ที่เคลื่อนออกจากฟิลิปปินส์ภายหลังทำให้มีผู้เสียชีวิต 13 คน โดยมุ่งหน้าสู่เวียดนาม และไต้ฝุ่น “วิภา” ซึ่งกำลังก่อตัวเหนือหาสมุทรแปซิฟิก

Credit : http://www.manager.co.th

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank