เกิดอุทกภัยรุนแรงในพื้นที่ทางภาคใต้ของเปรู

Monday, 11 February 2013 Read 710 times Written by 

11 02 2013 1

ฝนตกหนักในพื้นที่ทางภาคใต้ของเปรู ทำให้เกิดอุทกภัยรุนแรง สร้างความเสียหายเป็นบริเวณกว้าง มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 6 คน

ฝนตกหนักที่สุดเป็นประวัติการณ์ในเมืองอะรีคิปา ทางภาคใต้ของประเทศเปรู ทำให้เกิดอุทกภัยรุนแรง มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 6 คน บ้านเรือนได้รับความเสียหายหลายร้อยหลัง สำนักงานอุตุนิยมวิทยาท้องถิ่นรายงานว่าฝนที่ตกหนักในเมืองอะรีคิปาในช่วงระยะเวลา 7 ชั่วโมง วัดปริมาณน้ำฝนได้มากสุดถึง 5 นิ้ว แต่ล่าสุดเริ่มเบาบางลงแล้ว

ทางการเปรูต้องระดมเจ้าหน้าที่ออกไปทำความสะอาด เก็บกวาดโคลน และซากปรักหักพังในพื้นที่ที่ได้รับความเสียหาย  ขณะที่เจ้าหน้าที่กาชาดต้องให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย ซึ่งส่วนใหญ่ติดอยู่ตามบ้านเรือนที่จมอยู่ใต้โคลนสูงถึง 1 เมตร

ทั้งนี้ นับเป็นอุทกภัยครั้งเลวร้ายที่สุดของเมืองอะรีคิปา มีชาวบ้านได้รับผลกระทบถึง 48,000 คน ในจำนวนนี้มีผู้ไร้ที่อยู่อาศัยหลายพันคน โดยเมืองอะรีคิปาเป็นเมืองใหญ่สุดอับดับ 2 ของเปรู มีประชากรประมาณ 800,000 คน

Credit: http://news.thaipbs.or.th

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank