พายุไซโคลน“นิลาม”ถล่มอินเดีย

Thursday, 01 November 2012 Read 1100 times Written by 

01 11 2012 2

สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานจากเมืองเชนไน ประเทศอินเดีย ว่า ทางการอินเดียอพยพประชาชนหลายพันคน จากบ้านเรือนตามแนวชายฝั่งทะเลทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศ เพื่อหลบหนีพายุไซโคลน “นิลาม” ซึ่งพัดกระหน่ำชายฝั่งเมืองท่าทางประวัติศาสตร์ มหาบาลีปุราม เมืองเล็กๆ ทางใต้ของเมืองเชนไน หรือมัดราส ประมาณ 50 กม. และคาดว่าพายุลูกนี้จะพัดผ่านรัฐทมิฬนาดู และรัฐอันตระประเทศภายในคืนนี้ (31 ต.ค.)

นายไขยรามัน เจ้าหน้าที่ศูนย์ป้องกันภัยพิบัติในเมืองเชนไน กล่าวว่า เจ้าหน้าที่อพยพประชาชนออกนอกพื้นที่เสี่ยงกว่า 5,000 คน จากเมืองมหาบาลีปุราม และเมืองใกล้เคียง และกำลังเฝ้าจับตามองสถานการณ์ในเมืองเชนไน ซึ่งเป็นเมืองใหญ่อย่างใกล้ชิด  
 
ขณะที่ รายงานล่าสุดของสำนักงานอุตุนิยมวิทยาแห่งชาติอินเดีย พยากรณ์ว่า ความแรงของลมขนาด 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมงของพายุไซโคลนนิลาม อาจทำให้เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ลุ่ม เกิดจากฝนตกหนักและน้ำทะเลหนุนเอ่อขึ้นชายฝั่ง มีความเป็นไปได้ ที่จะสร้างความเสียหายรุนแรงในวงกว้าง.

Credit: http://www.dailynews.co.th/world/164099

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank