ความมั่นคงด้านอาหารภายใต้สภาพอากาศที่ผันผวน

Monday, 03 September 2012 Read 26853 times Written by 

คลังอาหารชุมชนแม่ทา: ความมั่นคงด้านอาหารภายใต้สภาพอากาศที่ผันผวน
ตำบลแม่ทา อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่

ชุมชนแม่ทาตั้งอยู่ในแอ่งที่ราบขนาดเล็ก ตามลุ่มน้ำแม่ทา โอบล้อมรอบด้วยภูเขา 3 ด้าน ยกเว้นทางด้านทิศตะวันตก พื้นที่ส่วนใหญ่ (ประมาณ 80%) เป็นที่ลาดชัน ซึ่งเป็นพื้นที่ป่า (73%) และมีพื้นที่การเกษตรเพียง 13,875 ไร่ ซึ่งในพื้นที่ลาดชัน ชาวบ้านจะปลูกไม้ผล (เช่น กล้วย ลำาไย มะม่วง มะขาม) และไม้ยืนต้นแทรกด้วยข้าวโพดฝักอ่อน (เฉพาะในฤดูฝน) ส่วนพื้นที่ราบ จะทำนาปลูกข้าวในฤดูฝน และปลูกข้าวโพดฝักอ่อนในฤดูแล้ง ตำาบลแม่ทาประกอบด้วย 7 หมู่บ้าน 1,495 ครอบครัว

ในอดีต ชาวบ้านส่วนใหญ่จะมีรายได้หลักจากการขายข้าวโพดฝักอ่อน แต่ได้มีองค์กรพัฒนาเอกชนได้เข้าไปส่งเสริมการทำาเกษตรยั่งยืนในชุมชนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 และชาวบ้านบางส่วนได้เริ่มหันมาปลูกผักเกษตรอินทรีย์กันตั้งแต่ปี 2535 และทางมูลนิธิสายใยแผ่นดินได้เริ่มทำากิจกรรมส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ตั้งแต่ปี2541 จนในปี 2543 ทางกลุ่มเกษตรกรได้ร่วมกันจดทะเบียนจัดตั้ง "สหกรณ์การเกษตรยั่งยืนแม่ทา จำกัด"ที่ผ่านมา ในพื้นที่ประสบกับปัญหาน้ำท่วมเป็นบางปี เนื่องจากปริมาณฝนที่ตกหนัก จนทำาให้น้ำในแม่น้ำแม่ทาเอ่อล้น ไหลเข้าท่วมที่นาและพื้นที่ราบ ซึ่งปัญหาน้ำท่วมนี้ได้เริ่มเกิดบ่อยขึ้นในช่วงระยะหลัง ซึ่งทำให้เกิดปัญหามีผลผลิตข้าวไม่เพียงพอ เพราะพื้นที่ลุ่มที่เหมาะสมกับการปลูกข้าวมีจำกัดอยู่แล้ว เมื่อเกิดภัยพิบัติ ทำาความเสียหายกับแปลงนา การผลิตข้าวจึงลดลง ส่งผลต่อปัญหาความมั่นคงทางอาหารในชุมชน นอกจากนี้ ชาวบ้านเกือบทั้งหมดพึ่งพาอาหารธรรมชาติจากป่าชุมชนและพื้นที่สาธารณะในละแวกชุมชน โดยการเก็บหาผลผลิตจากป่า (เช่น เห็ด หน่อไม้ พืชผัก) มาใช้บริโภคเป็นอาหารประจำวัน ซึ่งความผันผวนและการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศได้เริ่มมีผลต่อระบบนิเวศธรรมชาติของป่าเหล่านี้ เช่น ฤดูหนาวที่สั้นลงและหนาวน้อยลง ฤดูร้อนที่ร้อนมากขึ้นและยาวนานขึ้น รวมทั้งฤดูฝนที่ฝนตกหนักมาขึ้น ปัจจัยสภาพอากาศเหล่านี้ทำาให้ระบบนิเวศธรรมชาติเปลี่ยนไป ส่งผลต่ออาหารธรรมชาติที่มีอยู่ มีทั้งที่เกิดมากขึ้น-น้อยลงหรือเปลี่ยนแปลงฤดูในการออกผลผลิต

ทางสหกรณ์การเกษตรยั่งยืนแม่ทาจึงได้ริเริ่มโครงการปรับตัว โดยเน้นที่การพัฒนาระบบคลังอาหารสำรองในชุมชน โดยการศึกษาหาชนิดพันธุ์ของพืชหัว ที่สามารถนำามาบริโภคทดแทนข้าว ในกรณีที่การผลิตข้าวไม่ได้ผล โดยศึกษาทั้งทางด้านการเพาะปลูก ความต้องการของผู้หญิงในการจัดเตรียมและปรุงอาหารจากพืชหัว คุณค่าทางโภชนาการ และปริมาณการบริโภคของคนในชุมชน (เด็ก ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ) รวมทั้งการส่งเสริมให้เกษตรกรสมาชิกได้เริ่มเพาะปลูกพืชหัวเหล่านี้ไว้ เพื่อเป็นคลังอาหารสำารองภายในชุมชนนอกจากนี้ ทางสหกรณ์ฯ ยังได้ทำาการสำารวจและประเมินการเปลี่ยนแปลงของพืชอาหารธรรมชาติในแต่ละฤดูกาล ตลอดทั้งช่วงปี ที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากความผันผวนของสภาพอากาศ และระดมความคิดเห็นเพื่อหามาตรการในการบรรเทาปัญหาที่จะเกิดขึ้น

ติดต่อ สหกรณ์เกษตรยั่งยืนแม่ทา จำกัด เลขที่ 61 หมู่ 5 ตำาบลแม่ทา อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ 50130
โครงการนำร่องการปรับตัว เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ มูลนิธิสายใยแผ่นดิน

Credit: http://www.greennet.or.th

03 09 2012 5

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank