ชนิดพันธุ์ไม้ที่ปลูกในโครงการสาธิต “การปลูกป่านิเวศเพื่อลดผลกระทบจากการเพิ่มขึ้น
ของระดับน้ำทะเล การกัดเซาะชายฝั่ง และพายุซัดฝั่ง”
1. จิกทะเล
ชื่อพันธุ์ไม้ : ต้นจิกทะเล
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Barringtonia asiatica (Linn.) Kurz
วงศ์ : MRYTACEAE
ชื่ออื่น : จิกเล (ทั่วไป) โคนเล (ภาคใต้) อามุง (มลายู-นราธิวาส)
ลักษณะทั่วไป : ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ไม่ผลัดใบ มีความสูงได้ประมาณ 7-20 เมตร แตกกิ่งก้านสาขาออกที่เรือนยอดของลำต้น เรือนยอดเป็นพุ่มกลมทึบแตกกิ่งต่ำ ซึ่งเป็นกิ่งที่มีขนาดใหญ่จะมีรอยแผลอยู่ทั่วไป ซึ่งเป็นรอยแผลที่เกิดจากใบที่ร่วงหล่นไป เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลตาลหรือเทา แตกเป็นร่องตามแนวยาวและมีช่องระบายอากาศด้วย ส่วนเนื้อไม้เป็นสีขาวหรือสีเหลืองอ่อน ๆ เป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด หรือแพร่พันธุ์โดยที่ผลลอยไปตามน้ำ มีอัตราการเจริญเติบโตปานกลางถึงเร็ว ขึ้นได้ในดินทั่วไป ชอบความชื้นปานกลาง และแสงแดดแบบเต็มวัน มีเขตการกระจายพันธุ์กว้าง พบได้ตั้งแต่มาดากัสการ์ อินเดีย ศรีลังกา ไต้หวัน ญี่ปุ่น ภูมิภาคมาเลเซียรวมถึงฟิลิปปินส์ หมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก ไปจนถึงทางภาคเหนือของออสเตรเลีย และในหมู่เกาะโพลีนีเซีย ส่วนในประเทศไทยพบขึ้นมากตามป่าชายหาดของฝั่งทะเลและตามเกาะที่ยังไม่ถูกรบกวนทางภาคใต้ประเภท : ต้นไม้ขนาดใหญ่สูง 20 เมตร
ขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม : ดินร่วนปนทราย หรือดินทราย เป็นไม้กลางแจ้ง
ถิ่นกำเนิด : หาดทรายชายทะเลทั่วไป
ประโยชน์ : เปลือกและเนื้อของผลใช้เบื่อปลา เป็นยาเสพติดและช่วยให้นอนหลับ ผล เปลือก ใบ บรรเทาอาการปวดศรีษะ เมล็ดขับพยาธิ
แหล่งที่มา : https://khaolan.redcross.or.th
2. หยีทะเล
ชื่อพันธุ์ไม้ : หยีทะเล
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Derris indica Bennet.
วงศ์ : LEGUMIMOSAE-PAPIUONOIDEAE
ชื่ออื่น : กายี (ภาคใต้) ขยี้ (ชุมพร) เพาะดะปากี้ (มลายู-สงขลา) ปารี (มลายู-นราธิวาส) มะปากี (มลายู-ปัตตานี) ราโยด (ปัตตานี) หยีน้ำ (ภาคใต้)
ลักษณะทั่วไป : ไม้ต้น สูง 5–20 เมตร เรือนยอดค่อนข้างกลม ถึงแผ่เป็นพุ่มกว้าง ลำต้นมักคดงอและแตกกิ่งต่ำ เปลือกเรียบ สีเขียวแกมน้ำตาลเทาคล้ำ ผิวเปลือกในสีเขียว เปลือกชั้นในสีน้ำตาลอ่อนประขาว ใบ ประกอบรูปขนนกปลายคี่ เรียงสลับ ก้านใบรวมแกนช่อใบยาว 10–15 เซนติเมตร ใบย่อยเรียงตรงข้ามกัน 3 คู่ และที่ปลายก้านอีก 1 ใบ แผ่นใบย่อยรูปไข่แกมรูปขอบขนาน ถึงรูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ เรียงจากเล็กไปหาใหญ่ กว้าง 3–4.5 และ ยาว 5–12 เซนติเมตร ผิวเกลี้ยงทั้งสองด้าน ด้านบนสีเขียวเข้มกว่าด้านล่าง ปลายเรียวแหลม โคนสอบ เส้นแขนงใบย่อย 8–10 คู่ ดอก สีชมพู เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร ออกเป็นช่อตามง่ามใบและปลายกิ่ง ผล ค่อนข้างแบน เบี้ยว รูปขอบขนาน ปลายแหลมโค้งลง กว้าง 2.5–3 เซนติเมตร ยาว 5–7.5 เซนติเมตร มี 1–2 เมล็ด
ประเภท : ต้นไม้ขนาดใหญ่สูง 20 เมตร
ขยายพันธุ์ : ขยายพันธุ์ได้เองตามธรรมชาติ เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม : ทนทานต่อสภาพแวดล้อม ทนแล้ง ทนดินเค็ม
ถิ่นกำเนิด : พบที่อินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ในประเทศไทยพบตามฝั่งแม่น้ำใกล้ทะเล และในป่าชายหาดทาง
ประโยชน์ : เนื้อไม้ใช้ทำฟืน เสารั้ว ด้ามเครื่องมือเครื่องใช้ในการเกษตร
แหล่งที่มา : https://www.qsbg.org
3. โพทะเล
ชื่อพันธุ์ไม้ : โพทะเล
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Thespesia populnea
วงศ์ : MALVACEAE
ชื่ออื่น : ปอกะหมัดไพร (ราชบุรี) ปอหมัดไซ (เพชรบุรี) บากู (ปัตตานี มลายู-นราธิวาส) โพทะเล โพธิ์ทะเล (ภาคกลาง) เป็นต้น
ลักษณะทั่วไป : ไม้ยืนต้นขนาดเล็กสูง 8-12 เมตร ลำต้นโค้งและแตกกิ่งในระดับต่ำ ลักษณะของต้นเป็นทรงเรือนยอดแผ่กว้างและค่อนข้างหนาทึบ เปลือกเป็นสีเทาอ่อนหรือสีน้ำตาล มีลักษณะเรียบหรือขรุขระ มีรอยแตกตามยาวเป็นร่อง ๆ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด โดยจัดเป็นไม้กลางแจ้งที่ชอบแสงแดดจัด เจริญเติบโตได้ดีในสภาพดินแทบทุกชนิดที่มีความชุ่มชื้น และจะพบได้มากที่ดอนหรือตามชายฝั่งทะเลและตามริมแม่น้ำที่เป็นดินร่วนปนทราย มีเขตการกระจายพันธุ์เป็นวงกว้าง สามารถพบขึ้นได้ในแอฟริกา อินเดีย ศรีลังกา จีน ไต้หวัน ญี่ปุ่น เวียดนาม กัมพูชา ฟิลิปปินส์ รวมไปถึงภูมิภาคมาเลเซียและในหมู่เกาะแปซิฟิก สำหรับในประเทศไทยสามารถพบได้ตามชายฝั่งทะเลทั่วไป และยังจัดเป็นพันธุ์ไม้ประจำจังหวัดสมุทรปราการ
ประเภท : ไม้พุ่ม กึ่งไม้ยืนต้น สูง 3-5 เมตร
ขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม : ดินทุกชนิด เป็นไม้กลางแจ้ง ชอบแสงแดดจัด ความชุ่มชื้นสม่ำเสมอ ต้องการน้ำมาก
ถิ่นกำเนิด : ป่าชายเลน พบมากทางภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงใต้
ประโยชน์ : เปลือกต้มกับน้ำแล้วนำไปล้างทำความสะอาดแผลเรื้อรัง ดื่มขับน้ำเหลือง แก้บิด ยางจากผลทากันหูด รากอ่อนใช้รับประทานเป็นยาบำรุง ผล และใบตำให้ละเอียดพอกแก้หิด
แหล่งที่มา : https://medthai.com
4. ปอทะเล
ชื่อพันธุ์ไม้ : ปอทะเล
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hibiscus tilliaceus L.
วงศ์ : MALVACEAE
ชื่ออื่น : ขมิ้นนางมัทรี ผีหยิก (เลย) บา (จันทบุรี) โพธิ์ทะเล (นนทบุรี) โพทะเล (กรุงเทพฯ)ปอฝ้าย (ภาคกลาง) ปอนา ปอนาน ปอมุก ปอฝ้าย (ภาคใต้) ปอโฮ่งบารู (มลายู-นราธิวาส) เป็นต้น
ลักษณะทั่วไป : ไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 3-5 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มแผ่กว้าง แตกกิ่งต่ำ ลำต้นมักคดงอและแตกกิ่งก้านมาก เปลือกลำต้นเป็นสีเทาอมสีน้ำตาล เปลือกต้นด้านนอกเรียบเกลี้ยงหรือแตกเป็นร่องตื้น มีช่องระบายอากาศเป็นแนวตามยาวของลำต้น ส่วนเปลือกด้านในเป็นสีชมพูประขาว มีความเหนียว สามารถลอกออกจากลำต้นได้ง่าย โดยพันธุ์ไม้ชนิดนี้จะมีเขตการกระจายพันธุ์ตั้งแต่ประเทศอินเดีย จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปจนถึงทางตอนเหนือของประเทศออสเตรเลีย ส่วนในประเทศสามารถพบได้ทุกภาค โดยมักพบขึ้นตามชายฝั่งทะเล ป่าชายเลน ตามแม่น้ำลำคลองภายใต้อิทธิพลของน้ำกร่อย ตามป่าดิบชื้นใกล้ชายฝั่ง ป่าดิบแล้ง และป่าดิบเขา ไปจนถึงระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,400 เมตร
ประเภท : ไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้น สูง 3-5 เมตร
ขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม : พื้นที่ดินแข็งเป็นดอน แม่น้ำลำคลอง น้ำกร่อย หรือ ป่าชายเลน
ถิ่นกำเนิด : ป่าชายเลน หรือตามป่าดิบชื้นใกล้ชายฝั่ง ป่าดิบแล้ง และป่าดิบเขา
ประโยชน์ : ปลูกเป็นไม้ประดับ เปลือก ใช้ทำเชือกและหมันยาเรือ ใบ บดเป็นผงใส่แผลสด
แหล่งที่มา : https://www.thaikasetsart.com
5. หมันทะเล
ชื่อพันธุ์ไม้ : หมันทะเล
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cordia subcordata
วงศ์ : BORAGINALES
ชื่ออื่น : เก้าศรี สะหลีหลวง สะหลี ย่อง ปู
ลักษณะทั่วไป : เป็นไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 5-10 เมตร ลำต้นแตกกิ่งต่ำ ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ ใบรูปไข่กว้างแกมรูปสามเหลี่ยม ปลายใบแหลม โคนใบเบี้ยวเล็กน้อย ก้านใบยาวเรียว ดอกมีขนาดใหญ่ สีส้ม ออกเป็นช่อสั้นๆ ที่ปลายกิ่ง กลีบดอกติดกันคล้ายรูปแตร ปลายแยกเป็น 5 กลีบ บานตลบไปด้านหลัง เกสรตัวผู้โผล่พ้นปากหลอดกลีบดอกเล็กน้อย และผลสดเป็นรูปรี
ประเภท : ต้นไม้ขนาดเล็ก 10 เมตร
ขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม : สภาพดินเลน ต้องการน้ำและความชุ่มชื้นสูง
ถิ่นกำเนิด : ป่าชายเลนที่ค่อนข้างแข็ง และชายฝั่งทะเลอ่าวไทย
ประโยชน์ : เปลือก ใช้ทำปอ ใช้ทำหมันตอกยาแนวเรือ ของเหลวในผลที่ห่อหุ้มเมล็ด เหนียวมาก ใช้ทำกาว
แหล่งที่มา : http://www.rspg.or.th
6. ฝาดดอกขาว
ชื่อพันธุ์ไม้ : ฝาดดอกขาว
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lumnitzera racemosa Willd.
วงศ์ : COMBRETACEAE
ชื่ออื่น : ฝาด (กลาง ใต้) ขวาด (สมุทรสาคร) กะลูง (ชุมพร)
ลักษณะทั่วไป : ไม้ต้นขนาดเล็กหรือไม้พุ่ม สูง 4-8 เมตร ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง รูปไข่กลับ กว้าง 1-3 เซนติเมตร ยาว 3-9 เซนติเมตร ปลายใบเว้าตื้น โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ หรือหยักมน แผ่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง ก้านใบสั้นมาก ดอกเป็นช่อกระจุก สีขาว ออกปลายกิ่งหรือซอกใบ ดอกย่อย 6-10 ดอก เส้นผ่านศูนย์กลางดอก 0.6-0.9 เซนติเมตร มีฐานรองดอกรูปรี ยาว 0.5-1 เซนติเมตร กลีบเลี้ยง 5 กลีบ สั้นมาก รูปไข่กว้าง กลีบดอก 5 กลีบ รูปรีแคบถึงรูปใบหอก เกสรเพศผู้ 10 อัน รังไข่ใต้วงกลีบ ก้านชูยอดเกสรเพศเมียยาว 0.6-0.7 เซนติเมตร ผลรูปรี มีเหลี่ยมมน กว้าง 0.3-0.5 เซนติเมตร ยาว 1-1.3 เซนติเมตร ผิวผลเกลี้ยง
ประเภท : ไม้ต้นขนาดเล็กหรือไม้พุ่ม สูง 8 เมตร
ขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม : พื้นที่ราบหาดเลนน้ำท่วมถึงหรือขึ้นเป็นกลุ่มใหญ่ เมื่อพื้นที่ป่าเดิมถูกทำลายไป โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีการระบายน้ำดี และดินไม่เป็นทรายมากนัก
ถิ่นกำเนิด : ป่าชายเลน พื้นที่ดินเลนหรือดินทรายริมฝั่งทะเล
ประโยชน์ : ลำต้นที่มีขนาดใหญ่เนื้อไม้ใช้สร้างบ้านเรือน ทำฟืน ทำถ่าน เปลือกนำมาทุบแช่น้ำ ให้ สีฝาด ใช้ย้อมผ้า ย้อมจีวรพระสงฆ์
แหล่งที่มา : http://suanluangrama9.or.th
7. หงอนไก่ทะเล
ชื่อพันธุ์ไม้ : หงอนไก่ทะเล
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Heritiera littoralis Aiton.
วงศ์ : MALVACEAE.
ชื่ออื่น : ไข่ควาย (กระบี่) ดุหุน (ตรัง) หงอนไก่ (กลาง สุราษฏร์ธานี)
ลักษณะทั่วไป : ไม้ต้น สูง 5–15 เมตร ทรงพุ่มค่อนข้างกลม เปลือกต้น สีน้ำตาลเทา แตกสะเก็ดตามยาวเป็นร่องตื้นๆ ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับและแผ่นใบรูปไข่ กว้าง 5–10เซนติเมตร ยาว 10–22 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบกลมมน สอบแคบ หลังใบสีเข้ม ท้องใบมีไขสีขาว ขอบใบเรียบ หรือเป็นคลื่นเล็กน้อย เส้นแขนงใบ 7–15 คู่ ปลายเส้นแขนงใบเชื่อมประสานกันก่อนถึงขอบใบ ก้านใบยาว 1–2 เซนติเมตร ดอกออกเป็นช่อตามง่ามใบ สีเหลือง ผลกลมรี มีครีบเป็นสันด้านบน ผิวเกลี้ยงเป็นมัน ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีน้ำตาลแก่ กว้าง 4 เซนติเมตร ยาว 5- 6 เซนติเมตร เปลือกด้านในเป็นเส้นใย เป็นผลแห้งชนิดไม่แตก เปลือกผลจะแตกอ้าออกเมื่อเมล็ดจะงอกเป็นต้นกล้าเมล็ดค่อนข้างกลม 1 เมล็ดต่อผล
ประเภท : ต้นไม้ขนาดใหญ่ สูง 15 เมตร
ขยายพันธุ์ : เพาะกล้าด้วยผลแห้ง
สภาพที่เหมาะสม : ป่าชายเลนทั่วๆ ไป ในเขตน้ำกร่อย ที่ดินค่อนข้างเป็นดินทราย
ถิ่นกำเนิด : ป่าชายเลนขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ชอบขึ้นในที่ดินแข็ง
ประโยชน์ : เนื้อไม้ใช้ก่อสร้างภายในอาคารบ้านเรือน เมล็ด แก้ท้องเสีย แก้บิด เปลือก ต้มน้ำอมบ้วนปากแก้รำมะนาด ปากอักเสบ กิ่งอ่อน มีสารเทนนิน ใช้ถูฟันรักษาเหงือก
แหล่งที่มา : http://identity.bsru.ac.th
8. แสมทะเล
ชื่อพันธุ์ไม้ : แสมทะเล
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Avicennia marina (Forsk.) Vierh.
วงศ์ : AVICENNIACEAE
ชื่ออื่น : ปีปีดำ (ภูเก็ต) แสมขาว พีพีเล
ลักษณะทั่วไป : เป็นไม้ขนาดเล็ก สูงประมาณ 5-8 เมตร มีลักษณะเป็นพุ่มส่วนใหญ่มีสองลำต้น หรือมากกว่า ไม่มีพูพอน เรือนยอดโปร่งมีรากหายใจรูปคล้ายดินสอ ยาว 10-20 เซนติเมตร เหนือผิวดิน เปลือกเรียบเป็นมัน สีขาวอมเทา หรือขาวอมชมพู ต้นที่อายุมากเปลือกจะหลุดออกเป็นเกล็ดบางๆคล้ายแผ่นกระดาษ และผิวของเปลือกใหม่จะมีสีเขียว
ประเภท : ไม้ขนาดเล็ก สูงประมาณ 8 เมตร
ขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม : นํ้าเค็ม น้ำจืดและน้ำกร่อย
ถิ่นกำเนิด : ริมชายฝั่งแม่น้ำ ตามริมชายฝั่งทะเล ที่เป็นดินเหนียวค่อนข้างแข็ง
ประโยชน์ : ต้นใช้ทำฟืนและถ่าน บริเวณรากเป็นแหล่งอาหาร และหลบซ่อนตัวของสัตว์นํ้าวัยอ่อน ราก ช่วยในการสร้างดินและอินทรีย์วัตถุลดปัญหาการพังทลายของดินบริเวณชายคลองและริมทะเล ทางด้านสมุนไพรมีประโยชน์เช่นเดียวกับแสมขาว
แหล่งที่มา : https://sites.google.com
9. คอร์เดีย
ชื่อพันธุ์ไม้ : คอร์เดีย
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cordia sebestina L.
วงศ์ : BORAGINACEAE
ชื่ออื่น : หมันแดง
ลักษณะทั่วไป : เป็นไม้ยืนต้นสูง ประมาณ 3-10 เมตร เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลเทาถึงเข้ม ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับเป็นรูปไข่ ปลายใบแหลมหรือ กลม โคนมน ผิวใบสากมือ สีเขียวสด ดอกเป็นสีแสดแดง หรือ สีส้ม ออกเป็นช่อ กระจุกที่ปลายยอด แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยจำนวนมาก กลีบเลี้ยงเป็นเป็นรูปกรวยยาว ปลายจักเป็น 3-4 ซี่ กลีบดอก เป็นรูปปากแตร ปลายแยกเป็นกลีบดอก 5-7 กลีบ ขอบกลีบย้วย ผิวกลีบย่นจากโคนกลีบขึ้นไปเกือบ ถึงปลายกลีบดอก ดอกบานเต็มที่ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2.5-5 เซนติเมตร เวลามีดอกดกและบานพร้อม ๆ กัน ช่อตั้งชูขึ้นสร้างสีสันฉูดฉาดสวยงาม น่าชมยิ่ง ใจกลางดอกมีเกสรตัวผู้ 5 อัน ผลเป็นรูปไข่ค่อนข้าง กลมสีขาว ดอกออกเกือบตลอดปี
ประเภท : ต้นไม้ขนาดเล็ก สูง 10 เมตร
ขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด และตอนกิ่ง
สภาพที่เหมาะสม : ปลูกขึ้นได้ในดินทั่วไป ชอบแดด ไม่ชอบน้ำท่วมขังทนต่อทุกสภาพอากาศ นิยมปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไปตามบ้าน ตามสวนสาธารณะหรือสำนักงาน
ถิ่นกำเนิด : อเมริกาเขตร้อน
ประโยชน์ : ใช้เป็นยาแก้โรคเกี่ยวกับลำไส้ และเป็นไม้ประดับ ผลสุกมีกลิ่นหอม กินสดหรือปรุงสุก
แหล่งที่มา : https://sites.google.com
10. สนประดิพัทธ์
ชื่อพันธุ์ไม้ : สนประดิพัทธ์
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Casuarina junghuhniana Miq.
วงศ์ : CASUARINACEAE
ชื่ออื่น : สนปฏิพัทธ์
ลักษณะทั่วไป : เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางมีความสูงประมาณ 10-20 เมตร ไม้ผลัดใบ ลำต้นเปลาตรง เรือนยอดรูปกรวยแหลม กิ่งขนาดเล็กทำมุมแหลมกับลำต้น และแตกกิ่งเป็นระเบียบ กิ่งย่อยสีเขียวเรียงกันเล็กมากคล้ายรูปเข็มหรือเส้นลวดต่อกันเป็นปล้อง ๆ แต่ละกิ่งยาว 10-20 เซนติเมตร เปลือกของลำต้นสีน้ำตาลปนเทา แตกเป็นร่องตื้น ๆ ลอกเป็นแผ่นเล็ก ๆ ห้อยตามลำต้น ชอบขึ้นในดินทรายใกล้ทะเลจนถึงภูเขาสูงถึง 3,100 เมตรจากระดับน้ำทะเล สามารถเจริญเติบโตได้ในดินทรายจนถึงดินเหนียวซึ่งมีความเป็นกรด เป็นด่าง pH 2-8
ประเภท : ต้นไม้ขนาดใหญ่ สูง 20 เมตร
ขยายพันธุ์ : ใช้หน่อจากราก ตอนจากกิ่งที่เกิดจากราก ต้น ยอดของต้น และปลายกิ่ง การชำกิ่ง กล้าไม้ที่ได้จากทั้ง 3 ส่วนข้างต้น
สภาพที่เหมาะสม : ดินทรายจนถึงดินเหนียวซึ่งมีความเป็นกรด เป็นด่าง pH 2-8
ถิ่นกำเนิด : มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่เกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย
ประโยชน์ : นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ปลูกเป็นแนวกันลม สามารถตัดแต่งเป็นรูปต่าง ๆ ได้เนื้อไม้ใช้ทำเสาโป๊ะ เสากระโดงเรือ ทำฟืนถ่าน ไม้กระดาน ไม้ฝา แปรรูป ทำเฟอร์นิเจอร์ ปาร์เก้
แหล่งที่มา : https://sites.google.com
ชนิดพันธุ์ไม้ที่ปลูกในโครงการสาธิต “การปลูกป่านิเวศเพื่อลดผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล การกัดเซาะชายฝั่ง และพายุซัดฝั่ง”