3แนวทางแก้ปัญหาน้ำท่วม

Monday, 19 September 2011 Read 4471 times Written by 

121ภัยพิบัติทางธรรมชาติ หมายถึง มหันตภัยที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน เป็นการนำมาซึ่งการทำลายล้างทั้งชีวิต ทรัพย์สิน และก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากสภาพดั้งเดิม

สถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นขณะนี้ นอกจากจะสร้างความเสียหายมหาศาลต่อประเทศชาติ และประชาชนแล้ว ยังถือเป็นปัญหาที่ท้าทายของรัฐบาลที่มีนายกรัฐมนตรีชื่อ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งล่าสุด ทั้งเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ กำลังตกอยู่ในภาวะวิกฤติรองรับน้ำเต็ม 100% จนกรมชลประทานต้องสั่งการให้เจ้าหน้าที่จับตาปริมาณน้ำในเขื่อนต่าง ๆ อย่างใกล้ชิดแบบวันต่อวัน เนื่องจากปริมาณน้ำในเขื่อนหลายแห่งมีระดับที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าภายในไม่เกิน 10 วัน หากระดับน้ำยังสูงขึ้นจะทำให้น้ำเต็มเขื่อน อาจต้องปล่อยให้น้ำล้นออกมา

เกิดผลกระทบตามมา ทำให้จังหวัดที่อยู่ในภาคกลางไม่ว่าจะเป็น ชัยนาท อ่างทอง สิงห์บุรี สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา กรุงเทพ มหานคร น้ำท่วมบ้านเรือน เรือกสวนไร่นา ถนนหนทางได้รับความเสียหายอย่างหนัก ประชาชนที่ประสบภัยได้รับความเดือดร้อนแสนสาหัส เช่นน้ำในแม่น้ำป่าสัก แม่น้ำน้อย และแม่น้ำเจ้าพระยา ได้ไหลเอ่อเข้าท่วมวัดไทรน้อย ต.ไทร น้อย อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา และปริมาณสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้โบสถ์ วิหาร เมรุ และบริเวณลานวัดได้รับความเสียหาย บางหมู่บ้านน้ำท่วมขังเป็นเวลาหลายวัน สร้างความเดือดร้อนให้กับชาวบ้านเป็นอย่างมาก หรือแม้กระทั่งที่จังหวัดสิงห์บุรีมีการจมน้ำตาย เนื่องจากผู้ตายลงมาเก็บของหนีน้ำ เนื่องจากระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้พลัดตกน้ำเสียชีวิต

ขณะนี้ต้องยอม รับว่ามีหน่วยงานหลาย ๆ หน่วยงานเข้ามาช่วยเหลือ แต่การเข้ามาช่วยเหลือของราชการเป็นการช่วยเหลือแค่ระยะสั้นเท่านั้น แต่สิ่งที่จะเป็นการบ้านให้รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ คือการทำอย่างไรที่จะแก้ปัญหาน้ำท่วมในระยะยาว ไม่ใช่เพียงแค่เฉพาะหน้าเท่านั้น

นายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้เปิดเผยในเรื่องของการแก้ไขปัญหาน้ำแบบบูรณาการว่า ปัจจุบันรูปแบบการตกของฝนเปลี่ยนไปจากอดีตมาก กล่าวคือฝนจะตกครั้งละมาก ๆ หรือตกเป็นเวลาหลายวันต่อเนื่อง ทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วม และพบว่าในอนาคตสภาพความแปรปรวนของภูมิอากาศจะมีความถี่ที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งอาจทำให้ประเทศไทยประสบกับภัยธรรมชาติ ต่าง ๆ เช่น ภัยแล้ง น้ำท่วม ดินถล่ม ฯลฯ เพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว ดังนั้นการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมแบบบูรณาการจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นและต้องพิจารณาข้อมูลจากหลายมิติไปพร้อม ๆ กัน มาตรการเร่งด่วนที่ควรดำเนินการในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา อาทิ ควรเร่งปรับปรุงระบบเตือนภัยล่วงหน้า และการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำทั้งระบบ เร่งวางแผนแม่บทมาตรฐานการป้องกันน้ำท่วม โดยใช้สิ่งก่อสร้าง ควรมีแผนพัฒนากรุงเทพฯ และเมืองบริวารในอนาคต มีมาตรการควบคุมการใช้ที่ดินและผังเมืองโดยใช้แผนที่เสี่ยงภัยน้ำท่วม เป็นต้น

สำหรับแนวทางการบริหารจัดการพิบัติภัยจากน้ำท่วมในเชิงพื้นที่ระดับ ลุ่มน้ำหลัก และ ลุ่มน้ำย่อย ขณะนี้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กำลังปรับระบบการทำงานให้เน้นประสิทธิผลมากกว่าการทำกิจกรรมตั้งรับ โดยนำทฤษฎีขั้นพื้นฐานที่ประเทศพัฒนาแล้วได้ดำเนินการใช้อยู่มาเป็นกรอบในการประยุกต์สารสนเทศเชิงพื้นที่ การวิเคราะห์และประมวลผล รวมทั้งจัดทำแบบจำลองเชิงพื้นที่ในหลายรูปแบบ เพื่อให้เกิดผลที่เป็นรูปธรรมและเป็นพลวัต สามารถนำไปประยุกต์ใช้ประโยชน์และนำไปปฏิบัติได้จริงในพื้นที่ได้อย่างทันเหตุการณ์ เป็นเอกภาพ มีความเชื่อมโยงกันอย่างต่อเนื่อง และมีการบูรณาการการทำงานร่วมกันอย่างเป็นเครือข่าย เป็นการจัดการปัญหาในเชิง รุกที่ทั่วถึง เท่าเทียม และขณะนี้ได้ดำเนินงานครอบคลุมใน 3 แนวทาง ประกอบด้วย

1. เสนอแนะนโยบายและแผนมาตรการที่เกี่ยวกับทรัพยากรน้ำ ซึ่งมีการส่งเสริมการรวม กลุ่มและการสร้างกลไกการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ โดยคณะกรรมการลุ่มน้ำและคณะทำงานด้านต่าง ๆ การจัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำเพื่อการบริหารจัดการน้ำ เป็นต้น การจัดทำแผนพัฒนาบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแบบบูรณาการเป็นรายลุ่มน้ำ รวมถึงแผนงบประมาณเชิงบูรณาการ สนับสนุนจังหวัดและกลุ่มจังหวัดในการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัดเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ไม่เกิดความซ้ำซ้อนในการของบประมาณของแผ่นดิน

2. มีการพัฒนา ปรับปรุง อนุรักษ์และฟื้นฟูแหล่งน้ำ เพื่อให้แหล่งน้ำกลับคืนสภาพความสมบูรณ์ตามธรรมชาติมากที่สุด เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่โดยรอบสามารถใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำได้ตลอดปี จากการมีปริมาณน้ำเก็บกักเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันก็ช่วยในการรองรับปริมาณน้ำที่มากในฤดูฝนเพื่อป้องกันและบรรเทาปัญหาน้ำท่วมโดยรอบ ส่วนการจัดหาน้ำต้นทุน โดยการศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการจัดการน้ำแบบบูรณาการในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำการศึกษาความเหมาะสมการผันน้ำ ระบบกระจายน้ำ การบริหารโครงการเพื่อการใช้ประโยชน์และบำรุงรักษาโครงการ เพื่อที่จะทำการออกแบบและการก่อสร้างโครงการต่อไป

3. เฝ้าระวัง พยากรณ์และเตือนภัยด้านน้ำ มีการติดตั้งระบบเตือนภัยล่วงหน้า (Early warning) ในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย ดินถล่มในพื้นที่ลาดชันและพื้นที่ราบเขา เพื่อเฝ้าระวังและลดความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัย โดยในปีงบประมาณ 2554 จะดำเนินการติดตั้งได้ครอบคลุมพื้นที่เสี่ยงภัยทั้งหมดที่ได้ทำการศึกษาไว้ และมีการติดตั้งระบบตรวจวัดสภาพน้ำอัตโนมัติทางไกล การจัดตั้งศูนย์ข้อมูลภูมิภาคในพื้นที่ลุ่มน้ำชีและลุ่มน้ำมูล เพื่อให้สามารถบริหารการจัดการน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นในพื้นที่

เป้าหมายหลักเพื่อให้การบริหารจัดการน้ำเหมาะสมเพียงพอสำหรับใช้ในกิจการต่าง ๆ ในหน้าแล้ง ในขณะที่ช่วงหน้าฝนสามารถผันน้ำออกจากแหล่งกักเก็บน้ำในปริมาณที่พอเหมาะ ไม่ให้ส่งผลกระทบต่อพื้นที่การเกษตร แหล่งที่อยู่อาศัย หรือชุมชน หากสามารถดำเนินการได้อย่างจริงจัง ความจำเป็นในการก่อสร้างเขื่อนกักเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่จะส่งผล กระทบต่อสภาพแวดล้อม ที่อยู่อาศัย และที่ดินทำกินของชาวบ้าน ตัวอย่างเช่น การเรียกร้องให้สร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นที่ถูกจุดประเด็นขึ้นมาจะน้อยลง ซึ่งจะทำให้ข้อพิพาทขัดแย้งระหว่างชาวบ้านด้วยกัน หรือข้อพิพาทระหว่างชาวบ้านกับรัฐลดลง. 

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank