‘สถานการณ์ภัยแล้ง’ ยังน่าห่วงแม้ฝนตก

Wednesday, 05 June 2013 Read 2516 times Written by 

05 06 2013 3

‘สถานการณ์ภัยแล้ง’ ยังน่าห่วงแม้ฝนตก วอนประชาชนทุกคนต้องใช้ ‘นํ้า’ อย่างประหยัด

แม้ว่าขณะนี้จะมีฝนตกลงในหลายพื้นที่ในประเทศไทย แต่ก็ยังไม่มากพอที่จะช่วยเหลือพี่น้องชาวเกษตรกรที่ต้องทำไร่ ทำนาเป็นอาชีพ โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก คงถึงเวลาแล้ว ที่เราทุกคนจะต้องใช้น้ำอย่างประหยัด เพราะในอนาคตสถานการณ์ภัยแล้งคงจะทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ถ้าเราไม่รู้จักคำว่า ประหยัด

ทำให้หลาย ๆ ฝ่ายต้องหาวิธีป้อง กัน เพื่อไม่ให้เหตุการณ์สถานการณ์ภัยแล้งเกิดขึ้นอีก และอาจจะมีความเป็นไปได้ว่า น้ำ จะเป็นปัจจัยสำคัญ และมีการพยากรณ์ว่า ในอนาคต น้ำ จะหมดไปจากโลก และเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่ามหาศาล

วิเชียร เจนชัย นายกเทศมนตรีตำบลตลาดแร้ง อ.บ้านเขว้า จ.ชัยภูมิ กล่าวว่า เทศบาลตำบลตลาดแร้งมีประชากร 12,725 คน 2,900 ครัวเรือน ส่วนใหญ่มีอาชีพเป็นเกษตรกร เน้นปลูกข้าวเป็นหลัก และปลูกอ้อย ปลูกมันสำปะหลัง นอกนั้นยังปลูกหม่อน เลี้ยงไหม ทอผ้าไหม มีลำห้วยชีลองเป็นลำห้วยที่ใช้ในการเลี้ยงชีวิตสำหรับทำการเกษตรของคนในตำบล และผลิตน้ำประปาแจกจ่ายให้แต่ละหมู่
บ้านได้ใช้ ซึ่งในปีนี้น้ำในลำห้วยชีลองได้แห้งสนิทไม่มีน้ำเหลืออยู่เลย ทำให้หมู่บ้านในเขตเทศบาลขาดน้ำใช้ถึง 4 หมู่บ้าน คือ บ้านกุดไผ่ หมู่ที่ 1 บ้านดอนไฮ หมู่ที่ 2 บ้านกุดยาง หมู่ที่ 3 และบ้านตลาดแร้ง หมู่ที่ 14 ราษฎรกว่า 600 ครัวเรือนต้องขาดน้ำอุปโภคบริโภคอย่างหนัก จึงเป็นนโยบายเร่งด่วนที่ทางเทศบาลได้จัดงบทำการเจาะบ่อบาดาลเพิ่มเติมเชื่อมท่อน้ำเข้ากับบ่อบาดาลเดิม และติดตั้งมอเตอร์สำหรับสูบน้ำขึ้นจากบ่อ แล้วเดินท่อพ่วงเข้ากับระบบผลิตน้ำประปาจ่ายน้ำให้กับชาวบ้านได้ใช้ เป็น

การแก้วิกฤติการขาดแคลน น้ำต่อไปสืบเนื่องจากความต้องการใช้น้ำมีเพิ่มมากขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร และการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ซึ่งปริมาณน้ำจากแหล่งน้ำผิวดินมีไม่เพียงพอต่อความต้องการ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ทดแทนในพื้นที่ที่ไม่มีแหล่งน้ำผิวดิน หรือใช้ร่วมกันในพื้นที่ที่มีแหล่งน้ำผิวดินไม่เพียงพอ ส่งผลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องรวบรวมข้อมูลแหล่งน้ำบาดาล เพื่อจัดทำเป็นแผนที่ อุทกธรณีวิทยา และแผนที่น้ำบาดาล พร้อมทั้งปรับปรุงข้อมูลดังกล่าวให้มีความถูกต้องและเป็นปัจจุบันอยู่เสมอ เพื่อให้สามารถใช้ในการวางแผนงานโครงการและพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเป็นฐานข้อมูลให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ใช้ประกอบการพิจารณาอนุมัติเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการน้ำบาดาลในท้องที่รับผิดชอบ อาทิ การพิจารณาออกใบอนุญาตประกอบกิจการน้ำบาดาล และการวางแผนจัดหาแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคให้กับประชาชนที่ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำในพื้นที่ เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการใช้น้ำได้อย่างทันท่วงที

นายสุพจน์ เจิมสวัสดิพงษ์ อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กล่าวว่า “จากสถานการณ์ภัยแล้งทำให้เกิดผลกระทบเป็นวงกว้างหลายพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งสาเหตุหลักของปัญหาภัยแล้งมาจากปริมาณน้ำฝนที่ตกต้องตามฤดูกาลลดน้อยลง ทั้งนี้ในระยะเร่งด่วนที่จำเป็นต้องแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า และให้เกิดความยั่งยืน คือ การเจาะบ่อน้ำบาดาล โดยรัฐบาลได้อนุมัติงบกลางประจำปีงบประมาณ 2556 เป็นเงิน 302 ล้านบาท เพื่อให้กรมทรัพยากรน้ำบาดาลเป็นหน่วยงานหลักบูรณาการร่วมกับหน่วยงานบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการกองทัพไทย และ ปภ.จังหวัด ร่วมจัดหาน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคให้กับประชาชนในพื้นที่ประสบภัยแล้งจำนวน 1,253 บ่อ

โดยกรมทรัพยากรน้ำบาดาลได้รับงบประมาณ 104 ล้านบาท เพื่อเจาะบ่อน้ำบาดาล และติดตั้งเครื่องสูบน้ำ 470 บ่อ ในพื้นที่ 14 จังหวัด เช่น เชียงราย แพร่ สุโขทัย กาฬสินธุ์ ขอนแก่น มหาสารคาม นครราชสีมา อุดรธานี จันทบุรี เป็นต้น ซึ่งขณะนี้ดำเนินการไปแล้วกว่าร้อยละ 51 และคาดว่าจะเสร็จสิ้นทั้งหมดภายในเดือน มิ.ย. นี้ ส่วนที่เหลือหน่วยบัญชาการทหารพัฒนาจะดำเนินการ 129 บ่อ และ ปภ.จังหวัดอีก 654 บ่อ” นายสุพจน์ กล่าว

อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ในส่วนของงบประมาณปกติประจำปี 56 กรมทรัพยากรน้ำบาดาลมี 3 โครงการใหญ่ที่ดำเนินการเพื่อรองรับการแก้ไขปัญหาภัยแล้งอย่างยั่งยืน คือ
1. โครงการพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลเพื่อสนับสนุนระบบน้ำดื่มสะอาดให้กับโรงเรียนทั่วประเทศ หรือโครงการน้ำโรงเรียน จำนวน 457 แห่ง งบประมาณ 633 ล้านบาท ขณะนี้ดำเนินการแล้วเสร็จคิดเป็นร้อยละ 72

2. โครงการจัดหาน้ำสะอาดให้กับหมู่บ้านหาน้ำยากทั่วประเทศ 650 แห่ง งบประมาณ 156 ล้านบาท โดยสำรวจและเจาะบ่อน้ำบาดาลในหมู่บ้านที่ไม่มีแหล่งน้ำผิวดิน ขณะนี้ดำเนินการแล้วเสร็จคิดเป็นร้อยละ 90 และ 3. โครงการพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรในพื้นที่ประสบภัยแล้ง 31 แห่ง งบประมาณ 484 ล้านบาท โดยพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลที่มีศักยภาพไม่น้อยกว่า 10 ลบ.ม./ชม. นำขึ้นมาใช้ร่วมกับน้ำผิวดินเพื่อทำการเกษตรให้เกิดความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ โดยใช้ต้นแบบของการมีส่วนร่วมจากชุมชนท้องถิ่นในการบริหารจัดการ ขณะนี้ดำเนินการแล้วเสร็จคิดเป็นร้อยละ 40.

ชาตรี มงคลพิทักษ์ทวี

Credit: http://www.dailynews.co.th

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank