มุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ

Monday, 01 April 2013 Read 1855 times Written by 

01 04 2013 14

มุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำด้วยวิถีทางเศรษฐศาสตร์

ที่มา: หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 33 ฉบับที่ 2,823 วันที่ 3 - 6 มีนาคม พ.ศ. 2556

ในปัจจุบัน มีหลายประเทศที่ใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์หลากหลายรูปแบบทั้งในเชิงการสร้างแรงจูงใจและการลงโทษ เพื่อช่วยปรับเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจ ระบบการผลิต และพฤติกรรมของผู้บริโภค ไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำ รวมทั้งวัตถุประสงค์ในด้านอื่นๆ ที่ควบคู่กันเพื่อเสริมความเป็นไปได้ในการดำเนินงาน เช่น การเพิ่มรายได้ด้านการคลังของภาครัฐจากการเก็บภาษีคาร์บอน

ตัวอย่างที่น่าสนใจ เช่น แอฟริกาใต้ได้กำหนดภาษีสำหรับยานพาหนะที่ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สูงและสำหรับไฟฟ้าที่ไม่ได้ผลิตจากพลังงานหมุนเวียน อินเดียใช้ระบบ Cap-and-Trade จากภาคพลังงานเพื่ออุตสาหกรรมและการซื้อขายใบรับรองพลังงานทางเลือก จีนเริ่มดำเนินการโครงการนำร่องระบบการซื้อขายคาร์บอนในหลายเมืองใหญ่ บราซิลให้ธนาคารพัฒนาแห่งชาติสนับสนุนทางการเงินต่อการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทางเลือกและจากเอธานอล ฯลฯ

เครื่องมือประเภทต่างๆ มีข้อดี ข้อจำกัดที่แตกต่างกันไป ตัวอย่างเช่น กรณีภาษีคาร์บอน มีข้อดีในแง่สามารถบูรณาการเข้ากับมาตรการเดิมที่มีอยู่ได้ มีความยืดหยุ่น สามารถใช้ได้กับกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจงหรือกลุ่มเป้าหมายแบบกว้างได้ แต่ก็มีข้อจำกัดหลายประการ เช่น ผลลัพธ์ต่อด้านสิ่งแวดล้อมมีความไม่แน่นอน และยากต่อการกำหนดระดับภาษีที่ถูกต้องเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ เป็นเครื่องมือที่มักไม่ได้รับการสนับสนุนทางการเมือง และมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดช่องโหว่ในการปฏิบัติ

ประเด็นท้าทาย คือ การออกแบบเลือกใช้ชุดเครื่องมือที่เหมาะสม มีเครื่องมือหลายประเภท (Mix of Instruments) เพื่อรองรับกับหลายกลุ่มเป้าหมายที่มีพฤติกรรมต่างกัน และมีความเป็นไปได้ในทางการเมือง รวมทั้งมีความสอดคล้องกับระดับการพัฒนาและการยอมรับทางสังคม นอกจากนี้ มีประเด็นที่ควรตระหนักว่า การใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ให้ได้ผลตามที่คาดหวังต้องการกลไกเชิงสถาบันที่เข้มแข็งและมีประสิทธิภาพสนับสนุน เช่น กลไกการลงโทษ กลไกการรายงานผลการปฏิบัติ ฯลฯ
นับจากปี 2013 มีการคาดการณ์ว่าจะมีการใช้ "ราคาคาร์บอน" เป็นการสร้างแรงจูงใจเพื่อการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และเป็นกลไกในการบริหารจัดการปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในประเทศต่างๆ อย่างน้อย 33 ประเทศ และในระดับต่ำกว่ารัฐอีก 18 แห่ง ซึ่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวมกันประมาณ 20% ของปริมาณก๊าซทั้งโลก (ข้อมูลการปล่อยก๊าซในปี 2005) และจำนวนประเทศที่ใช้ราคาคาร์บอนเป็นเครื่องมือจะขยายจำนวนเพิ่มขึ้น

สำหรับประเทศไทย จากความตื่นตัวของสังคมไทยต่อปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ที่ผ่านมา หลายหน่วยงานได้พยายามผลักดันนำเอาเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์หลายรูปแบบมาใช้ นับตั้งแต่โครงการ CDM ภายใต้พิธีสารเกียวโต การติดฉลากคาร์บอน การจัดตั้งกองทุนคาร์บอนของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับการทำโครงการลดก๊าซเรือนกระจก กรณีล่าสุด คือ การปรับโครงสร้างภาษีรถยนต์โดยจัดเก็บจากอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่งผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2555 และจะมีผลใช้บังคับในปี 2559

สิ่งที่เป็นหัวใจสำคัญของการใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์เพื่อแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ คือ การสร้างให้เกิดราคาของคาร์บอน เป็นการค่อยๆ เปลี่ยนระบบเศรษฐกิจไปสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ และเป็นการเติบโตแบบสีเขียว (Green Growth) ซึ่งเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์หลัก 3 ด้านของการขับเคลื่อนประเทศไทยของรัฐบาลปัจจุบัน

ภาพ: http://www.nationmultimedia.com/business/Escap-launches-green-growth-roa...

Credit: http://www.measwatch.org/writing/4465

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank