ระดมสมองมองปัญหา แก้วิกฤต"สิ่งแวดล้อม"ไทย!

Monday, 02 May 2011 Read 1399 times Written by 

วันสิ่งแวดล้อมโลก หรือ "World Environment Day" ประจำปีนี้เพิ่งผ่านพ้นไปหมาดๆ 5 มิ.ย. ที่ผ่านมา

"สหประชาชาติ" กำหนดวาระสำคัญระดับโลกดังกล่าวขึ้นมา ก็เพื่อกระตุ้นเตือนให้ประชากรทั่วโลกหันมาตระหนักถึงวิกฤตการณ์ด้านสิ่ง แวดล้อม และร่วมกันหาแนวทางในการดูแลแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง

ใน ส่วนของนักวิชาการไทยที่ทำงานด้านสิ่งแวดล้อมนั้น เมื่อหันมาทบทวนถึงสถานการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน ต่างเห็นพ้องว่ายังมี "วิกฤตเร่งด่วน" อีกหลายด้านที่รอให้ทุกคนในสังคมไทยหันมาร่วมกันรักษาและเยียวยาด้ามขวานทอง รวมถึงช่วยดูแลโลกใบนี้ให้ดีขึ้นสำหรับอนาคตของลูกหลาน

ศ.ดร.วิสุทธิ์ ใบไม้ ผู้อำนวยการโครงการพัฒนาองค์ความรู้และศึกษานโยบายการจัดการทรัพยากรชีวภาพในประเทศไทย หรือโครงการ BRT กล่าวว่า

หาก มองในภาพรวม สถานการณ์สิ่งแวดล้อมในประเทศไทยในขณะนี้ถือว่าอยู่ในภาวะน่าเป็นห่วง ทั้งในเรื่อง ดิน น้ำ อากาศ และความหลากหลายทางชีวภาพ

ต้องยอมรับว่า การบริหารจัดการของเรายังไม่ดีพอ เมื่อเทียบกับประเทศที่ยังไม่มีทรัพยากรที่สมบูรณ์มากเท่าเรา

"ประเทศ สิงคโปร์ไม่มีทรัพยากรมาก แต่กลับบริหารจัดการให้มีและทำให้ดีได้ เช่น เขาไม่มีป่า แต่พยายามสร้างเมืองให้เป็นป่า ขณะที่เรามีป่า แต่พยายามเปลี่ยนป่าให้เป็นเมือง หรือสิงคโปร์ไม่มีที่ดินก็พยายามซื้อทรายไปถมสร้างพื้นที่ ส่วนบ้านเรากลับพยายามลักลอบขุดทรายไปขายให้เขา ไม่เว้นแม้แต่กรณีปัญหาล่าสุด การขยายถนนทางขึ้นเขาใหญ่ ซึ่งก็เป็นอีกหนึ่งบทเรียนที่สะท้อนให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่า เรายังมีวิธีคิดที่ขาดจิตสำนึกในเรื่องของการอนุรักษ์ทรัพยากรที่มากเพียงพอ

TueJune"การ ดำเนินงานเพื่อให้การอนุรักษ์เกิดประสิทธิผล ภาครัฐอาจจะต้องหันมาทบทวนและสร้างนโยบายการบริหารจัดการทรัพยากรชีวภาพให้ มีเอกภาพ ไม่ใช่ต่างคนต่างทำงานดังเช่นที่ผ่านมา ขณะเดียวกันก็ต้องเร่งสร้างนักวิชาการที่ทำงานด้านสิ่งแวดล้อมให้มากขึ้น เพราะประเทศไทยมีความหลากหลายของทรัพยากรมาก มีระบบนิเวศที่ซับซ้อน

"ฉะนั้นตราบใดที่เรายังไม่รู้จักทรัพยากรของเราดีพอ ก็ยากที่จะบริหารจัดการให้ถูกทิศทาง

"และ ในส่วนภาคเอกชนควรทำธุรกิจที่คำนึงถึงผลกระ ทบต่อสิ่งแวดล้อมให้มากขึ้นด้วย เพราะหากวันนี้ไม่ช่วยกันรักษา เชื่อว่าในไม่ช้าสิ่งแวดล้อมจะเข้าสู่ภาวะวิกฤตอย่างแน่นอน" ศ.ดร.วิสุทธิ์กล่าว

ด้าน ศ.ดร.มรกต ตันติเจริญ รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ชี้ว่าวิกฤตด้านสิ่งแวดล้อมที่เร่งด่วนขณะนี้คงหนีไม่พ้นเรื่อง "โลกร้อน" ซึ่งเป็นเรื่องใกล้ตัวและมีผลกระทบต่อประเทศไทยในหลายๆ ด้านโดยเฉพาะปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต คือการ เกษตรและอาหาร

เนื่องจาก อุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นกระทั่งส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล เช่น ทำให้ฝนตกล่าช้า เกิดความแห้งแล้ง หรือฝนตกมากจนก่อให้เกิดน้ำท่วม พืชไม่สามารถเจริญเติบโตได้ อีกทั้งภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงอาจก่อให้เกิดแมลงศัตรูพืชชนิดใหม่ๆ มากขึ้นด้วย

ดังนั้น สิ่งที่ต้องเร่งวิจัยพัฒนา คือ การศึกษาหาพันธุ์พืชชนิดต่างๆ ที่เจริญเติบโตได้ท่ามกลางสภาพอากาศที่แปร ปรวน หรือแม้กระทั่งเรื่องของน้ำที่อาจเป็นปัญหาขาดแคลน ในอนาคต ก็ต้องหาวิธีพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ลดการใช้น้ำมา รองรับ ซึ่งตรงนี้เป็นการมองภาพในระยะยาว

อย่างไรก็ตาม ในระยะสั้นต้องช่วยกันลดการปลดปล่อย "ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์" ให้ได้มากที่สุด ทั้งในเรื่องการประหยัดใช้พลังงาน การใช้น้ำ

นอกจาก นี้ ปัญหาสำคัญอีกสิ่งหนึ่งที่จะตามมาคือในเชิงของการค้า โดยทั้งประเทศคู่ค้าและผู้บริโภคเองอาจต้องการผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่ง แวดล้อมมากขึ้น ทำให้ต้องมีการพิจารณาถึงเรื่องวัฏจักรผลิตภัณฑ์ "คาร์บอนฟุต-พรินต์" กับฉลากสีเขียว

ฉะนั้น ประเทศไทยเราจึงควรมีการวิจัยเพื่อหาแนวทางการพัฒนาผลิต ภัณฑ์ที่ลดการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ให้มากที่สุด

รศ.ดร.สมโภชน์ ศรีโกสามาตร ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้เชี่ยวชาญด้านสัตว์ป่า และที่ปรึกษาฝ่ายวิชาการศูนย์สื่อสารวิทยาศาสตร์ไทย สวทช. อธิบายว่า สิ่งแวด ล้อมในขณะนี้น่าเป็นห่วงทั้งระบบ

แต่หากกล่าวถึงในส่วนของ สถานการณ์สัตว์ป่านั้นพบว่า มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์มากขึ้นเกือบทุกชนิด ตัวอย่างเช่น "ชะนี" ในไทยมีชะนีอยู่ 4 ชนิด ได้แก่ ชะนีมือขาว ชะนีมงกุฎ ชะนีมือดำ และชะนีดำใหญ่

หากย้อนไปเมื่อราว 20-30 ปีก่อน มีเพียงชะนีมงกุฎเท่านั้นที่อยู่ในภาวะใกล้สูญพันธุ์ แต่ผลศึกษาล่าสุดพบว่าชะนีมือขาวที่เคยพบได้ทั่วไปเริ่มเข้าสู่ภาวะใกล้สูญ พันธุ์แล้ว
 

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank