วิจัยก๊าซเรือนกระจกภาคเกษตร

Tuesday, 16 October 2012 Read 2233 times Written by 

 16 10 2012 2

นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึง แนวทางการวิจัยก๊าซเรือนกระจกภาคเกษตร ภายใต้กรอบความร่วมมือพันธมิตรนานาชาติการวิจัยก๊าซเรือนกระจกภาคเกษตร (Global Research Alliance on Agricultural Greenhouse Gases: GRA) ว่า สศก.ได้ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับลำดับความสำคัญงานวิจัยก๊าซเรือนกระจกภาคเกษตรที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการวิจัยก๊าซเรือนกระจกภาคเกษตร รวมทั้งสร้างเครือข่ายพันธมิตรนักวิจัยก๊าซเรือนกระจกภาคเกษตรของประเทศ โดยจะจัดทำยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศด้านการเกษตร ที่มีสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเป็นเลขานุการ ภายใต้คณะกรรมการนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตร ได้แต่งตั้งคณะทำงาน และผู้ประสานงานกลุ่มวิจัยต่าง ๆ ตามกรอบความร่วมมือ ประกอบด้วย กลุ่มวิจัยก๊าซเรือนกระจกจากนาข้าว กลุ่มวิจัยก๊าซเรือนกระจกจากปศุสัตว์ กลุ่มวิจัยก๊าซเรือนกระจกจากการจัดการที่ดินการเกษตร และกลุ่มวิจัยประเด็นทับซ้อน 2 เรื่อง คือ วัฏจักรไนโตรเจนและคาร์บอนในดิน และการวัดกับการจัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจกขึ้น

ทั้งนี้ในส่วนของภาคเกษตร มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากเป็นอันดับ 2 รองจากภาคพลังงาน โดยก๊าซเรือนกระจกที่ประเทศไทยปล่อยทั้งหมดในปี 2543 มีจำนวน 229.08 ล้านตัน เทียบเท่าคาร์บอนไดออกไซด์ โดยเกิดจากการผลิตในภาคเกษตรถึงร้อยละ 22 ในขณะที่ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของโลก ในปี ค.ศ. 2005 มีจำนวน 44,153 ล้านตัน เป็นการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคเกษตรเพียงร้อยละ 14 ซึ่งจากสัดส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคเกษตรที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของโลกนี่เอง จึงทำให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ต้องพิจารณาถึงผล

กระทบที่จะเกิดขึ้น โดยในแผนพัฒนาการเกษตร ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเกษตรสีเขียว และความมั่นคงทางด้านอาหาร มีการดำเนินการภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาขีดความสามารถในการผลิต การจัดการสินค้าเกษตร ความมั่นคงด้านอาหาร และการพัฒนาทรัพยากรการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพ สมดุล และยั่งยืน โดยร่างยุทธศาสตร์ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศด้านการเกษตร  (พ.ศ. 2556-2559) ได้กำหนดยุทธศาสตร์ทั้งเรื่องการปรับตัว และการเก็บกักคาร์บอนและการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก พร้อมให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูลและองค์ความรู้ก๊าซเรือนกระจก และการสนับสนุนการปรับระบบการผลิตสู่เกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วย.

ขอขอบคุณ http://www.dailynews.co.th/agriculture/161047

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank