จากที่ได้กล่าวไว้ใน การลดผลกระทบ Climate Change ระยะสั้นตอนที่ 1 (Short-term Climate Change Mitigation: Part 1) ว่าจะมาสรุปรายงาน UNEP ฉบับ Near-term Climate Protection and Clean Air Benefits: Actions for Controlling Short-Lived Climate Forcers ให้ฟังนะครับ
รายงานได้ข้อสรุปหลักๆไว้ 9 อย่างด้วยกัน แต่ขอจะกล่าวถึงเฉพาะที่น่าสนใจดังต่อไปนี้
1. การลดปริมาณของ Short-Lived Climate Forcers (SLCFs) โดยเฉพาะเขม่า (black carbon), ก๊าซโอโซนในชั้นบรรยากาศ (tropospheric ozone) and ก๊าซมีเธน (methane) เป็นการสร้างโอกาสในการปรับปรุงคุณภาพชีวิตทางสุขภาพ (improve public health), การลดความสูญเสียผลผลิตการเกษตร (reduction of crop-yield losses) และ ลดผลกระทบของ Climate Change ในระยะสั้น ซึ่งส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน เนื่องจากการลดปริมาณของ SLCFs เหล่านี้มีผลแค่เพียงระยะสั้นจึงต้องตระหนักว่าเป็นเพียงนโยบายสนับสนุน แต่ไม่ใช่นโยบายหลักในการลดปริมาณ carbon dioxide emission ของเป้าหมายหลักเพื่อลดผลกระทบของ Climate Change ในระยะยาว
2. การลดเขม่าจะส่งผลให้เห็นประโยชน์ต่อสุขภาพในทันที และต่อภูมิภาคที่มีการดำเนินนโยบายเพื่อลดเขม่าโดยเฉพาะ และภูมิภาคที่ลดการเกิดเขม่าได้รับผลพลอยได้อีกอย่างคือการลดผลกระทบจากการสูงขึ้นของอุณหภูมิง, ลดผลกระทบจากความแปรปรวนของสภาวอากาศ (weather patterns) และการเพิ่มขึ้นของผลผลิตการเกษตร เมื่อเปรียบเทียบกับภูมิภาครอบข้างที่ไม่ได้ดำเนินนโยบายลดเขม่า
3. ประโยชน์ที่จะได้รับจากการดำเนินการนโยบายต่างๆในรายงานนี้จะขึ้นกับปัจจัยของแต่ละประเทศ, ภูมิภาคและทั่วโลก โดยรายงานนี้คาดการณ์ว่าแต่ละนโยบายเฉพาะบางอย่างจะให้ผลประโยชน์สูงสุดต่อทวีปต่างๆดังต่อไปนี้
• ทวีปเอเซีย (Asia): การลดเขม่าจากรถยนต์ดีเซล และเตาอาหารที่ใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ [เนื่องจากเตาที่ใช้ยังไม่มีการกรองเขม่าในการปล่อยออกสู่บรรยากาศ] (reducing black carbon emissions from diesel vehicles and biomass cookstoves) และการลดก๊าซมีเธนจากการเหมืองถ่านหิน, การผลิตน้ำมัน และขยะชุมชน (reducing methane emissions from coal mining, oil and gas production and municipal waste)
4. มาตรการต่างๆในการลดก๊าซมีเธีนและเขม่าที่นำเสนอในรายงานมากกว่า 50% สามารถทำให้เกิดการประหยัดค่าใช้จ่ายสุทธิ (Net Cost Saving) ได้เมื่อพิจารณาตลอดอายุการใช้งานของมาตรการ ค่าใช้จ่ายที่ประหยัดเกิดขึ้นจากการลดปริมาณของเชื้อเพลิง หรือการนำกลับมาใช้ของก๊าซมีเธนที่ดักไว้ได้ และอีกหนึ่งในสามของมาตรการของการลดก๊าซมีเธนสามารถดำเนินการได้โดยมีค่าใช้จ่ายไม่สูงมาก
5. ซึ่งมาตรการต่างๆที่รายงานได้นำเสนอ เป็นการนำเทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบันในการดำเนินการ เช่น เปลี่ยนจากเตาอาหารชนิดเปิด เป็นเตาที่มีไส้กรองเพื่อลดการปล่อยมลภาวะอากาศต่างๆออกสู่ชั้นบรรยากาศ ซึ่งรวมถึงเขม่าด้วย
คราวนี้เรามาดูถึงประโยชน์ของแต่ละมาตรการเมื่อเปรียบเทียบกับการไม่ทำอะไรเลยนะครับ
ภาพแรกคือ Legend ที่ระบุถึง sector ไหนเป็นผู้ปล่อยมลภาวะเหล่านี้ครับ
ภาพที่สองคือ projection ของเขม่าจากปี 2030 เมื่อเทียบกับปี 2005 เมื่อไม่มีการดำเนินการมาตรการต่างๆ
สิ่งที่เห็นในภูมิภาค North East Asia และ South East Asia (ไทยอยู่ใน South East Asia) จะมีการปล่อยเขม่าจากการเผาไหม้ในบ้านอยู่อาศัยและจากภาคอุตสาหกรรม (Residential-Industrial Combustion) สูงที่สุด และถัดมาจะเป็นการขนส่ง (Transportation) โดยการผลิตในภาคอุตสาหกรรม (Industrial Processes) ก็ตามมาเป็นอันดับที่สามที่เป็นผู้ที่มีการปล่อยเขม่าเข้าสู่ชั้นบรรยากาศสูง
ดังนั้นเราจะมาดูถึงมาตรการที่สามารถลดผลปริมาณเขม่าที่ปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศกัน โดยจากการคาดการณ์มีดังนี้
มาตรการที่จะทำให้มีการลดปริมาณเขม่าสูงที่สุดในภูมิภาค North East Asia และ South East Asia ได้แก่การเปลี่ยนจากเตาเผาเชื้อเพลิงชีวภาพแบบเปิดเป็น เตาก๊าซหุงต้ม เตาที่ใช้ก๊าซชีวภาพ หรือ เตาที่มีพัดลมที่ใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ (Switch from traditional biomass cookstoves to stoves fueled by LPG or biogas or to fan-assisted biomass stoves) สำหรับ Residential-Industry Combustion และการกำจัดรถยนต์ที่มีประสิทธิภาพในการใช้เชื้อเพลิงและการกรองไอเสียต่ำออกจากการใช้งาน (Elimination of high-emitting vehicles) สำหรับการขนส่ง
ภาพต่อมาคือ projection ของก๊าซมีเธนจากปี 2030 เมื่อเทียบกับปี 2005 เมื่อไม่มีการดำเนินการมาตรการต่างๆ
สิ่งที่เห็นในภูมิภาค North East Asia และ South East Asia จะมีการปล่อยก๊าซมีเธนสูงจากการผลิตน้ำมัน (Fossil Fuel Extraction and Distribution) สูงที่สุด และถัดมาจะเป็นการเกษตร (Agriculture) โดยขยะชุมชน (Waste/Landfill) ก็ตามมาเป็นอันดับที่สามที่เป็นผู้ที่มีการปล่อยก๊าซมีเธนเข้าสู่ชั้นบรรยากาศ
ดังนั้นเราจะมาดูถึงมาตรการที่สามารถลดผลปริมาณก๊าซมีเธนที่ปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศกัน โดยจากการคาดการณ์มีดังนี้
มาตรการที่จะทำให้มีการลดปริมาณเขม่าสูงที่สุดในภูมิภาค North East Asia และ South East Asia ได้แก่ Pre-mine degasification และ การดักก๊าซมีเธนจากปล่องอากาศของเหมืองถ่านหิน (Recovery of methane from coal mine ventilation shaft) สำหรับ Fossil Fuel Extraction and Distribution การเติมอากาศเป็นระยะๆในนาข้าวที่ข้าวจมน้ำอยู่ตลอดเวลา (Intermittent aeration of continuously flooded rice paddies) สำหรับภาคการเกษตร และ การขัดแยกและกำจัดขยะเน่าเปื่อย (Separation and treatment of biodegradable municipal waste) สำหรับ Waste/Landfill
Credit: http://www.thaienergysolution.com