การปรับตัวของชุมชนในพื้นที่ประสบภัยแล้ง

Tuesday, 04 September 2012 Read 27831 times Written by 

04 09 2012 6

การปรับตัวของชุมชนในพื้นที่ประสบภัยแล้ง

บ้านสระโพนทอง ต.ทุ่งหลวง อ.สุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นพื้นที่ประสบภัยแล้ง ความแปรปรวนของภูมิอากาศที่ส่งผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2546 เป็นต้นมา เห็นได้จากผลผลิตข้าวเสียหาย รายได้ของครอบครัวลดน้อยลง

การปรับตัวของชุมชนบ้านสระโพนทองในอดีตถึงปัจจุบัน ชุมชนเริ่มปรับตัวโดย
 
1) ปลูกต้นยูคาลิปตัสบนคันนา เกษตรกรทุกหล้งคาเรือนปลูกตันยูคาลิปตัสในพื้นที่นามากขึ้นโดยเฉพาะการปลูกบนคันนา เกษตรกรบางรายได้ปรับเปลี่ยนพื้นที่นาที่ปลูกข้าวไม่ได้ผล ทำการยกร่องปลูกต้นยูคาลิปตัสแทนการปลูกข้าว (ต้นยูคาลิปตัสเป็นพืชที่นำเข้ามาปลูกในพื้นที่บ้านสระโพนทอง ตั้งแต่ในช่วงปี พ.ศ. 2528-31 แต่มีการปลูกเพียงเล็กน้อยหรือในบางครัวเรือนเท่านั้น)
2) การออกไปรับจ้างทำงานนอกพื้นที่ เกษตรกรทุกครอบครัวในชุมชนบ้านสระโพนทอง (100%) ออกไปทำงานรับจ้างนอกพื้นที่ของตนเองทั้งในอำเภอ นอกอำเภอ ต่างจังหวัดและกรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ. 2540    ครัวเรือนที่ออกไปทำงานรับจ้างประมาณ 30 เปอร์เซนต์ของครัวเรือนทั้งหมู่บ้าน ตั้งแต่ในปี พ.ศ. 2546  เป็นต้นมา  ทุกครัวเรือนออกไปทำงานรับจ้างนอกพื้นที่ (100 เปอร์เซนต์) ในหมู่บ้านจะมีเฉพาะเด็กในวัยเรียนและผู้สูงอายุอาศัยอยู่ในหมู่บ้าน คนวัยแรงงานจะกลับมาบ้านเฉพาะช่วงเทศกาลที่สำคัญและช่วงปลูกและเก็บเกี่ยวข้าว บางครอบครัวจะกลับบ้านเฉพาะช่วงที่จำเป็นเท่านั้น
3) การทำนาปรัง ในช่วง 5 ปีหลัง ที่ประสบภัยแล้ง ทำนาไม่ได้ผล ในปี พ.ศ. 2551 ชุมชนได้ทำการประชาคมหมู่บ้าน เรื่องการทำนาปรัง โดยอาศัยน้ำจากสระสี่เหลี่ยม (พื้นที่ประมาณ 100 ไร่) ผลการทำประชาคมสรุปว่า ห้ามนำน้ำจากสระสี่เหลี่ยมมาใช้ในการทำนาปรัง เนื่องจากแหล่งน้ำดังกล่าวเป็นแหล่งน้ำสำรองสำหรับการอุปโภคในช่วงฤดูแล้งของ 3 หมู่บ้าน หากนำมาปลูกข้าวนาปรังจะเกิดปัญหาการแย่งน้ำได้ ดังนั้นแนวคิดในการทำทำนาปรังจึงตกไป ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2552 มีบางครัวเรือนพยายามทำนาปรัง โดยการสูบน้ำที่เหลืออยู่ในคลองระบายน้ำ แต่น้ำไม่พอเพียง ทำให้การทำนาปรังไม่ประสบผลสำเร็จ
4) การเลี้ยงวัว วัวเป็นสิ่งที่ชุมชนในทุ่งกุลาร้องไห้เลี้ยงกันมานานและเป็นแหล่งรายได้เสริมนอกเหนือการทำนาข้าว อย่างไรก็ตาม บางครอบครัวในชุมชนมีการเพิ่มจำนวนวัวมากขึ้น

แนวทางการปรับตัวของชุมชนบ้านสระโพนทองในอนาคต
จากปัญหาภัยแล้งที่ประสบมา ผลการประชุมร่วมกับประชาคมในชุมชนและองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหลวง เพื่อหาแนวทางการปรับตัวของชุมชนจากภัยแล้งในอนาคต สรุปได้ดังนี้

1) การพัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่ เพื่อหาน้ำมาเติมให้ต้นข้าวในช่วงที่เกิดฝนทิ้งช่วง ชุมชนเสนอว่า พื้นที่ใกล้สระสี่เหลี่ยม มีพื้นที่ประมาณ 400 ไร่ พอที่จะนำมาพัฒนาทำเป็นแกล้มลิงกักเก็บน้าไว้ในช่วงฤดูฝน และทำการขุดลอกคลองระบายน้ำที่มีอยู่เดิม (โครงการพัฒนาทุ่งกุลาร้องไห้) พร้อมเจรจากับตำบลกู่กาสิงห์ นำน้ำจากฝายบ้านกู่กาสิงห์ ซึ่งกั้นลำน้ำเสียวใหญ่ ในตำบลกู่กาสิงห์ อำเภอสุวรรณภูมิ (กำลังก่อสร้างและจะแล้วเสร็จในปี 2553) จากบ้านกู่กาสิงห์ ผ่านบ้านสระแก มาลงที่แก้มลิงที่อยู่ใกล้สระสี่เหลี่ยม แล้วนำน้ำมาเติมให้ข้าวในช่วงฝนทิ้งช่วง ชุมชนคาดว่า น่าจะแก้ปัญหาภัยแล้งในฤดูกาลทำนาปีได้ และหากปีใด ในช่วงฤดูแล้งหลังการทำนาปี หากน้ำในฝายกู่กาสิงห์มีปริมาณมากเกินความต้องการของการปลูกนาปรังในชุมชนกู่กาสิงห์ ก็จะแบ่งปันน้ำมาให้ชุมชนสระโพนทองทำนาปรังด้วย

2) การนำน้ำจากแม่น้ำชีมาเติมในพื้นที่ตำบลทุ่งหลวง มีแนวคิดจากชุมชนว่า ในแม่น้ำชีมีฝายกักเก็บน้ำเป็นระยะและมีน้ำปริมาณมาก ในบางปีก่อให้เกิดน้ำท่วมพื้นที่ใกล้เคียงและในลุ่มน้ำชีเป็นประจำ ขณะที่ทุ่งกุลาร้องไห้อยู่ในลุ่มน้ำมูล ช่วงที่น้ำชีมีปัญหาน้ำท่วม ขณะเดียวกันกับที่บริเวณตอนกลางของทุ่งกุลาร้องไห้ขาดแคลนน้ำ อาทิ ตำบลทุ่งหลวง และตำบลอื่นในอำเภอสุวรรณภูมิ ประกอบกับสภาพพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ มีระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลของพื้นที่ต่ำกว่าแม่น้ำชีมาก หากมีการพัฒนาระบบชลประทานจากภาครัฐ นำน้ำจากแม่น้ำชีบริเวณอำเภออาจสามารถเข้าสู่ทุ่งกุลาร้องไห้ ก็จะช่วยแก้ปัญหาภัยแล้งและฝนทิ้งช่วงในพื้นที่ที่กล่าวมาได้อย่างสิ้นเชิง นอกจากนี้จะช่วยให้เกษตรกรในพื้นที่บ้านสระโพนทองมีน้ำเพียงพอสำหรับปลูกพืชในฤดูแล้งได้อีกด้วย

อย่างไรก็ตาม ผลจากการประชุมกลุ่มประชาคมบ้านสระโพนทอง มีความเห็นว่า การปรับตัวของชุมชนในปัจจุบัน โดยเฉพาะการทำนาปรัง การทอผ้าไหม และรับความช่วยเหลือจากภาครัฐ (เงินชดเชย) ยังไม่สามารถแก้ปัญหาหรือเป็นการปรับตัวของชุมชนต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ยั่งยืน

โครงการศึกษาแนวทางและรูปแบบการปรับตัวของชุมชน
ต่อภาวะภัยแล้งและอุทกภัยในชุมชนนำร่องบริเวณทุ่งกุลาร้องไห้

ข้อมูลเพิ่มเติม: ดร.อัศมน ลิ่มสกุล
ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
e-mail: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank