โครงการส่งเสริมการปรับตัวเพื่อลดผลกระทบจากภาวะแปรปรวนของสภาพอากาศ
กลุ่มองค์กรชาวบ้านบัวใหญ่-บัวลาย จังหวัดนครราชสีมา
องค์กรชาวบ้านบัวใหญ่-บัวลายเป็นองค์กรชุมชนในเขตอำเภอบัวใหญ่และอำาเภอบัวลาย ซึ่งเป็นพื้นที่อับฝน พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ดอน ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ปลูกพืชไร่ แต่ในพื้นที่ที่ลุ่มหน่อย ชาวบ้านทำนาปลูกข้าวไว้สำหรับบริโภค ดินส่วนใหญ่เป็นดินทราย บางแห่งมีกรดปน และมีปัญหาดินเค็มเป็นหย่อมๆ นอกจากนี้ ยังพบปัญหาภัยแล้ง ซึ่งในอดีตมักจะเกิดขึ้นในรอบ 4 – 5 ปี แต่ในช่วงระยะหลัง ปัญหาภัยแล้งเกิดบ่อยขึ้นแทบจะปีเว้นปีเลยทีเดียว ทำาให้ชาวบ้านในเขตพื้นที่นี้ที่มีอาชีพการเกษตรมีฐานะค่อนข้างยากจนกว่าพื้นที่อื่น
จากข้อมูลของกรมอุตุนิยมวิทยาเกี่ยวกับสภาพอากาศของจังหวัดนครราชสีมาโดยรวม พบแนวโน้ม การเปลี่ยนแปลงแบบแผนการตกของฝนในช่วง 10 ปีหลัง ที่ยาวนานขึ้น โดยฝนจะเริ่มตกเร็วขึ้นและหมดช้าลงจากเดิมที่ฝนเริ่มตกในเดือนพฤษภาคมและหมดในเดือนตุลาคม ฝนได้เริ่มตกเร็วขึ้นเป็นเดือนเมษายนและหยุดในเดือนพฤศจิกายนแทน แต่จากสำารวจข้อมูลในชุมชนพบว่า แบบแผนของฝนแตกต่างจากภาพรวมของจังหวัด คือ ฝนมีแนวโน้มช้าลง คือ เริ่มประมาณปลายเดือนพฤษภาคม-ต้นเดือนมิถุนายน และจะทิ้งช่วงในเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม และฝนจะหยุดตกในช่วงเดือนพฤศจิกายน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงการตกของฝนนี้
ทำให้การปลูกข้าวค่อนข้างได้รับผลกระทบ ทั้งจากการที่ต้องเริ่มไถนาเตรียมดินและหว่านกล้าช้าลง แปลงต้นกล้าขาดน้ำ (ในช่วงฝนทิ้งช่วง) และมีฝนตก น้ำท่วมขังในแปลงนา ในช่วงเกี่ยวข้าว นอกจากนี้ อากาศที่ร้อนขึ้นมากทำาให้ชาวบ้านทำางานกลางแจ้งได้น้อยลง
ชาวบ้านที่เป็นสมาชิกองค์กรชาวบ้านบัวใหญ่-บัวลายได้พยายามปรับตัวเพื่อแก้ไขปัญหาเบื้องต้น โดยส่วนใหญ่จะเน้นที่การขุดบ่อ-สระน้ำ เพื่อเป็นแหล่งน้ำสำรองสำาหรับการเกษตร โดย 18% ของสมาชิก (จากทั้งหมด 60 ครอบครัว) ได้เริ่มพัฒนาแหล่งน้ำสำรองของตัวเองไว้แล้ว โดยอาศัยภูมิปัญญาพื้นบ้านที่มีอยู่ในพื้นที่หรือจากละแวกใกล้เคียง ในโครงการนี้เป็นการศึกษาทดลองการออกแบบแหล่งน้ำ เพื่อให้สามารถเก็บกักน้ำได้เพียงพอสำาหรับการตกกล้าข้าว โดยจากการศึกษาข้อมูล ได้ทำาการออกแบบสระน้ำ 3 รูปแบบ คือ สระสองระดับ สระแบบหลุมดักน้ำ และสระแบบฝายเพื่อให้เกษตรกร 10 รายทดลองใช้ เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการเก็บกักน้ำและการใช้ประโยชน์ด้านอื่นๆ
ติดต่อ มูลนิธิชีวิตไท
โครงการนำร่องการปรับตัว เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ มูลนิธิสายใยแผ่นดิน
Credit: http://www.greennet.or.th