กิจกรรมการปลูกป่านิเวศภายในศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม

Monday, 31 December 2018 Read 23737 times Written by 

capture-20181231-102252

กิจกรรมการปลูกป่านิเวศภายในศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม

คัดเลือกพื้นที่ที่เหมาะสมในการพัฒนาเป็นพื้นที่นำร่องการปลูกป่านิเวศในพื้นที่ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม ในพื้นที่ปลูกประมาณ 2,649 ตารางเมตร จำนวนต้นไม้ปลูกใหม่ 3,313 ต้น ชนิดต้นไม้ 93 ชนิดพันธุ์ โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็น 7 แปลง พบว่า การเจริญเติบโตของแปลงที่ 1 บริเวณหน้าอาคารรัตนชาติและแปลงที่ 2 บริเวณหน้าอาคารศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งปลูกในวันที่ 18 เมษายน 2560 โดยมีรูปแบบการเตรียมดินที่แตกต่างกัน โดยในแปลงที่ 1 เตรียมพื้นที่โดยการไถพรวนดินเดิมผสมกับวัสดุปรับปรุงดิน ลักษณะแปลงไม่ได้ทำเนินดิน และปลูกในพื้นที่กลางแจ้ง แปลงมีพื้นที่ขนาด 180 ตารางเมตร จำนวนต้นไม้ที่ปลูกพบว่ามี 218 ต้น มีจำนวนชนิดพันธุ์ไม้ 66 ชนิดพันธุ์ พบว่า ต้นไม้แปลงที่ 1 อายุการเจริญเติบโตช่วง 3 เดือน มีการเจริญเติบโตที่ดีกว่า ต้นไม้แปลงที่ 2 ที่ปลูกบริเวณหน้าอาคารศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งปลูกในวันและเวลาเดียวกัน แต่ลักษณะการเตรียมดินปลูก โดยการขุดหน้าดินลึกประมาณ 20 ซม. และไถพรวนดินเดิมผสมวัสดุปรับปรุงดินและทำเนินเตี้ยๆ แปลงที่ ๒ นี้ มีพื้นที่ขนาด 144 ตารางเมตร จำนวนต้นไม้ที่ปลูก 351 ต้น มีชนิดพันธุ์ไม้ 33 ชนิดพันธุ์ ซึ่งแปลงปลูกดังกล่าวอยู่ในพื้นที่ใต้ร่มไม้ ทำให้การได้รับแสงแดดน้อยกว่าแปลงที่ 1 การเจริญเติบโตในช่วงเวลาเดียวกันจึงต่างกัน และ เมื่อเปรียบเทียบพื้นที่และจำนวนต้นที่ปลูก พบว่า แปลงที่ 1 มีขนาดพื้นที่ที่มากกว่าและจำนวนต้นที่น้อยกว่า ทำให้มีการกระจายตัวของต้นไม้เหมาะสม การเจริญเติบโต การแย่งธาตุอาหารในดินของต้นไม้และการได้รับแสงแดดที่เหมาะสมกว่าแปลงที่ 2 ที่มีพื้นที่น้อยกว่าและจำนวนต้นที่มากกว่า ต้นไม้มีความถี่ในแปลง เกิดการแย่งธาตุอาหารในดินของต้นไม้แต่ละชนิด จึงทำให้เห็นถึงความแตกต่างทางด้านการเจริญเติบโตของทั้ง 2 แปลง ได้อย่างชัดเจน

 

Download attachments:

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank