การจัดทำฐานข้อมูลและพัฒนาสารสนเทศเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในการปรับตัว
ต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของชุมชนท้องถิ่น
โดย
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น
สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการลุ่มน้ำชี สำนักงานทรัพยากรน้ำภาค 4
คณะทำงานกิจกรรมความริเริ่มการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการปรับตัวในลุ่มน้ำโขง (CCAI)
พฤศจิกายน 2554
ความเป็นมา
คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Mekong River Commission : MRC) ได้เล็งเห็นความสำคัญของผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เนื่องจากลุ่มน้ำโขงตอนล่างมีความเปราะบางต่อการได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงจึงได้ริเริ่มโครงการกิจกรรมการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change Adaptation Initiative: CCAI) และได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมคณะกรรมการของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ในเดือนปี พ.ศ. 2552 และได้เริ่มดำเนินการในเดือนสิงหาคม เป็นต้นมา โครงการริเริ่มกิจกรรมการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นโครงการระยะยาว 17 ปี จนถึงปี พ.ศ. 2568 ซึ่งเป็นการดำเนินงานของประเทศสมาชิก ร่วมกับหน่วยงานระดับภูมิภาค และองค์กรพัฒนาต่างๆ เป้าหมาย วัตถุประสงค์ และผลลัพธ์ของโครงการ เพื่อการสร้างความรู้และพัฒนาศักยภาพของหน่วยงานระดับชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การประเมินผลกระทบ การวางแผนการปรับตัว การผนวกกิจกรรมการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกับการวางแผนพัฒนาในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับลุ่มน้ำ สำหรับกิจกรรมริเริ่มการปรับตัวของประเทศไทย คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงและคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงประเทศไทยได้คัดเลือกลุ่มน้ำยังซึ่งเป็นลุ่มน้ำย่อยของลุ่มน้ำชี เป็นพื้นที่ดำเนินการศึกษาความเปราะบาง ความเสี่ยง เรียนรู้ ถอดบทเรียนและสาธิตกิจกรรมการปรับตัวต่อสภาพภูมิอากาศ ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ตามหนังสือคำขอของสำนักงานคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงประเทศไทย ที่ 0606/2751 ลงวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
จุดประสงค์ของการศึกษา
ศึกษาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการปรับตัวในลุ่มน้ำโขง (CCAI) ในพื้นที่สาธิตกระบวนการวางแผนการปรับตัวจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในพื้นที่ลุ่มน้ำนำร่อง ลุ่มน้ำยัง
- ศึกษาจาก Global Circulation Models (GCMs) โดยใช้วิธีการ Downscaling technique
- ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณฝนกับน้ำท่าโดย Swat-hydrological models และการใช้น้ำของพืชจาก Cropwat-Climwat Program
- ศึกษาความเสี่ยง CCAI โดยการทำ Emission scenarios SRES กรณี A2 และ B2
ขอบเขตของการศึกษา
- ข้อมูลอุตุนิยมวิทยา เช่น ฝน อุณหภูมิ การระเหย ปริมาณน้ำท่า รวบรวมมาจากหน่วยราชการหลายหน่วยงานในลุ่มน้ำชี รวมทั้งข้อมูลทางเศรษฐกิจและสังคม
- การใช้วิธี Downscaling Techniques โดยผ่าน GCMs Model จาก Start-Southeast Asia START Regional Center ( 2010)
- ฐานข้อมูลจาก GCMs นำมาตรวจสอบความถูกต้อง และความน่าเชื่อถือกับข้อมูลจากหน่วยราชการต่างๆ
- ฐานข้อมูลจาก GCMs นำมาจากThe climate change scenario for Thailand is based on results from NCEP/NCAR และตรวจสอบความถูกต้องกับ 8 Global Circulation Models.
- การทำ Emission scenarios SRES กรณี A2 และ B2 ทำช่วงละ 10 ปี จากปี ค.ศ. 2010 ถึง 2060 โดยกำหนด Baseline periods ระหว่าง ค.ศ. 1961 ถึง 2009
- แผนที่ DEM นำมาจากหน่วยราชการหลายหน่วยงานในลุ่มน้ำชี
- การหาความสัมพันธ์ใช้ Hydrological rainfall-runoff model ; SWAT : MRC โดยทำแบบจำลองในสภาพอดีต ปัจจุบัน และอนาคต สำหรับปริมาณการใช้น้ำในการปลูกพืชใช้ Cropwat-Climwat Program: FAO สำหรับการคำนวณในสภาพต่างๆ