การดำเนินงานการศึกษาการลดการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจกจากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น กรณีศึกษา การผลิตอ้อย (เดือน มิถุนายน 2558)

Friday, 19 June 2015 Read 30760 times Written by 

การดำเนินงานโครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจกจากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น กรณีศึกษา การผลิตอ้อย

02 06 2015 1-1

 

02 06 2015 1-2

การทดลองนี้เป็นการศึกษาความผันแปรของอัตราการปลดปล่อยไนตรัสออกไซด์และมีเทนอันเนื่องมาจากชนิดและอัตราการใช้สารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น ซึ่งประกอบด้วยกระบวกการวิจัยต่อไปนี้

- การออกแบบกล่องเก็บตัวอย่างอากาศแบบปิด (Closed chamber)
เก็บตัวอย่างก๊าชเรือนกระจกที่ความดันบรรยากาศ 1 บาร์ ด้วยวิธี Non-flow through non-steady-state (NFT-NSS) chambers (Rochette and Eriksen-Hamel, 2008) กล่องเก็บอากาศทำจากแผ่น อะคริลิกใส ประกอบด้วย 2 ส่วนได้แก่ 1) ส่วนฐาน ขนาด กว้าง 40 cm ยาว 40 cm ฝังดินลึก 15 cmส่วนบนฐานมีรางน้ำอลูมิเนียม รูปตัวยู กว้าง 1.5 cm. ลึก 2 cm สำหรับเติมน้ำ เพื่อซีลอากาศ และ 2) ส่วนกล่องเก็บอากาศ กว้าง 40 cm ยาว 40 cm ความสูง 15 cm เจาะรูสำหรับใส่ Septum เพื่อเก็บตัวอย่างอากาศ

- การเตรียมขวดเก็บตัวอย่าง
ใช้ Glass Vial ขนาด 20 ml ปิด Vial ด้วย 3 ways rubber stopper for lyophilization ประมาณ 1 ใน 3 ทำขวดให้เป็นสุญญากาศ ด้วยเครื่อง Lyophilization Freeze Dry เมื่อได้ระดับความดันบรรยากาศไม่น้อยกว่า 0.05 torr ยก Benchtop Stoppering Tray Dryer เพื่อปิด rubber stopper ให้สนิท ปิดผนึกด้วย Crimp aluminum cap

- การเก็บตัวอย่างก๊าชเรือนกระจก
ช่วงเวลาการเก็บตัวอย่างก๊าชเรือนกระจกคือ 10.00 น – 12.00 น ใช้ syringe ขนาด 25 ml ติด 3 ways stopcock กับเข็มเบอร์ 26 ดูดอากาศจากกล่องเก็บตัวอย่างอากาศผ่าน Injector tube and plug ณ เวลา 0, 10, 20 และ 30 นาที จำนวน 25 ml ฉีดเข้า Vial สังเกตดูว่า เมื่อแทงเข็มผ่าน rubber stopper อากาศจะไหลเข้า Vial เอง หากอากาศไม่ไหลเข้า แสดงว่า Vial ไม่เป็นสุญญากาศ ต้องเก็บตัวอย่างใหม่ พร้อมบันทึกค่าความชื้นสัมพัทธ์และอุณหภูมิอากาศ อุณหภูมิดิน อุณหภูมิในกล่องเก็บตัวอย่างอากาศ เพื่อปรับแก้ค่าความหนาแน่นของอากาศ ตามหลักการ Idea gas law

- ความถี่ในการเก็บตัวอย่างก๊าชเรือนกระจก
เก็บตัวอย่างก๊าชเรือนกระจกสัปดาห์ละครั้งหรือสองสัปดาห์ครั้ง ตามระดับ WFPS มากกว่าร้อยละ 50 และต่ำกว่าร้อยละ 50 กรณีใส่ปุ๋ยเก็บตัวอย่างติดต่อกัน 7 วัน วันเว้นวัน สามครั้ง และเว้นสามวัน 2 ครั้ง

02 06 2015 1-3

02 06 2015 1-4

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank