ข้อเสนอโครงการ

Wednesday, 15 January 2020 Read 19357 times Written by 

d12020

การพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารภัยแล้งในอนาคตและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมสำหรับการจัดการในชุมชน

ภัยแล้ง เป็นภาวะสุดขั้วด้านอุทก-อุตุนิยมวิทยา (Hydro-meteorology) ที่ซับซ้อนและเกิดขึ้นซ้ำๆ ซึ่งมีสาเหตุจากความแปรปรวนตามธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์เป็นปัจจัยเสริมที่ส่งผลให้ภัยแล้งมีการเปลี่ยนแปลงทั้งในแง่ความถี่ของการเกิดและความรุนแรง (Dai, 2011, 2013; IPCC, 2013) บนพื้นฐานของข้อมูลสถิติจากกรมป้องกันบรรเทาสาธารณภัย พบว่า ภัยแล้ง มีแนวโน้มส่งผลกระทบเพิ่มขึ้นในประเทศไทยทั้งในแง่ของพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ (กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย, 2560) โดยภัยแล้งครั้งล่าสุดที่เกิดขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2557 ถึง พ.ศ. 2558 คิดเป็นมูลค่าความเสียหายไม่น้อยกว่า 80,000 ล้านบาท (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรและศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี, 2016) นอกจากนี้ ระยะเวลาของการเกิดและความรุนแรงของความแห้งแล้ง ถูกคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นในหลายพื้นที่ของโลกซึ่งรวมถึงภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะทำให้พื้นที่ที่เกิดความแห้งแล้งซ้ำซาก มีความแห้งแล้งที่ยาวนานและรุนแรงเพิ่มมากขึ้น (Dai, 2011, 2013; Field et al., 2012; IPCC, 2013) และยังส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม ดังในปี ค.ศ. 2003 ทวีปยุโรปเกิดสภาวะแห้งแล้งสุดขั้วที่ส่งผลให้อุณหภูมิเพิ่มขึ้นเกิดปรากฎการณ์คลื่นความร้อนที่รุนแรงโดยในช่วงเดียวกันนี้มีการตรวจพบว่าระดับความเข้มข้นของก๊าซโอโซนที่เป็นสารมลพิษทางอากาศมีความเข้มข้นสูงครอบคลุมเกือบทุกสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ (Solberg et al., 2008) ซึ่งประเด็นเหล่านี้ ได้กลายเป็นวาระสำคัญในระดับโลกที่พยายามร่วมมือเพื่อรับมือและแก้ไขกันผ่านกรอบข้อตกลงพหุภาคีต่างๆ เช่น ความตกลงปารีส ยังให้ความสำคัญต่อการหลีกเลี่ยง บรรเทาและจัดการกับการสูญเสียและความเสียหายที่เกี่ยวข้องกับภัยแล้ง และเรียกร้องให้ประเทศต่างๆ ยกระดับความรู้ความเข้าใจต่อประเด็นดังกล่าวผ่านการศึกษาวิจัย (UNFCCC, 2017)

การพัฒนาวิธีการตรวจวัดเพื่อติดตามและประเมินภัยแล้งภายใต้การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ได้มีความก้าวไปอย่างมาก (IPCC, 2013) ดัชนีความแห้งแล้งหลาย ๆ ดัชนี เช่น Palmer Drought Severity Index (PDSI), Standardized Precipitation Index (SPI) และ Standardized Precipitation Evapotranspiration Index (SPEI) ได้ถูกพัฒนาเพื่อใช้ติดตามและประเมินภัยแล้งในพื้นที่ต่างๆ ของโลก (Dai, 2011; IPCC, 2013; van der Schrier et al., 2013) รวมทั้งประเทศไทยที่ได้ทำการศึกษาดัชนีสำหรับภัยแล้ง (กรมอุตุนิยมวิทยา, 2554; Homdee et al., 2016) นอกจากนี้ยังมีความก้าวหน้าในการพัฒนาระบบสังเกตการณ์ภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมจากดาวเทียม เพิ่มโอกาสให้การติดตามภัยแล้งมีความละเอียดมากขึ้นทั้งในเชิงพื้นที่และเวลาซึ่งส่งผลให้การประเมินภัยแล้งมีความถูกต้องและแม่นยำเพิ่มมากขึ้น คลอบคลุมในพื้นที่ที่ไม่มีข้อมูลตรวจวัดที่ผิวฟื้น ตลอดจนเหมาะสมกับการดำเนินงานตั้งรับและปรับตัวในระดับท้องถิ่น (Sorooshian et al. 2011; Damberg and Aghakouchak, 2014; Orvos et al., 2015) อย่างไรก็ตามการคาดการณ์ภัยแล้งในอนาคตสำหรับประเทศไทยในอีกหลายสิบปีข้างหน้าจากข้อมูลคาดการณ์ระยะยาว เช่น ข้อมูลคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ CMIP5 (คาดการณ์ถึง ค.ศ.2100) ยังไม่ปรากฎชัดเจน ดังนั้นการหาแนวโน้ม การเปลี่ยนแปลง เชิงพื้นที่-เวลาของภัยแล้งในประเทศไทยจากอดีตถึงปัจจุบันและในอนาคตเพื่อใช้ติดตามตรวจสอบจากข้อมูลที่หลากหลายและเป็นปัจจุบันจะเป็นข้อมูลที่ช่วยให้ประเทศไทยเตรียมการรับมือภัยแล้งได้ดียิ่งขึ้น

ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ประเทศไทยจึงควรที่จะมีข้อมูลที่เป็นผลการวิเคราะห์แนวโน้ม แผนที่คาดการณ์ภัยแล้ง ผลกระทบต่อคุณภาพอากาศ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในประเด็นดังกล่าวและจัดทำข้อเสนอโครงการ เพื่อพัฒนาแผนที่ดัชนีภัยแล้งที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทยจากข้อมูลที่มีความละเอียดสูงในการแสดงผลเชิงพื้นที่ วิเคราะห์ พื้นที่เสี่ยงและ hot spot ของภัยแล้งในปัจจุบันและอนาคต เชื่อมโยงกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อคุณภาพอากาศของประเทศไทย รวมทั้งพัฒนาข้อมูลข่าวสารความเสี่ยงจากภัยแล้งความละเอียดสูงที่เหมาะสมในการสนับสนุนการตัดสินใจเชิงนโยบายและการดำเนินงานในระดับท้องถิ่น

ผลผลิตหลัก
- มีแผนที่ ฐานข้อมูล แนวโน้ม พื้นที่เสี่ยง ด้านภัยแล้งในปัจจุบันและอนาคตที่จะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพื่อใช้ในการวางแผนและปรับตัวของประเทศ และนำเข้า Thailand Adaptation Information Platform (T-Plat)
- เกิดองค์ความรู้ เทคนิค และวิธีการวิเคราะห์ด้านภัยแล้งและผลกระทบต่อคุณภาพอากาศที่ยังไม่มีการศึกษาในประเทศไทย
- ประชาชนเข้าถึงฐานข้อมูลข่าวสารด้านการจัดการความเสี่ยงและผลกระทบจากภัยแล้งในระดับชุมชน ซึ่งสามารถนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การจัดการทรัพยากรน้ำ ภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม

ผลผลิตรอง
- องค์ความรู้สำหรับคาดการณ์ระดับมลพิษทางอากาศที่จะเปลี่ยนไปเนื่องจากภัยแล้ง
- สังคมได้เข้าถึงและรับรู้ข้อมูลข่าวสารความเสี่ยงจากภัยแล้ง
- องค์ความรู้ด้านภัยแล้ง และผลกระทบต่อมลพิษทาอากาศ
- ระบบข้อมูลข่าวสารความเสี่ยงจากภัยแล้งความละเอียดสูงสู่ชุมชน
- มีหน่วยงานหรือบุคคลเข้าใช้งาน

ผลลัพธ์ที่คิดว่าจะได้รับ
- สามารถนำแผนที่ค่าดัชนีภัยแล้งที่แสดงผลเชิงพื้นที่และเวลา ไปจัดการพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดภัยแล้งในปัจจุบัน และใช้เป็นข้อมูลวางแผนและบริหารจัดการพื้นที่แนวโน้มที่จะเกิดภัยแล้งในอนาคต
- มีการใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้ เพื่อใช้ในการวางแผนและปรับตัวต่อสภาวะอากาศที่เปลี่ยนเนื่องจากภาวะภัยแล้งรวมถึงผลกระทบต่อคุณภาพอากาศที่ส่งผลต่อสุขภาพประชาชนที่จะเกิดในอนาคตสำหรับประเทศไทย และใช้ประกอบการเรียนการสอนและการค้นคว้าวิจัยในระดับสูงขึ้นต่อไป

 

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank