การพัฒนาแบบสอบถามความตระหนักด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
1.1 การพัฒนาแบบสอบถามความตระหนักด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
1) ทบทวนแนวทางและตัวอย่างการพัฒนาและจัดทำพัฒนาแบบสอบถามและดัชนีความตระหนักด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยได้ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การปรับตัวรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการดำเนินงานตามมาตรา 6 แห่งอนุสัญญาฯ ตลอดจนงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
2) ปรึกษาหารือกับผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อยกร่างแบบสอบถาม
3) ดำเนินการพัฒนาและจัดทำแบบสอบถาม
4) ประชุมรับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้เชี่ยวชาญ พร้อมทั้งปรับแก้แบบสอบถามในเบื้องต้น
1.2 ทดสอบความเหมาะสมและความสมบูรณ์ของแบบสอบถามที่พัฒนาขึ้น
1) ออกแบบสำรวจและคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างสำหรับทดสอบความเหมาะสม และความสมบูรณ์ของแบบสอบถามที่พัฒนาขึ้นในการสำรวจและเก็บข้อมูลความตระหนักด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยผู้วิจัยได้คัดเลือกประชาชนในเขตเทศบาลตำบลบางแสน จำนวน 30 ตัวอย่าง เพื่อเป็นกลุ่มตัวอย่างในการทดสอบแบบสอบถาม
2) ดำเนินการสำรวจและเก็บข้อมูลในภาคสนาม เพื่อทดสอบแบบสอบถาม โดยให้ผู้วิจัยแจกแบบสอบถามให้ผู้ตอบแบบสอบถาม เพื่อวิเคราะห์ผลแบบสอบถามและประเมินถึงความเหมาะสมและความสมบูรณ์ของแบบสอบถาม
3) นำเสนอผลการทดสอบแบบสอบถามให้แก่ผู้เชี่ยวชาญ พร้อมรับฟังข้อเสนอแนะเพิ่มเติม เพื่อปรับแบบสอบถามให้มีความเหมาะสมสำหรับการสำรวจและเก็บข้อมูลความตระหนักด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยใช้วิธีการส่งแบบสอบถามที่ได้รับการปรับปรุงแล้วกลับไปยังผู้เชี่ยวชาญทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์และขอรับกลับภายใน 7 วัน