การดำเนินงานการศึกษาการลดการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจกจากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น กรณีศึกษา การผลิตอ้อย (เดือนสิงหาคม 2558)

Thursday, 06 August 2015 Read 31990 times Written by 

IMG 2875

วงชีวิตการเจริญเติบโตของอ้อย มี 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การงอกของตาอ้อย การงอกเริ่มจาก 7 ถึง 10 วัน และสิ้นสุดที่ราว ๆ ประมาณ 30-35 DAT ระยะที่ 2 การแตกกอ จะเริ่มจากราว ๆ 40 ถึง 120 DAT ระยะที่ 3 ระยะการเจริญเติบโตของลำต้นอ้อย เริ่มจาก 120-270 DAT และ ระยะที่ 4 ระยะการเติบโตเต็มที่ (อ้อยสุก) เริ่มใน 270-360 DAT

ในการวิจัยครั้งนี้ ใช้วิธีปลูกอ้อยข้ามแล้งหรือปลูกอ้อยหลัง ระยะเวลาการวิจัยครอบคลุมวงชีวิตการเจริญเติบโตของอ้อยระยะ ที่ 1 2 และ 3 ซึ่งเป็นช่วงที่มีความต้องการใช้ไนโตรเจนมากที่สุด ตั้งแต่มกราคม 2558 ถึงสิงหาคม 2558 รวมอายุอ้อย 218 DAT

IMG 2872

- เก็บตัวอย่างอากาศ เพื่อวิเคราะห์อัตราการปลดปล่อยไนตรัสออกไซด์ และ เก็บตัวอย่างดินเพื่อวิเคราะห์ความเข้มข้นของอนินทรีย์ไนโตรเจน (Inorganic nitrogen) ได้แก่ แอมโมเนียม และไนเตรท ในดิน ทั้งหมด 27 ครั้ง ตั้งแต่มกราคม 2558 ถึงสิงหาคม 2558

IMG 2877

- เก็บตัวอย่างดินเพื่อวิเคราะห์ตัวแปรด้านความชื้นในดิน ได้แก่ ความชื้นดินโดยน้ำหนัก ความหนาแน่นดิน ร้อยละช่องว่างในดิน ร้อยละปริมาตรน้ำในช่องว่างดิน ในช่วงการทดลองมีการเก็บ 8 ครั้ง ในเดือนมกราคม กุมภาพันธ์ มีนาคม เมษายน พฤษภาคม มิถุนายน และกรกฎาคม 2558

IMG 2879

- เก็บตัวอย่างดินเพื่อวิเคราะห์ศักยภาพไนตริฟิเคชั่น ในการวิจัยนี้ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 1 เมื่อเดือนมกราคม 2558 ทำการเก็บตัวอย่างหลังใส่ปุ๋ย 1 14 และ 28 วัน และใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 เมื่อเดือนมีนาคม 2558 ทำการเก็บตัวอย่างหลังใส่ปุ๋ย 1 14 และ 28 วัน

IMG 2885

- เก็บตัวอย่างดินเพื่อศึกษาชนิดและปริมาณแบคทีเรียของในดิน หลังใส่ปุ๋ย 1 วัน เมื่อเดือนมกราคม 2558

- การวัดการเจริญเติบโตของอ้อย เมื่อเดือนมิถุนายน 2558

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank