การปรับตัวพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม

Tuesday, 04 September 2012 Read 27066 times Written by 

04 09 2012 8-1

การปรับตัวพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม

บ้านยางเลิง ต.ดอกไม้ อ.สุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม ความแปรปรวนภูมิอากาศที่ส่งผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2543 เป็นต้นมา ความรุนแรงของปัญหาน้ำท่วมได้เพิ่มขึ้นมากเมื่อเปรียบเทียบกับในอดีต

การปรับตัวของชุมชนบ้านยางเลิงในอดีตถึงปัจจุบัน ชุมชนเริ่มปรับตัวโดย
 
1. การอพยพไปหางานทำนอกพื้นที่ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 ปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ทำให้ข้าวเสียหายเกือบทั้งหมด รายได้หลักจากข้าวสูญเสียไป ประกอบกับไม่มีแหล่งน้ำชลประทานในพื้นที่ สมาชิกในครัวเรือนเกษตรกรปรับตัวโดยการอพยพไปหางานทำ รับจ้างทั่วไปทุกปีทั้งในต่างจังหวัดและกรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ. 2552 มีสมาชิกในครัวเรือนเกษตรกรออกไปรับจ้างอย่างถาวรในกรุงเทพมหานคร จำนวน 86 คน คิดเป็นร้อยละ 82 ของครัวเรือนเกษตรกรที่มีอาชีพทำนา (129 ครัวเรือน)
2. การปลูกยูคาลิปตัสบนคันนา มีเกษตรกรบางครัวเรือนปลูกยูคาลิปตัสเพื่อเป็นรายได้เสริมการทำนา
3. การปลูกข้าวนาปรัง แม้ปัญหาน้ำท่วมเกิดติดต่อกันมา เกษตรกรมีความคิดที่จะทำนาปรัง แต่ติดปัญหาที่ น้ำในลำเสียวน้อยมีเฉพาะในฤดูฝน หลังฤดูกาลทำนา ลำน้ำเสียวน้อยจะแห้ง ไม่มีน้ำเพียงพอสำหรับทำการเกษตร แม้ว่าในชุมชนจะมีแหล่งน้ำธรรมชาติคือ เริงขี้ตุ่น แต่แหล่งน้ำนี้ เป็นแหล่งน้ำดิบสำหรับประปา 4 หมู่บ้าน ชุมชนไม่ยอมให้นำน้ำไปทำการเกษตรในฤดูแล้ง ในฤดูแล้งปี พ.ศ. 2553 มีเกษตรกรจำนวน 7 ราย ปลูกข้าวนาปรังพันธุ์ปทุมธานี ประมาณ 50 ไร่ โดยใช้น้ำที่เหลือในลำเสียวน้อยที่เพิ่งได้รับการขุดลอกซึ่งอยู่ตอนใต้เริ่งขี้ตุ่น โดยวิธีการสูบน้ำเข้าแปลงนา ได้ผลผลิตประมาณ 800-1,000 กิโลกรัมต่อไร่
4. การขอเงินชดเชยความเสียหายจากภัยพิบัติ เมื่อผลผลพืชของเกษตรกรได้รับความเสียหายจากภัยน้ำท่วม ผู้นำชุมชนและคณะกรรมการหมู่บ้าน และสำนักงานเกษตรอำเภอทำการสำรวจความเสียหายทั้งหมด แสดงความจำนงขอความช่วยเหลือจากภาครัฐ (ในรูปตัวเงินตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2546)  
แนวทางการปรับตัวของชุมชนบ้านยางเลิงในอนาคต

ผลกระทบจากภัยน้ำท่วมและการแก้ปัญหาด้วยวิธีการที่ผ่านมา ประชาคมในชุมชนและองค์การบริหารส่วนตำบลดอกไม้ มีความคิดเห็นว่า การปรับตัวด้วยวิธีการดังกล่าวไม่สามารถแก้ปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ได้ ชุมชนมีแนวความคิดการแก้ปัญหาในอนาคตคือ  

1.ปรับเปลี่ยนพันธุ์ข้าว โดยการนำข้าวฟางลอยหรือข้าวแดง (ซึ่งเดิมเป็นพันธุ์ข้าวพื้นเมืองที่เคยปลูกในพื้นที่) ปลูกในพื้นที่น้ำท่วมแทนข้าวหอมมะลิหรือข้าวขาวดอกมะลิ105 โดยมีข้อเสนอแนะว่า หากรัฐบาลมีการประกันราคา 7,000-8,000บาทต่อเกวียน จะเป็นแรงกระตุ้นให้เกษตรกรปลูกข้าวฟางลอยในพื้นที่
2. ขุดลอกลำน้ำเสียวน้อย จากฝายเริงขี้ตุ่นจนถึงลำน้ำเสียวใหญ่ ต.สระคู ระยะทางประมาณ 6 กิโลเมตรโดยงบประมาณของกรมชลประทาน เพื่อระบายน้ำออกจากพื้นที่น้ำท่วมในช่วงฤดูฝนได้เร็วขึ้น อีกทั้งช่วยลดความเสียหายของข้าวได้ (แต่ยังไม่มั่นใจว่า จะแก้ปัญหาได้ทั้งหมด)
3. ขุดลอกเริงขี้ตุ่น ปัจจุบันเริงขี้ตุ่นตื้นเขิน ปริมาณน้ำกักเก็บน้อย หากมีการขุดลอกให้ลึก มีปริมาณน้ำมากพอ คนในชุมชนสามารถนำน้ำมาใช้ในการปลูกพืชฤดูแล้งได้ เช่น ข้าวนาปรัง พืชผักหลังการเก็บเกี่ยวข้าว แต่ต้องอาศัยหน่วยงานราชการเข้ามาช่วยสนับสนุนงบประมาณเช่น องค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ดหรือกรมชลประทาน เพราะใช้งบประมาณสูงในการดำเนินการ เกินกำลังงบประมาณขององค์การบริหารส่วนตำบลดอกไม้

อย่างไรก็ตาม ผลจากการประชุมกลุ่มประชาคมบ้านยางเลิง มีความเห็นว่า การปรับตัวของชุมชนในปัจจุบัน โดยเฉพาะปลูกยูคาลิปตัส การรับความช่วยเหลือจากภาครัฐ (เงินชดเชย) และการทำนาปรัง ยังไม่สามารถแก้ปัญหาหรือไม่เป็นการปรับตัวของชุมชนต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ยั่งยืน ยกเว้นได้รับการพัฒนาแหล่งน้ำตามแนวทางการปรับตัวของชุมชนในอนาคตเสียก่อน

โครงการศึกษาแนวทางและรูปแบบการปรับตัวของชุมชน
ต่อภาวะภัยแล้งและอุทกภัยในชุมชนนำร่องบริเวณทุ่งกุลาร้องไห้

ข้อมูลเพิ่มเติม: ดร.อัศมน ลิ่มสกุล
ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
e-mail: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank