การพัฒนาแนวทางการปลูกป่าชายหาดด้วยหลักการป่านิเวศ (Eco-forest)

Tuesday, 07 January 2020 Read 21110 times Written by 

g 2020 11

 

การพัฒนาแนวทางการปลูกป่าชายหาดด้วยหลักการป่านิเวศ (Eco-forest) เพื่อป้องกันผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล การกัดเซาะชายฝั่ง และพายุซัดฝั่ง

รูปแบบการปลูกป่านิเวศเพื่อลดผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล การกัดเซาะชายฝั่ง และพายุซัดฝั่ง ที่พัฒนาขึ้นได้ประยุกต์หลักการปลูกป่านิเวศ (Eco-forest) ตามแนวคิดของ ศ.ดร. อาคิระ มิยาวากิ โดยพิจารณาการจัดโครงสร้างตามหลักเกณฑ์การคัดเลือกพันธุ์ไม้  กลุ่มตามระดับชั้นความสูง ได้แก่ ไม้ยืนต้นชั้นเรือนยอดบนสุด ไม้ยืนต้นชั้นรอง ไม้พุ่ม และไม้พื้นล่างคลุม สัดส่วนรวมในแต่ละกลุ่มพันธุ์ไม้และจำนวนในแต่ละชนิดพันธุ์ไม้เท่า ๆ กัน ทีมวิจัยได้ดำเนินการสำรวจชนิดพันธุ์ไม้ชายหาดที่มีความเหมาะสมต่อและมีความทนทานต่อไอความเค็มของทะเลและมีการเจริญเติบโตเร็วจำนวน 9 ชนิด ได้แก่ คอร์เดีย จิกทะเล โพทะเล ปอทะเล หยีทะเล ฝาดดอกขาว หมันทะเล แสมทะเล หงอนไก่ทะเล และพันธุ์ไม้พื้นเมืองท้องถิ่น เช่น สนประดิพัทธ์ เป็นการปลูกแบบสลับและหนาแน่น และปลูกกล้าไม้จำนวน 3-4 ต้น ต่อ 1 ตารางเมตร ขนาดของต้นไม้อายุประมาณ 6-8 เดือน ความสูงประมาณ 60-80 เซนติเมตร โดยตั้งเป้าอัตราการรอดตาย 80% ของจำนวนการปลูกทั้งหมด จัดทำแนวรั้วรอบแปลงทดลองวิจัย จากการสำรวจพื้นที่ในเบื้องต้นได้คัดเลือกพื้นที่แปลงทดลองบริเวณหาดชลาทัศน์ ชุมชนเก้าเส้ง โดยมีขนาดพื้นที่แปลงศึกษาวิจัยขนาด (50 เมตร x 10 เมตร) ปรับภูมิทัศน์บริเวณโดยรอบและเลือกช่วงระยะเวลาการทดลองปลูกในเดือนพฤษภาคม – กันยายน พ.ศ. 2563 

g 2020 11 4

ภาพที่ 1 แบบจำลองรูปแบบการปลูกป่านิเวศบริเวณหาดชลาดทัศน์

หมายเหตุ : สัดส่วนการปลูกป่านิเวศแบ่งพื้นที่ออกเป็น 5 กลุ่ม โดยมีรายละเอียดในการปลูกดังนี้

กลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 ได้แก่ ต้นปอทะเล ต้นโพทะเล ต้นแสมทะเล ต้นเตยทะเล และต้นฝาดดอกขาว

กลุ่มที่ 3 และกลุ่มที่ 4 ได้แก่ ต้นหยีทะเล ต้นหมันทะเล และต้นคอร์เดีย

กลุ่มที่ 5 ได้แก่ ต้นหยีทะเล และต้นจิกทะเล 

แนวทางการดำเนินงานปลูกป่าชายหาดด้วยหลักการป่านิเวศ (Eco-forest) เพื่อป้องกันผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล การกัดเซาะชายฝั่ง และพายุซัดฝั่ง ประกอบด้วย

1.1 การปรับพื้นที่ เนื่องจากสภาพพื้นที่เป็นดินทรายไม่เหมาะกับการเพาะปลูกจึงจะต้องมีการไถพรวนพื้นที่ให้มีความลึก 20 – 30 เซนติเมตร เพื่อให้ดินร่วนฟูเกิดช่องว่างให้อากาศและน้ำหมุนเวียนได้ โดยมีการผสมดินดำและมูลสัตว์ที่เตรียมไว้ผสมในพื้นที่แปลงทดลองและทำการผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน ซึ่งจากสภาพพื้นที่ที่เป็นชายหาดทำให้ต้องปรับพื้นที่เป็นแบบเนินเตี้ยหลังเต่า โดยขั้นตอนนี้ทำก่อนปลูกพันธุ์ไม้ 2-4 สัปดาห์ และหลังจากทำการเตรียมดินห้ามมีการเหยียบแปลงทดลอง และจากนั้นจึงจัดเตรียมระบบน้ำบาดาลเพื่อเป็นแหล่งน้ำของกล้าไม้ในตลอดระยะเวลาการปลูก

1.2 การเตรียมกล้าไม้ กล้าไม้ที่จะนำมาปลูกจะมีอายุประมาณ 5-6 เดือน และมีความสูงประมาณ 60-80 เซนติเมตร เพื่อช่วยเพิ่มความแข็งแรงและความทนทานต่อกระแสลมจากคลื่นทะเล

1.3 การเตรียมบุคลากรในการปลูกป่านิเวศ สร้างทีมแกนนำภาคประชาสังคมและคณะทำงานร่วมกับสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 16 (สงขลา) สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสงขลา และเทศบาลนครสงขลา โดยกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมจะทำการอบรมความรู้เพื่อให้ทีมแกนนำเข้าใจเทคนิคการปลูกแปลงทดลองอย่างถูกวิธีโดย รับสมัครอาสาสมัครจากหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชนร่วมปลูกป่านิเวศ หรือ ดำเนินการร่วมกับสถานศึกษาในพื้นที่ใกล้เคียง

1.4 การดูแลหลังทำแปลงทดลอง ประสานงานร่วมกับหน่วยงานเทศบาลนครสงขลา กลุ่มแกนนำและทีมศึกษาวิจัยในพื้นที่เพื่อช่วยตรวจสอบและติดตามต้นไม้ที่ล้มและปลูกซ่อมแซม และต้องมีการรดน้ำทุกวันในตลอดช่วงหลังการปลูกโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะเวลา 2 เดือนแรก

 

g 2020 11 2

 

g 2020 11 3

 

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank