การปรับตัวพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วมและฝนแล้ง

Tuesday, 04 September 2012 Read 27024 times Written by 

04 09 2012 7

การปรับตัวพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วมและฝนแล้ง

บ้านเตย ต.ทุ่งกุลา อ.สุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นพื้นที่ประสบภัยทั้งน้ำท่วมและฝนแล้งในปีเดียวกัน ความแปรปรวนภูมิอากาศที่ส่งผลกระทบต่อการปลูกพืชของชุมชนอย่างรุนแรงซึ่งเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2547 เป็นต้นมา ความรุนแรงของปัญหาทั้งภัยแล้งและน้ำท่วมได้เพิ่มขึ้นอย่างมากเมื่อเปรียบเทียบกับในอดีต

การปรับตัวของชุมชนบ้านเตยในอดีตถึงปัจจุบัน ชุมชนเริ่มปรับตัวโดย  

1. การออกไปรับจ้างทำงานนอกพื้นที่ การอพยพออกจากพื้นที่ไปขายแรงงานและทำงานในต่างจังหวัดและกรุงเทพมหานคร สมาชิกในครัวเริอน 80% ของจำนวนครัวเรือนในหมู่บ้านออกไปรับจ้าง ออกไปรับจ้างตลอดปี จะกลับมาบ้านเฉพาะช่วงปลูกและเก็บเกี่ยวข้าว และบุญแรกนาข้าวเท่านั้น
2. รับความช่วยเหลือจากทางราชการ เมื่อเกิดปัญหาน้ำท่วมและภัยแล้งทางภาครัฐได้จัดสรรงบประมาณมาช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับความเสียหายจากภัยพิบัติ ช่วงปี พ.ศ. 2540-46 ภาครัฐช่วยเหลือในรูปของเมล็ดพันธุ์พืชเช่น พืชผักสวนครัว ถั่วลิสง ถั่วเหลือง นับตังแต่ปี พ.ศ. 2547 ภาครัฐได้ปรับเปลี่ยนความช่วยเหลือจากรูปเมล็ดพันธุ์มาเป็นตัวเงิน กล่าวคือ ในปี พ.ศ. 2547 จ่ายค่าชดเชยไร่ละ 414 บาทต่อไร่ ในปีพ.ศ. 2551 จ่ายค่าชดเชยไร่ละ 606 บาทต่อไร่
3. ปลูกตันยูคาลิปตัสในพื้นที่นามากขึ้นโดยการปลูกบนคันนา เริ่มปรับตัวโดยการปลูกตันยูคาลิปตัสเพื่อเพิ่มรายได้ในครัวเรือนมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 จนถึงปัจจุบัน มีพื้นที่ปลูกตันยูคาลิปตัสประมาณ  ไร่
4. การทำนาปรัง ในปี พ.ศ. 2551/52 เกษตรกรบ้านจานเตยจำนวน 9 ราย พื้นที่ปลูกประมาณ 25 ไร่  นำข้าวนาปรังมาปลูกในพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วม โดยอาศัยน้ำจากลำน้ำเตยและในปี พ.ศ. 2552/53 มีการทำนาปรังเพิ่มมากขึ้น มีพื้นที่ปลูกข้าวนาปรัง 134 ไร่ เกษตรกรจำนวน 30 ราย นอกจากนี้เกษตรกรที่มีที่นาริมน้ำมูลได้ปลูกพริก ไว้ใช้บริโภคในครัวเรือน
5. การทำอาชีพเสริม โดยการปลูกพืชเช่น มะเขือ ถั่วฝักยาว แตงกวา ในช่วงฤดูหนาวและแล้งนำไปจำหน่ายในชุมชนบ้านจานเตย (จำนวน 6 ครัวเรือน)
6. การเลี้ยงวัวเป็นการปรับตัวของเกษตรกรอย่างหนึ่ง เพื่อเป็นแหล่งรายได้เสริมนอกเหนือการทำนาข้าวและเป็นหลักประกันความมั่นคงด้านรายได้ของครอบครัวหรือชุมชนเมื่อประสบภัยพิบัติ ชุมชนบ้านเตยที่การเลี้ยงวัว/ควายมีจำนวน 40 ครัวเรือน อย่างไรก็ตาม บางครอบครัวมีการเพิ่มจำนวนวัวมากขึ้น

แนวทางการปรับตัวของชุมชนบ้านเตยในอนาคต

จากปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วมที่ผ่านมา ผลการประชุมร่วมกับประชาคมในชุมชนและเทศบาลตำบลทุ่งกุลา เพื่อหาแนวทางการปรับตัวจากภัยพิบัติและแก้ปัญหาพื้นที่ในอนาคต สรุปได้ดังนี้

1) ติดตั้งสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า กรมชลประทานร่วมกับเทศบาลตำบลทุ่งกุลา สร้าง/ติดตั้งสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าและระบบชลประทาน สูบน้ำจากแม่น้ำมูลส่งไปยังพื้นที่ที่ประสบภัยแล้งที่อยู่ทางทิศเหนือของหมู่บ้าน และสูบน้ำไปกักเก็บไว้ในอ่างเก็บน้ำชลประทานบ้านจาน สำหรับการเกษตรทั้งในฤดูฝนและฤดูแล้ง อยู่ระหว่างรองบประมาณจากภาครัฐ คาดว่าจะดำเนินการได้ในปี พ.ศ. 2554
2) การพัฒนาอ่างเก็บน้ำชลประทานบ้านจาน(ฮ่องแฮ)  โดยการขุดลอกห้วยฮ่องแฮให้สามารถกักเก็บน้ำได้ปริมาณเพิ่มขึ้น เพียงพอสำหรับการอุปโภค(น้ำประปา)และการเกษตรในช่วงที่ประสบภัยแล้ง ปัจจุบัน กรมชลประทานได้รับงบประมาณและอยู่ในระหว่างการขุดลอกอ่างเก็บน้ำชลประทานบ้านจานและจะแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2554
3) การสร้างคลองลอยเชื่อมต่อกับระบบสูบน้ำด้วยไฟฟ้า ลงสู่พื้นที่นาเกษตรกรที่ประสบภัยแล้ง ความยาวประมาณ 5,000 เมตร จากแม่น้ำมูล บริเวณปากเตย ผ่านด้านข้างเทศบาลตำบลทุ่งกุลา ลงสู่พื้นที่นาที่ประสบภัยแล้ง ประมาณ 10,000 ไร่
อย่างไรก็ตาม ผลจากการประชุมกลุ่มประชาคมบ้านเตย มีความเห็นว่า การปรับตัวของชุมชนในปัจจุบัน โดยเฉพาะรับความช่วยเหลือจากภาครัฐ (เงินชดเชย) และการทำนาปรัง ยังไม่สามารถแก้ปัญหาหรือไม่เป็นการปรับตัวของชุมชนต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ยั่งยืน ยกเว้นได้รับการพัฒนาแหล่งน้ำตามแนวทางการปรับตัวของชุมชนในอนาคตเสียก่อน

โครงการศึกษาแนวทางและรูปแบบการปรับตัวของชุมชน
ต่อภาวะภัยแล้งและอุทกภัยในชุมชนนำร่องบริเวณทุ่งกุลาร้องไห้

ข้อมูลเพิ่มเติม: ดร.อัศมน ลิ่มสกุล
ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
e-mail: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank