ดัชนีความตระหนักด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

Monday, 13 January 2020 Read 19550 times Written by 

การพัฒนาดัชนีความตระหนักด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

     1. พัฒนาโครงสร้างและองค์ประกอบของดัชนีที่แสดงถึงตระหนักด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประชาชน

     2. วิเคราะห์แบบสอบถามให้อยู่ในสเกลตัวเลข

            โครงสร้างและองค์ประกอบของดัชนี CCAI ประกอบไปด้วยตัวแปรที่ตรวจวัดความรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ/ สภาวะโลกร้อน ความกังวลต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และพฤติกรรมเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประชาชน ซึ่งโครงสร้างของดัชนี CCAI ส่วนรายละเอียดของโครงสร้างของดัชนี CCAI และตัวแปรของแต่ละองค์ประกอบรอง ทั้งนี้ ได้กำหนดค่าคะแนนของคำตอบในแบบสอบถาม ผลรวมค่าคะแนนของตัวแปรในแต่ละองค์ประกอบรอง ถูกนำมาปรับสเกลให้มีค่า อยู่ในช่วง 0-1 เพื่อสามารถเปรียบเทียบค่ากันได้ในแต่ละองค์ประกอบรอง ด้วยเทคนิค Minimum-maximum normalization (UNDP, 2004; Sullivan, 2005) ตามสมการ ดังนี้

Normalized ค่าคะแนนของตัวแปรในแต่ละองค์ประกอบรอง (Xj) = (Xi - Xmin) / (Xmax - Xmin)

                     Xj  =   องค์ประกอบรอง (ความรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ/สภาวะโลกร้อน ความกังวลต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และพฤติกรรมเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประชาชน)

                     Xi    = ตัวแปรที่ i ขององค์ประกอบรอง j

                    Xmin = ค่าคะแนนต่ำสุดขององค์ประกอบรอง j

                     Xmax = ค่าคะแนนสูงสุดขององค์ประกอบรอง j

                     ขั้นตอนการคำนวณดัชนี CCAI โดยผลรวมค่าคะแนนในแต่ละองค์ประกอบรองหลังจากผ่านการ Normalize จะถูกนำมาคำนวณ CCAI ด้วย Additive model โดยให้ค่าน้ำหนักของแต่ละองค์ประกอบรองเท่ากัน ทั้งนี้ หากต้องการถ่วงด้วยค่าน้ำหนักในสัดส่วนที่แตกต่างกันควรผ่านกระบวนการ Expert consultation และการวิเคราะห์ข้อมูลเพิ่มเติม แสดงดังภาพที่ 1

Q3 2020 1

 

ภาพที่ 1 ขั้นตอนการคำนวณดัชนี CCAI

 

     3. ทดสอบความน่าเชื่อถือและความเที่ยงของดัชนีที่พัฒนาขึ้น

 

                เพื่อเพิ่มความเข้าใจและให้เห็นภาพถึงการทำงานของดัชนี CCAI ที่สามารถแสดงระดับความตระหนักด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเป็นฟังก์ชั่น 3 ด้าน ประกอบด้วย (1) ความรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ/สภาวะโลกร้อน (2) ความกังวลต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และ (3) พฤติกรรมเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประชาชน จึงได้ทำตารางโอกาสที่ CCAI เป็นไปได้ โดยคะแนนขององค์ประกอบรองด้านความรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ/สภาวะโลกร้อน มีค่าอยู่ในช่วง 0-15 คะแนน ขององค์ประกอบรองด้านความกังวลต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มีค่าอยู่ในช่วง 0-16 และคะแนนขององค์ประกอบรองด้านพฤติกรรมเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประชาชน มีค่าอยู่ในช่วง 0-30 ตามลำดับ ทั้งนี้ โอกาสที่เป็นไปได้ของดัชนี CCAI = 8,704 กรณี ทั้งนี้ ได้ Simulate ทุกกรณีที่ CCAI เป็นไปได้ ซึ่งข้อมูลที่ Simulate ดังปรากฏใน Excel file (Simulated CCAI) ภาพที่ 18 แสดง Histogram ของดัชนี CCAI ที่ Simulate ซึ่งลักษณะการกระจายตัวของ CCAI เป็นการแจกแจงแบบปกติ โดย CCAI ที่มีค่าอยู่ระหว่าง 0.4-0.6 เท่ากับ 3574 กรณี หรือเท่ากับ 40% แสดงดังภาพที่ 2

Q3 2020 1 2

 

ภาพที่ 2 Histogram ของดัชนี CCAI ที่ Simulate ความเป็นไปทุกกรณี

 

 

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank