ผู้ใหญ่จรัสศรี ฮั่นตระกูล กับมุมมองเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
โดยจรูญ พลายด้วง
วันที่สถานการณ์ธรรมชาติเปลี่ยนแปลง การประกอบอาชีพยังต้องพึ่งพิงกับธรรมชาติและหากินกับทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเมื่อเกิดภัยธรรมชาติชุมชนจึงถือว่าเป็นเหตุการณ์ปกติ แต่หลังจากเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมในเดือนเมษายน (Summer Flood) เป็นสถานการณ์ที่ชาวบ้านมีความตื่นตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีผลกระทบต่อชุมชน
บ้านบางกระบือหรือ บางควาย ตำบลท่าไร่ ชุมชนชายทะเล ประกอบอาชีพ ประมงพื้นบ้าน ทำนา ทำสวน และรับจ้าง ในวันที่สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงชุมชนมีความเข้าใจ รับรู้ และมีแผนการรับมืออย่างไร ผู้ใหญ่เล็ก หรือผู้ใหญ่จรัสศรี ฮั่นตระกูล ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 6 ต.ท่าไร่ อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช มีมุมมองว่า
ความเข้าใจเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
สภาพภูมิอากาศมีการเปลี่ยนแปลง คือสภาพอากาศ ที่มีความร้อน ความหนาว ที่เกิดขึ้นทุกวัน ในอดีตมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นตามฤดูกาล แต่ปัจจุบันมีความคลาดเคลื่อนไม่สามารถคาดการณ์ได้
การรับรู้ของชุมชนในเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ด้วยสภาพปัญหาที่ค่อยๆ เกิดขึ้น อาทิเช่น เมื่อเมฆฝนก่อตัวเป็นพายุ แต่เพียงพักเดียวเมฆก็ผ่านไป คาดเดาได้ยาก ชุมชนมีการรับรู้แบบผ่านไปเพียงผิวเผินจากประสบการณ์ แค่รู้ว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงทีละนิดๆ การหากิน ประกอบอาชีพลำบากมากกว่าที่ผ่านมา ในอดีตสมาชิกในชุมชนทำงานอย่างเดียว สามารถเลี้ยงครอบครัวได้..แต่ปัจจุบันไม่สามารถเลี้ยงครอบครัวได้แล้ว รายได้น้อยลง เนื่องจากปัญหาเกิดครั้งละนิดหน่อย ชาวบ้านจึงไม่นำมาใช้เป็นฐานข้อมูล และยังไม่มีการเตรียมตัวมากนัก
แผนและวิธีการรับมือจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ชาวบ้านใช้สื่อจากวิทยุ โทรทัศน์เป็นช่องทางในการรับรู้ข้อมูล เมื่อจะออกทะเลชาวบ้านจะสังเกตความรุนแรงของคลื่นเป็นหลักในการออกหาปลาบวกกับประสบการณ์ของชาวประมง เมื่อมีเหตุการณ์ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง หรือมรสุมต่างๆ ชาวบ้านต้อผูกมัดเรือให้แน่น และดูแลเครื่องมือการประกอบอาชีพให้มีสภาพสมบูรณ์และพร้อมอยู่เสมอ
การประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ไม่มีหน่วยงานของรัฐมาให้ความรู้เรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ชาวบ้านมักรับรู้จากสื่อ เมื่อเกิดภัยชุมชนจะประสานงานกับป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยทั้งอำเภอและจังหวัด ฝ่ายพลเรือน มาช่วยเมื่อเกิดเหตุการณ์รวมถึงมาฝึก อพปร.ให้กับชุมชน
คิดว่าอนาคต 10 ปีข้างหน้า มีความรุนแรง หรือไม่
มีความทวีรุนแรงไปเรื่อยๆ เนื่องจาก คนหรือหน่วยงานที่ดำเนินเดินงานเรื่องการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ มีน้อย ชาวบ้านยังไม่คิด หรือแม้แต่หน่วยงานราชการบางหน่วยงาน ก็ยังไม่คิด ที่จะทำให้ชาวบ้านอยู่ได้ เมื่อเกิดเหตุการณ์หรือการเปลี่ยนแปลง หากหน่วยงานคิดวางแผนก็หน้าจะดำเนินการบ้างแล้วตัวอย่างเช่น คูระบายน้ำกับการสร้างถนน ปัจจุบันการสร้างถนนไม่มีคูระบายน้ำ ในอดีตข้างถนนจะมีคูน้ำ เมื่อฝนตกน้ำจะไหลลงคูถนนออกไป แต่เดียวนี้ไม่มีคูถนนเมื่อฝนตกก็จะเกิดน้ำท่วม
แนวคิดในการวางแผนชุมชนเพื่อลดผลกระทบ
การรวมกลุ่มของสมาชิกในชุมชน เพื่อมาพูดคุยหาแนวทางแก้ไขเนื่องจากว่าปัญหาไม่สามารถแก้คนเดียวได้ ต้องพูดคุยกัน
ในวันที่สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงชุมชนก็ยังคงตั้งถิ่นฐาน บ้านเรือน อยู่ที่เดิม เนื่องจากมีพื้นที่จำกัด และยังต้องหวังพึ่งทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่ง...ชุมชนจะปรับตัวต่อผลกระทบที่เกิดขึ้นอย่างไร
Credit: http://www.greenforall.net
มูลนิธิรักษ์ไทย สำนักงานกระบี่ 55/16 หมู่บ้านพูลศิริคาซ่า ซิตี้ ตำบลปากน้ำ อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ 81000 Tel./Fax 075620103, 0898718426 This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.