พัฒนาการเรียนรู้เพื่อปรับตัวรับมือกับโลกร้อน

Monday, 03 September 2012 Read 24998 times Written by 

ชุมชนดอยแม่วิน: พัฒนาการเรียนรู้เพื่อปรับตัวรับมือกับโลกร้อน
ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่

ชุมชนดอยแม่วินตั้งอยู่บนภูเขาสูง ชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นชาวปกาเกอะเญอ (กระเหรี่ยง) ชาวม้ง และคนพื้นราบที่อพยพขึ้นไปอยู่บนดอย รวมทั้งหมด 19 หมู่บ้าน ชาวบ้านส่วนใหญ่ทำาอาชีพการเกษตร ปลูกผักและไม้ผลเมืองหนาวเป็นรายได้ พื้นที่ทำานาปลูกข้าวมีไม่มาก เนื่องจากสภาพภูมิประเทศเป็นภูเขาสูง แต่อาจมีการปลูกข้าวไร่ในบางส่วน มีการเลี้ยงวัวเป็นอาชีพเสริม (วัวเนื้อ) โดยเลี้ยงปล่อยตามป่า

ในอดีต สภาพอากาศจะเย็นเกือบตลอดทั้งปี ยกเว้นเฉพาะในเดือนเมษายน - พฤษภาคม ที่อาจมีอากาศร้อนบ้าง และอาจเกิดไฟป่าในช่วงเดือนมีนาคม – เมษายนบ้าง แหล่งน้ำส่วนใหญ่มีน้ำเกือบตลอดทั้งปีถ้าจะแห้ง ก็เฉพาะช่วงเดือนเมษายนเพียง 1 – 2 สัปดาห์ ปัญหาการขาดแคลนน้ำดื่มน้ำใช้จึงไม่มากนักสภาพอากาศที่ผันผวนในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เริ่มปรากฎการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศในทุกฤดู เริ่มจากฤดูฝน ที่ฝนตกหนักมากขึ้น และจะมีปัญหาน้ำหลากในช่วงเดือนกันยายน – ตุลาคม ที่ปริมาณน้ำมีมากขึ้นจนทำให้พื้นที่เสียหายจากน้ำท่วมมีบริเวณกว้างขึ้น และเริ่มมีปัญหาดินถล่มเพิ่มขึ้น ส่วนในฤดูหนาว สภาพอากาศร้อนขึ้น จนเริ่มมีผลกระทบต่อไม้ผลเมืองหนาว ที่ให้ผลผลิตลดลง แต่ในบางปี ก็มีสภาพอากาศหนาวจัดจนทำให้สัตว์เลี้ยง (รวมถึงวัว-ควาย) ตายลงเป็นจำานวนมาก รวมไปถึงสภาพอากาศที่แตกต่างกันระหว่างกลางวัน-กลางคืน (กลางวันร้อนมาก แต่กลางคืนหนาวมาก) ส่วนในหน้าร้อน สภาพอากาศร้อนและแห้งแล้งมากขึ้น จากเกิดปัญหาไฟป่า แหล่งน้ำเหือดแห้ง ขาดแคลนน้ำอุปโภค-บริโภค เป็นต้น ความเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศเหล่านี้ได้เริ่มส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่และการทำามาหากินของชาวบ้านในชุมชนดอยแม่วินเด่นชัดขึ้น

แม้ว่าชาวบ้านจะได้เริ่มทำาการปรับตัว เช่น ในกรณีของน้ำท่วมข้าว (ช่วงกันยายน-ตุลาคม) เกษตรกรจะเร่งการปลูกข้าวให้เร็วขึ้น (เพื่อให้ข้าวสุกพร้อมเก็บเกี่ยวก่อนน้ำหลาก) ทดลองพันธุ์ข้าวใหม่ที่มีอายุสั้นลงหรือการรับฟังข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับปริมาณฝน (เพื่อจะได้สามารถไปเกี่ยวข้าวก่อนน้ำหลาก) การปลูกไม้ยืนต้นริมลำห้วย การปลูกหญ้าแฟก เพื่อลดการพังทลายของดิน สร้างแหล่งน้ำสำารอง เลี้ยงสัตว์ในบริเวณใกล้บ้าน ที่สามารถดูแลได้ทั่วถึงมากขึ้น และการอนุรักษ์ป่าโดยรวมเพิ่มขึ้น

ทางเครือข่ายการจัดการทรัพยากรลุ่มน้ำวางตอนบน และองค์การบริหารส่วนตำาบลแม่วิน ได้ร่วมกันจัดทำโครงการสนับสนุนให้ชาวบ้านได้ทำการปรับตัวโดยเน้นที่การสร้างการรับรู้ให้กับชาวบ้านเกี่ยวกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (ชาวบ้านจำานวนมากเชื่อว่า ความผันผวนของสภาพอากาศเกิดจากการลงโทษของพระเจ้า/ผี) การสร้างเครือข่ายในการเฝ้าระวังดินถล่ม และการจัดการพื้นที่การเกษตรที่ช่วยป้องกันดินถล่ม (เช่น การปลูกพืชยึดดิน คลุมดิน การทำเกษตรอินทรีย์)

ติดต่อองค์การบริหารส่วนตำาบลแม่วิน เลขที่ 9 หมู่ที่ 15 ตำาบลแม่วิน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ 50360
โครงการนำร่องการปรับตัว เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ มูลนิธิสายใยแผ่นดิน

Credit: http://www.greennet.or.th

03 09 2012 6-1

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank