ข้อเสนอโครงการ

Saturday, 04 January 2020 Read 18703 times Written by 

g04012020 1

โครงการการศึกษาแนวทางที่เหมาะสมในการจัดการและประเมินป่านิเวศและพัฒนารูปแบบ
ป่านิเวศเพื่อลดผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล การกัดเซาะชายฝั่ง และพายุซัดฝั่ง

1. ที่มาและความสำคัญ

          ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 รวมทั้งยุทธศาสตร์กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2564) ได้ให้ความสำคัญและตั้งเป้าหมายการส่งเสริมการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเมืองและชุมชน โดยมีเป้าหมายให้ได้ ร้อยละ 40 ของพื้นที่
ทั้งประเทศ หรือประมาณ 128 ล้านไร่ในอีก 20 ปีข้างหน้า (สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์
, 2560) กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบดำเนินการเพิ่มพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง โดยกำหนดแนวทางขับเคลื่อนเพื่อสร้างการรับรู้และกระแสสังคมในการกระตุ้นให้ทุกภาคส่วนเห็นถึงความสำคัญของพื้นที่
สีเขียวในเมืองและผนึกกำลังในการปลูกและดูแลต้นไม้ รวมทั้งสร้างและขยายความร่วมมือกับเครือข่ายหรือกลุ่มต่างๆ (กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
, 2560) ซึ่งภารกิจนี้ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ที่ 1 ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ว่าด้วยการจัดการป่าไม้และความหลากหลายทางชีวภาพ ตลอดจนการเพิ่มพื้นสีเขียวและป่านิเวศยังเป็นการช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและเป็นแนวทางลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ที่ 6 ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ว่าด้วยการลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติทางธรรมชาติ

          การบริการของระบบนิเวศ (Ecosystem service) ทั้ง 4 ด้านตามกรอบของ Millennium Ecosystem Assessment (MEA) นับเป็นเครื่องชี้วัดที่สำคัญถึงความสมบรูณ์และหน้าที่ของป่านิเวศที่ปลูกในเมือง โดยการประเมินตัวแปรและดัชนีด้านฟังก์ชั่น สามารถใช้แสดงพลวัตร สภาวะความสมบูรณ์และรูปแบบของการทำหน้าที่ของป่าในองค์รวมได้โดยตรง เนื่องจากองค์ประกอบทางด้านฟังชั่น เป็นการแสดงถึงกระบวนการรวมของระบบนิเวศ (Ecosystem-level process) ที่เกิดจากการผสมผสานระหว่างปัจจัย กระบวนการทำงาน และปฏิสัมพันธ์ของทุกส่วนย่อยในระบบนิเวศรวมกัน จากการทบทวนงานวิจัยที่ผ่านมา พบว่า การประเมินดัชนีและตัวแปรด้านฟังก์ชั่นของป่านิเวศในเมือง ยังไม่ได้มีการดำเนินงานกันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากขาดเครื่องมือและกรอบวิธีการประเมินที่เหมาะสม  ดังนั้น คณะวิจัยจึงเล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาวิธีการประเมินและตัวแปรสำหรับการประเมินฟังก์ชั่นอย่างง่าย เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการประเมินการทำงานและความสมบูรณ์ของระบบป่านิเวศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพลวัตรคาร์บอนและกระบวนการแลกเปลี่ยนก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ

          จากความสำคัญดังกล่าวข้างต้น คณะวิจัยจึงเห็นความสำคัญของพัฒนาโครงการวิจัยนี้ เพื่อจัดทำและพัฒนาข้อมูลพื้นที่ต้นแบบหรือตัวอย่างที่ดีของพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง รวมทั้ง พัฒนาวิธีการประเมินและตัวแปรสำหรับการประเมินฟังก์ชั่น (Function) และศึกษาพลวัตรคาร์บอนของพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง ตลอดจนพัฒนารูปแบบการปลูกป่านิเวศในเมืองชายฝั่งเพื่อเป็นแนวทางเลือกในการลดผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล การกัดเซาะชายฝั่ง และพายุซัดฝั่ง

2. วัตถุประสงค์โครงการวิจัย

          2.1 เพื่อจัดทำข้อมูลพื้นที่ต้นแบบและข้อมูลตัวอย่างที่ดีของพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง

          2.2 เพื่อพัฒนาวิธีการประเมินและตัวแปรสำหรับการประเมินฟังก์ชั่นและพลวัตรคาร์บอนของพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง

          2.3 เพื่อพัฒนารูปแบบการลดผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล การกัดเซาะชายฝั่ง และพายุซัดฝั่ง ด้วยหลักการปลูกป่านิเวศ

 

3. ขอบเขตของโครงการวิจัย

ขอบเขตของโครงการวิจัย แบ่งการดำเนินงานได้ 3 กิจกรรมย่อย แสดงดังต่อไปนี้

          3.1 การจัดทำข้อมูลพื้นที่ต้นแบบและข้อมูลตัวอย่างที่ดีของพื้นที่ป่านิเวศในเมือง กิจกรรมนี้จะดำเนินการสำรวจต้นแบบของพื้นที่สีเขียวและการปลูกป่านิเวศในเมืองที่ได้ดำเนินการมาแล้วในอดีตถึงปัจจุบันทั้งจากพื้นที่ในความดูแลของภาครัฐและภาคเอกชนทั่วประเทศ โดยวิธีการทบทวนเอกสาร (Literature review) และสำรวจพื้นที่ (Site survey) และรวบรวมเป็นข้อมูลพื้นที่ต้นแบบและข้อมูลตัวอย่างที่ดีพื้นที่ป่านิเวศในเมือง

          3.2 การพัฒนาวิธีการประเมินและตัวแปรสำหรับการประเมินฟังก์ชั่นและพลวัตรคาร์บอน (Carbon dynamic) ของพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง กิจกรรมนี้จะดำเนินการศึกษาวิธีการประเมินฟังก์ชั่นและจัดทำกรอบแนวคิดของหลักการประเมินฟังก์ชั่นของพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศ และประชุมผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมินเบื้องต้นและคัดเลือกตัวแปรที่มีศักยภาพในการประเมินฟังก์ชั่นและพลวัตรคาร์บอนในเบื้องต้น และคัดเลือกพื้นที่แปลงทดลองเพื่อศึกษาฟังก์ชั่นที่สำคัญของพื้นที่พื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง และพัฒนาวิธีการประเมินและตัวแปรสำหรับการประเมินฟังก์ชั่นของป่านิเวศในเมืองและเก็บข้อมูลภาคสนามเพื่อทดสอบการใช้งานวิธีการประเมินฟังก์ชั่นฯในป่านิเวศต้นแบบและป่าธรรมชาติ โดยศึกษาดัชนีด้านฟังก์ชั่นที่สำคัญ เช่น อัตราการแลกเปลี่ยนคาร์บอนสุทธิ (Net Ecosystem Exchange; NEE) อัตราการหายใจของดิน (Soil respiration) และศึกษาพลวัตรคาร์บอน (Carbon dynamic) ของพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง

          3.2 การพัฒนารูปแบบการปลูกป่านิเวศเพื่อลดผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล การกัดเซาะชายฝั่ง และพายุซัดฝั่ง กิจกรรมนี้จะดำเนินการศึกษาหลักการและแนวทางการลดผลกระทบฯ โดยวิธีการทบทวนเอกสาร คัดเลือกพื้นที่นำร่องเมืองชายฝั่งจากพื้นที่เสี่ยงที่ได้รับผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล การกัดเซาะชายฝั่ง และพายุซัดฝั่ง และพัฒนารูปแบบการปลูกป่านิเวศเพื่อลดผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล การกัดเซาะชายฝั่ง และพายุซัดฝั่ง และประสานงานในพื้นที่นำร่องเพื่อเตรียมพื้นที่แปลงทดลองในพื้นที่นำร่อง

 

4. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

          4.1 ข้อมูลพื้นที่ต้นแบบและข้อมูลตัวอย่างที่ดีของพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง และศูนย์เรียนรู้ป่านิเวศในเมืองและชุมชน

          4.2 วิธีการประเมินและตัวแปรสำหรับการประเมินฟังก์ชั่นและพลวัตรคาร์บอนของพื้นที่สีเขียวและ
ป่านิเวศในเมือง

          4.3 รูปแบบการปลูกป่านิเวศเพื่อลดผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล การกัดเซาะชายฝั่ง และพายุซัดฝั่ง และกลไกการติดตามผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานการปลูกป่านิเวศอย่างมีส่วนร่วมของคนในชุมชนท้องถิ่น

 

5. การนำไปใช้ประโยชน์ด้านสังคมและชุมชน

ผู้ใช้

การใช้ประโยชน์

- องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น

- สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด

- สถาบันการศึกษา

- ประชาชนและผู้สนใจทั่วไป

- ข้อมูลพื้นที่ต้นแบบและข้อมูลตัวอย่างที่ดีของพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง เพื่อใช้ในแนวทางการพัฒนาพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในพื้นที่ชุมชนอื่นๆ

- แหล่งเรียนรื้การปลูกป่านิเวศแก่เยาวชน ประชาชน นักวิชาการ และผู้สนใจทั่วไปในพื้นที่ชุมชนท้องถิ่น

- นำวิธีการประเมินฟังก์ชั่นไปใช้เพื่อการจัดการป่านิเวศในเมืองและประยุกต์ใช้ในการจัดการของระบบนิเวศอื่นๆ

- ชุมชนเมืองชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

การนำรูปแบบการปลูกป่านิเวศไปใช้เป็นแนวทางเพื่อลดผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล พายุซัดฝั่งและการกัดเซาะชายฝั่ง

 

6. แผนการถ่ายทอดเทคโนโลยีหรือผลการวิจัยสู่กลุ่มเป้าหมาย

          6.1 จัดทำสื่อเอกสารเผยแพร่ข้อมูลเชิงวิชาการการปลูกป่านิเวศในเมืองและผลการดำเนินงานจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ป่านิเวศในเมือง

6.2 เชื่อมโยงฐานพื้นที่ต้นแบบและข้อมูลตัวอย่างที่ดีของการปลูกป่านิเวศกับระบบสารสนเทศเครือข่ายพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมืองเป็นฐานข้อมูลระดับกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมเพื่อเผยแพร่ผ่านทางเว็บไซด์แก่ประชาชนผู้สนใจทั่วไป

6.3 พัฒนาความร่วมมือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือสถาบันการศึกษาเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้การปลูกป่านิเวศในเมือง

6.4 ประชุมภาคีผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในท้องที่ชุมชนท้องถิ่นและถ่ายทอดผลการพัฒนารูปแบบการปลูกป่านิเวศผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล การกัดเซาะชายฝั่ง และพายุซัดฝั่ง

6.5 ขยายผลนำรูปแบบการปลูกป่านิเวศไปใช้ในพื้นที่เสี่ยงที่ได้รับผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล การกัดเซาะชายฝั่ง และพายุซัดฝั่งในระยะถัดไปของโครงการฯ

6.6 เผยแพร่ผลงานวิจัยในรูปแบบการตีพิมพ์ผลงานในเอกสารวิชาการ

6.7 เผยแพร่ผลงานวิจัยในรูปแบบบทความวิจัย

          6.8 เผยแพร่ผลงานวิจัยในการสัมมนาระดับชาติและนานาชาติ

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank