ระบบเฝ้าระวังสภาพภูมิอากาศและเตือนภัยทางทะเล

Monday, 03 September 2012 Read 23987 times Written by 

บ้านมดตะนอย: ชุมชนกับระบบเฝ้าระวังสภาพภูมิอากาศและเตือนภัยทางทะเล
ตำบลเกาะลิบง อำเภอกันตรัง จังหวัดตรัง

ชุมชนบ้านมดตะนอยเป็นชุมชนประมงพื้นบ้าน ตั้งอยู่ริมชายฝั่งทะเลอันดามัน บริเวณใกล้กับปากคลอง"ใหญ่" โดยพื้นที่ทั้งหมดที่ชาวบ้านตั้งบ้านเรือนทั้งหมดเป็นพื้นที่เขตป่าสงวน ภายใต้การดูแลของสถานีพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ 31 โดยบางส่วนอยู่ในเขตริมชายฝั่งทะเลและบางส่วนอยู่ในป่าโกงกางชายเลน ในชุมชน มีประชาการราว320 - 330 ครอบครัว ทั้งหมดประกอบอาชีพประมงพื้นบ้าน หรืออาชีพที่เกี่ยวข้อง และมีเพียง 10% ที่มีพื้นที่การเกษตร ซึ่งส่วนใหญ่จะปลูกยางพารา

วิถีอาชีพของชาวประมงพื้นบ้านในชุมชนนี้จะเริ่มออกเรือตั้งแต่รุ่งเช้า 3.00 – 5.00 น. เพื่อจับปลาและสัตว์ทะเลบริเวณใกล้ชายฝั่ง โดยการวางอวนและเครื่องมือจับสัตว์น้ำอื่นๆ ในรัศมีประมาณ 15 – 20 กิโลเมตรจากแผ่นดินใหญ่ และจะกลับเข้าฝั่งประมาณในช่วงบ่ายประมาณ 15.00 – 17.00 น. เรือประมงของชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นเรือประมงขนาดเล็ก ซึ่งสัตว์น้ำที่จับได้จะขายให้กับพ่อค้าในชุมชน เพื่อนำาไปจำหน่ายต่ออีกทีหนึ่ง
นอกเหนือจากการต้องพึ่งพาวัฐจักรน้ำขึ้นน้ำลงในการออกเรือประมงในแต่ละวันแล้ว การทำประมงของชาวบ้านต้องอาศัยพึ่งพา โดยปกติ ในช่วงเดือนพฤษภาคม-พฤศจิกายน จะเป็นช่วงลมมรสุม ซึ่งชาวบ้านอาจออกเรือได้เพียงบางวัน ปัญหาความผันผวนของสภาพอากาศได้ส่งผลต่อการทำาประมงของชาวบ้านในหลายด้าน ตั้งแต่อากาศที่ร้อนขึ้น ส่งผลให้น้ำทะเลอุ่นขึ้น ประการังเกิดการฟอกขาว และสัตว์น้ำต่างๆ ลดจำนวนลง หรือฝนที่ตกเพิ่มขึ้น มีน้ำจืดไหลลงทะเลมากขึ้น ส่งผลให้สมดุล/พลวัตรของน้ำทะเลเปลี่ยนไปปริมาณสัตว์ทะเลก็เปลี่ยนไปได้ รวมทั้งการเกิดลมหมุนในทะเล ซึ่งทำให้เครื่องมือจับสัตว์น้ำเสียหาย ผลโดยรวมก็คือ ชาวประมงมีความเสี่ยงจากปัจจัยสภาพอากาศในการทำามาหากินมากขึ้น

03 09 2012 7

มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนได้ริเริ่มจัดทำาโครงการนำาร่องขึ้นในพื้นที่ชุมชนบ้านมดตะนอย เพื่อพัฒนาระบบการเฝ้าระวังภัยจากภูมิอากาศที่ชุมชนสามารถดำาเนินการได้เองอย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากระบบการเตือนภัยของราชการเป็นการเตือนภัยในพื้นที่ขนาดใหญ่ และชาวบ้านไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายนัก การจัดทำาระบบการเฝ้าระวังและเตือนภัยของชุมชนเป็นมาตรการหนึ่งในการจัดการปัจจัยเสี่ยงจากสภาพอากาศได้ซึ่งโครงการมีแผนที่จะจัดทำาระบบวิทยุสื่อสารในท้องถิ่น ที่ให้ชาวประมงที่ออกเรือได้รายงานหรือแจ้งเตือนสภาพอากาศในท้องถิ่น ในบริเวณที่ตัวเองได้ออกเรือไป ซึ่งจะทำาให้ชาวประมงอื่นได้รับทราบ และตัดสินใจที่จะออกเรือ/ไม่ออกเรือไปในพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งน่าจะช่วยป้องกันชีวิตและทรัพย์สินของชาวบ้านจากสภาพอากาศได้

ติดต่อ มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน กรุงเทพ www.sdftthai.org
โครงการนำร่องการปรับตัว เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ มูลนิธิสายใยแผ่นดิน

Credit: http://www.greennet.or.th

03 09 2012 7-1

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank