“ทานตะวัน” พืชเศรษฐกิจ ที่มากกว่าความสวยงาม

Monday, 10 March 2014 Read 38903 times Written by 

10 03 2014 23

“ทานตะวัน” พืชเศรษฐกิจ ที่มากกว่าความสวยงาม
อภิวัฒน์ คำสิงห์
ไม้ดอกไม้ประดับ
วันที่ 03 พฤษภาคม 2556

จากสภาพความเสื่อมโทรมและการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ ที่ได้สร้างความเสียหายต่อพืชผลทางการเกษตรโดยเฉพาะข้าวโพด ทั้งด้านราคา ปริมาณและคุณาภาพที่ลดลงเกือบทุกๆปี ทำให้เกษตรกรในหลายพื้นที่หันมาปลูกพืชเสริมอย่างทานตะวันหลังเก็บเกี่ยวพืชหลัก จนทานตะวันกลายเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดใหม่ที่สร้างรายได้ให้กับพี่น้องเกษตรกรในจังหวัดลพบุรีและพื้นที่ใกล้เคียงได้เป็นอย่างดี

นอกจากทานตะวันจะสามารถสร้างรายได้ให้กับพี่น้องเกษรตรกรแล้ว  ความสวยงามของ ทุ่งดอกทานตะวัน ที่ชูช่อบานสะพรั่งสู้กับพระอาทิตย์ในหลายๆพื้นที่ ยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเที่ยวชมจนเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของจังหวัดลพบุรีจนทุกวันนี้

ทุ่งดอกทานตะวัน จังหวัดลพบุรีเป็นแห่งแรกที่ได้รับการโปรโมท์ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวอันดับต้นๆของประเทศ ซึ่งมีแหล่งปลูกจะกระจายอยู่ทั่วไปในเขตอำเภอเมือง อำเภอพัฒนานิคม อำเภอชัยบาดาล ในทุกปีดอกทานตะวันจะบานสะพรั่งดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาเที่ยวชมกันเป็นจำนวนมาก

ทานตะวันเป็นพืชทนแล้งที่เกษตรกรนิยมปลูกหลังจากข้าวโพด เมล็ดทานตะวันจะมีสารอาหารที่มีคุณค่า นิยมใช้สกัดทำน้ำมันปรุงอาหาร หรืออบแห้ง เพื่อรับประทาน หรือใช้เป็นส่วนผสมของเครื่องสำอาง และนอกจากนี้ยังสามารถนำมาเลี้ยงผึ้งและเก็บเอาน้ำหวานจากรังผึ้งที่สร้างจากเกศรดอกทานตะวันเป็นรายได้เสริมอีกทางหนึ่ง

หมดข้าวโพด ต่อทานตะวัน

คุณดาหวัน ห้องกระจก อยู่บ้านเลขที่ 57 หมู่ที่ 9 ตำบลโคกตูม อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี เป็นเกษตรกรคนหนึ่งที่ปลูกทานตะวันเสริมจากพืชหลัก ในทุกปีช่วงเดือนเมษายน – สิงหาคม หลังจากปลูกและเก็บเกี่ยวข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ คุณดาหวันจะปรับพื้นที่และเตรียมดินเพื่อปลูกพืนรุ่นที่สองอย่างทานตะวันบนพื้นที่ 280 ไร่

การมองหาพืชรุ่นที่สองมาปลูกต่อจากพืชหลักในช่วงนั้นหาได้ยาก เพราะด้วยข้อจำกัดของสภาพแวดล้อมและสภาพพื้นที่ แหล่งน้ำ อีกทั้งกำลังแรงงานที่ใช้ในการดูแลก็มีน้อย ทำให้พืชที่จะนำมาปลูกได้ในตอนนั้นต้องเป็นพืชที่ไม่ต้องดูแลมาก

คุณดาหวัน เล่าให้ฟังว่า ตนเป็นเกษตรกรยึดอาชีพเกษตรกรรมมาตั้งแต่รุ่นพ่อแม่ พืชที่ปลูกคือข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ พอหลังจากเก็บเกี่ยวข้าวโพดแล้วก็ไม่ได้ปลูกพืชอะไรต่อทำให้พื้นที่ก็ว่างเปล่าอยู่หลายเดือนกว่าฤดูกาลปลูกข้าวโพดจะมาถึง ทำให้ต้องหาพืชรุ่นสองมาปลูกต่อจากข้าวโพด

“ครั้นจะปลูกอ้อยกับมันก็ไม่มีความรู้ในการดูแล  มีเพียงแต่ทานตะวันที่เห็นเพื่อนเกษตรกรด้วยกันนำเข้ามาปลูกในพื้นที่และได้เข้ามาแนะนำให้ปลูกในทุกๆปีของเดือนตุลาคมหลังจากที่เก็บเกี่ยวข้าวโพดแล้ว

เริ่มรายแรก ปลูกเป็นเครือข่าย

หลังที่ได้รับคำแนะนำและเรียนรู้การปลูกและการดูแลทานตะวันจากเพื่อนแล้ว หลังเก็บเกี่ยวข้าวโพดเสร็จคุณดาหวันก็ตัดสินใจนำทานตะวันมาปลูกในพื้นที่เป็นรายแรกๆของชุมชน หลังจากที่ได้เห็นและเรียนรู้จากการได้เห็นและสัมผัสมา

“การเตรียมพื้นที่ปลูกอันดับแรกเราจะใช้รถไถ่ผานสองไถ่ก่อนครั้งแรก พอไถ่เสร็จเรียบร้อยก็จะหว่านเมล็ดพันธุ์  และสำหรับการหว่านเมล็ดพันธุ์นั้นเราจะต้องหว่านเพื่อไว้เพื่อป้องกันเมล็ดพันธุ์ไปตกติดข้างอยู่ในลำต้นข้าวโพดที่ไถ่ไปกับดิน ซึ่งจะทำให้เมล็ดไม่สามารถงอกได้ ทำให้เราต้องหว่านเพื่อไว้ ซึ่งวิธีนี้เราจะต้องใช้เมล็ดพันธ์ในการหว่านโดยประมาณ 1.3-1.5 กิโลกรัมต่อไร่

แต่ถ้าหากมีเวลาในการเตรียมพื้นที่เพาะปลูก จะใช้วิธีการหยอดลงหลุมโดยวิธีนี้จะต้องเตรียมพื้นที่ปลูกให้เป็นแถวก่อน  หลังจากนั้นก็จะใช้รถไถ่เล็กหยอดเมล็ดพันธุ์ลงไป 1-2 เมล็ดต่อหลุม  ซึ่งการปลูกวิธีนี้จะทำให้ต้นทานตะวันขึ้นตรงกันเป็นแถว ดูเรียบร้อย และที่สำคัญการวิธีการหยอดลงหลุมจะใช้เมล็ดพันธุ์เพียง 8 ขีดต่อไร่ ซึ่งน้อยกว่าการหว่านพันธุ์ทานตะวันที่ปลูกเป็นพันธุ์อาร์ตูเอล เป็นพันธุ์ที่มีน้ำหนักดี แต่ให้น้ำมันน้อย แต่ที่ผ่านมาจะปลูกพันธุ์จัมโบ ซึ่งจะให้ปริมาณน้ำมันเยอะกว่าสายพันธุ์อื่นที่ปลูกมา  แต่สำหรับปีนี้ได้รับแจกเมล็ดพันธุ์จากหน่วยงานของรัฐจึงนำมาปลูก ทำให้สามารถลดต้นทุนการผลิตได้ทางหนึ่ง เพราะแต่ละปีการปลูกทานตะวันแต่ละรอบนั้นจะต้องชื้อเมล็ดพันธุ์ที่มีราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 400 บาทใหม่ทุกครั้ง เพราะเราไม่สามารถเก็บเมล็ดจากต้นมาทำเป็นพันธุ์ปลูกต่อได้”คุณดาหวันกล่าว

ดูแลให้ปุ๋ย ผลผลิตงดงาม

คุณดาหวันเล่าต่อว่า หลังจากที่ปลูกจนต้นทานตะวันเจริญเติบโตขึ้นมาระยะหนึ่งแล้วก็จะให้ปุ๋ยทางใบเสริม แต่หากช่วงที่ไม่มีเวลาก็ปล่อยให้ธรรมชาติดูแลเอง

ส่วนเรื่องการดูแลทานตะวันนั้น คุณดาหวัน บอกว่า มีการดูแลที่เหมือนกันทุกๆสายพันธุ์ หากได้รับน้ำในปริมาณที่พอดี ก็จะทำให้ดอกและต้นสวยสมบูรณ์ดี แต่หากได้น้ำมากจนเกินไป ก็จะทำให้ต้นแคระแก่น  ซึ่งตั้งแต่ที่ปลูกมาก็ไม่พบปัญหาอะไรที่รุ่นแรง โรคและแมลงก็มีน้อย

“ทานตะวันจะใช้ระยะเวลาประมาณ 60-65 วัน โดยเฉลี่ยในการสร้างลำต้น ดอก  จนสมบูรณ์ถึงจะเก็บเกี่ยวลผลผลิต โดยใช้แรงงานคนหรือเครื่องจักรกล ซึ่งที่นิยมใช้จะเป็นเครื่องจักรกลมากว่าแรงงานคน เพราะว่าเครื่องจักรกลในขณะที่เก็บเกี่ยวอยู่นั้น เครื่องก็จะทำการสีไปพร้อมๆกัน เราไม่ต้องนำดอกทานตะวันไปผ่านกระบวนการสีอีกครั้ง แต่สำหรับแรงงานคนเราต้องนำดอกทานตะวันที่เก็บไปผ่านกระบวนการสีอีกครั้งหนึ่งถึงจะนำไปสกัดเป็นน้ำมัน ซึ่งต้องเสียเงินทั้งจ้างแรงงานและจ้างสี ทำให้ต้นทุนการผลิตสูง”

“ปริมาณผลผลิตที่ได้ของดอกทานตะวันอยู่ที่ 250 กิโลกรัมต่อไร่ จำหน่ายออกไปกิโลกรัมละ 16-17 บาท ซึ่งหากพูดถึงกำไรก็จะได้ประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ ถ้าหากน้ำดี ไม่มีโรคแมลงที่ยากที่จะแก้ไข ไม่พบกับปัญหาภัยธรรมชาติ แต่หากปีไหนที่มีปัญหาก็จะได้กำไรลงน้อยลงขึ้นอยู่กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น”

วันนี้ทานตะวันมีน้อยลงทุกปี เนื่องจากเกษตรกรเริ่มหันไปสนใจกับมันสำปะหลัง อ้อย และปลูกข้าวโพดรุ่นสองซึ่งมีผลตอบแทนที่ดีกว่าทานตะวัน คุณดาหวันกล่าวทิ้งท้าย   

ปัจจุบันนี้ คุณดาหวัน ได้พัฒนาตัวเองมาเป็นตัวแทนขายเมล็ดพันธุ์และเป็นผู้รับเมาชื้อผลผลิตทานตะวันจากเพื่อนเกษตรกรที่เป็นเครือข่ายไปส่งขายให้กับโรงงาน นอกจากนี้ทุกๆปีทุ่งทานตะวันของคุณดาหวันจะเปิดให้เป็นสถานที่ให้นักท่องเที่ยวได้เข้ามาเก็บภาพความงดงามของดอกทานตะวันนับแสนดอก

ซึ่งท่านใดที่สนใจสามารถติดต่อไปได้ที่ 081-745-0504

Credit เนื้อหา : http://www.technologychaoban.com/news_detail.php?tnid=208&section=6

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank