บ้านพักอาศัยพื้นถิ่น

Monday, 10 March 2014 Read 24344 times Written by 

10 03 2014 3

บ้านพักอาศัยพื้นถิ่นกับความสามารถในการรับมือต่อความเสี่ยงจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ:

กรณีศึกษา ชุมชนริมน้ำ อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา

ผศ.ดร.ธาริณี  รามสูต     ภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
ดร.ประติมา นิ่มเสมอ                  ภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

บ้านพื้นถิ่นเกิดจากภูมิปัญญาชาวบ้านซึ่งผ่านการแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆของอาคารมาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานเพื่อให้เหมาะสมกับภูมิอากาศและภูมิประเทศของประเทศไทยในอดีต ที่ราบลุ่มเจ้าพระยาตอนล่างเป็นที่ราบน้ำท่วมถึงจึงเป็นพื้นที่ที่เปิดรับความเสี่ยงน้ำท่วมมาแต่อดีต ชุมชนริมน้ำมีบ้านพักอาศัยและการประกอบอาชีพที่ผูกพันกับสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศอย่างใกล้ชิด ความแปรปรวนของอากาศภายใต้อิทธิพลของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศอันเป็นผลกระทบของภาวะโลกร้อนอาจทำให้เกิดภาวะน้ำท่วมที่มีผลกระทบรุนแรงมากขึ้น นำมาซึ่งปัญหาต่อบ้านพักอาศัยในชุมชนริมน้ำ จึงทำให้เกิดคำถามถึงรูปแบบบ้านที่เหมาะสมในการรับมือกับน้ำท่วม งานวิจัยนี้ได้เลือกพื้นที่ศึกษาเป็นชุมชนริมน้ำ อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา พื้นที่ดังกล่าวเป็นตัวแทนของพื้นที่ราบลุ่มในภาคกลางที่ประสบภาวะน้ำท่วมบ่อยครั้งและถูกใช้เป็นพื้นที่รับน้ำ นอกจากนี้ชุมชนดังกล่าวยังเป็นชุมชนไทยดั้งเดิมที่มีการพัฒนารูปแบบบ้านมาเป็นเวลานานและมีความหลากหลาย ซึ่งเหมาะกับการเปรียบเทียบขีดจำกัดในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของบ้านรูปแบบต่างๆ งานวิจัยได้ทำการศึกษาโดยการลงพื้นที่เพื่อสำรวจบ้านพื้นถิ่นรูปแบบต่างๆในพื้นที่เพื่อศึกษาพัฒนาการของบ้านพักอาศัยในชุมชน ความสัมพันธ์กับสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และประเด็นอื่นๆ  และความเสี่ยงจากน้ำท่วม พบว่าในวิถีชีวิตแบบเดิมที่อยู่ในบ้านใต้ถุนสูง ทำอาชีพเกษตรกรรม และสัญจรทางน้ำเป็นหลก น้ำท่วมที่เกิดขึ้นประจำทุกปีไม่ได้ทำให้เกิดความเสี่ยงเท่าใดนัก แต่เมื่อวิถีชีวิตของชาวบ้านเปลี่ยนไปทำให้สอดคล้องกับสภาพน้ำท่วมในชุมชนลดลงทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายในประเด็นต่างๆ คือความเสียหายที่เกิดขึ้นกับบ้านพักอาศัยโดยตรง ความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อทรัพย์สินในบ้าน ความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อโอกาสการประกอบอาชีพ ปัจจัยที่ทำให้ความเสี่ยงดังกล่าวสูงขึ้นนั้นเกิดมากจากการประกอบอาชีพที่เปลี่ยนไปสัมพันธ์กับสภาพน้ำน้อยลง ความสำคัญของการสัญจรทางถนนที่เข้ามาทดแทนการสัญจรทางน้ำ และความนิยมในการสร้างบ้านพักอาศัยเพื่อให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตสมัยใหม่โดยขาดการคำนึงถึงความกลมกลืนกับสภาพแวดล้อมที่เป็นที่ราบลุ่มและเขตร้อนชื้น งานวิจัยนี้ยังได้สำรวจเก็บความเสียหายจากน้ำท่วมที่เกิดขึ้นต่อบ้านพักอาศัยเพื่อประเมินความอ่อนไหวต่อปัญหาน้ำท่วมอันเนื่องมาจากองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมที่เลือกใช้ โดยใช้ความเสียหายจากน้ำท่วมในปี พ.ศ. 2554 เป็นกรณีศึกษา นอกจากนี้ยังเก็บข้อมูลอุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์และความเร็วลมภายในบ้านพักอาศัยเพื่อประเมินความสบายเชิงอุณหภูมิภายในบ้าน จากผลการสำรวจ งานวิจัยนี้ได้ประเมินทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดของบ้านพักอาศัยที่มีความสามารถในการรับมือการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโดยเฉพาะประเด็นของน้ำท่วมโดยอาศัยเกณฑ์ 3 ประการด้วยกัน คือความทนทานในการรับมือกับน้ำท่วม ค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมหรือเปลี่ยนใหม่ และความสอดคล้องกับภูมิอากาศในบริบทของชุมชนริมน้ำ ซึ่งได้ข้อสรุปว่า รูปแบบของบ้านที่น่าจะเหมาะสมที่สุดคือ มีความทนทานต่อน้ำท่วมที่มีระดับน้ำสูง มีค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมที่ไม่แพงมากจนเกินไปและเอื้ออำนวยให้เกิดสภาวะสบายทางอุณหภูมิน่าจะเป็นบ้านโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กหลังคาเตี้ยชั้นเดียวมีใต้ถุน บ้านรูปแบบนี้เป็นคอนกรีตเสริมเหล็กที่มีความทนทานแข็งแรงและเสียหายน้อยกว่าไม้เมื่อเกิดน้ำท่วม อย่างไรก็ตามบ้านรูปแบบนี้ใช้วัสดุที่มีความจุความร้อนสูง และมีความโปร่งโล่งน้อยกว่าบ้านที่เป็นฝาไม้ซึ่งระบายอากาศดี ทำให้บ้านในรูปแบบนี้มีความเร็วลมในบ้านน้อยกว่า ความชื้นสัมพัทธ์และอุณหภูมิของอากาศในบ้านสูงกว่าบ้านที่ใช้ฝาไม้ ผลของการศึกษาชี้ให้เห็นว่าในสภาพเศรษฐกิจและสังคมปัจจุบัน บ้านที่เหมาะสมกับชุมชนริมน้ำที่น้ำท่วมเป็นประจำและน้ำท่วมในระดับที่สูง จึงควรประยุกต์องค์ความรู้ในการก่อสร้างบ้านพื้นถิ่นโดยใช้รูปแบบของบ้านพื้นถิ่นที่มีใต้ถุนสูงแต่ใช้วัสดุใหม่ที่มีความคงทนสูงกว่าและราคาต่ำกว่า

Credit : http://www.thailandadaptation.net/Research/project_folder/project5

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank