โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบการจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด

Wednesday, 12 March 2014 Read 27544 times Written by 

โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบการจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด

(Development of Lower Greenhouse Gas Emission Model for Community Solid Waste

Management at Provincial Level)

หลักการและเหตุผล

          ของเสียชุมชน นับเป็นแหล่งกำเนิดก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญของภาคการจัดการของเสีย ซึ่งส่งผลต่อปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือรู้จักในนาม ‘ภาวะโลกร้อน’ โดยสถานการณ์การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคของเสียของประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2546 คิดเป็นสัดส่วน 3.9% (9.31 ล้านต้นคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า) ทั้งนี้ 52.2% (4.86 ล้านคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า) เกิดจากกิจกรรมการจัดการขยะมูลฝอย ซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์ของขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นในประเทศไทย กล่าวคือ ในระหว่างปี พ.ศ. 2536-2551 ขยะชุมชนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นร้อยละ 34 โดยปริมาณขยะชุมชนดังกล่าว ได้ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกออกสู่บรรยากาศในปริมาณที่ค่อนข้างสูง เนื่องจากขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นถูกนำไปกำจัดอย่างถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลเพียง ร้อยละ 35 ของปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นทั่วประเทศเท่านั้น

          การจัดการขยะที่แหล่งกำเนิดด้วยกระบวนการต่างๆ เช่น การนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ด้วยกระบวนการ 3R เป็นแนวทางเชิงบูรณาการที่ส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากของเสีย เพื่ออนุรักษ์และใช้ทรัพยากรอย่างชาญฉลาด ซึ่งเป็นมาตรการที่ส่งเสริมการบริโภคที่ยั่งยืนและป้องกันมลพิษด้านสิ่งแวดล้อมโดยวิธีการดังกล่าว เป็นวิธีการที่ง่ายสะดวกและมีประสิทธิภาพในการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากภาคของเสียชุมชน อันเป็นต้นเหตุที่สำคัญของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก

          ในช่วงที่ผ่านมา ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม ได้พัฒนาโปรแกรมการคำนวณปริมาณก๊าซเรือนกระจก ที่สามารถลดได้จากการนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ของชุมชนด้วยวิธี 3R และจากการนำขยะอินทรีย์มาหมักเป็นก๊าซชีวภาพ ตลอดจนการนำขยะมาหมักทำปุ๋ยอินทรีย์ ซึ่งโปรแกรมดังกล่าว ได้มีหน่วยงานต่างๆ นำไปใช้อย่างแพร่หลาย และได้ดำเนินการโดยศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อมเองในพื้นที่นำร่องหลายชุมชน

           เพื่อเป็นการนำผลการศึกษาวิจัยไปใช้ประโยชน์ และขยายผลให้เป็นรูปธรรมมากขึ้นในระดับจังหวัดศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม ได้วางแผนริเริมโครงการต่อเนื่องเพื่อพัฒนาโมเดลต้นแบบการจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนในระดับจังหวัดนำร่อง ภายใต้แนวคิดเชิงบูรณาที่เชื่อมโยงระหว่างมิติการลดมลพิษและลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากขยะชุมชน และสร้างระบบรวบรวมปริมาณก๊าซเรือนกระจกในระดับจังหวัด เพื่อเตรียมความพร้อมในการนำปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดลงได้ของชุมชนต่างๆ สร้างกลไกการสนับสนุนทางการเงิน สำหรับการดำเนินกิจกรรมการปรับตัวต่อผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติทางภูมิอากาศ ซึ่งนับวันจะทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ผ่านการเพิ่มมูลค่าขยะในรูปของหน่วยคาร์บอนซึ่งเป็นสินค้าที่ใช้แลกเปลี่ยน ภายใต้กลไก Corporate Social Responsibility (CSR) ทั้งนี้ โมเดลทีพัฒนาขึ้น จะเป็นต้นแบบหนึ่งในการจัดการขยะชุมชนในระดับจังหวัด ในบริบทการบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยการสร้างกลไกความเชื่อมโยงการแก้ไขปัญหาโลกร้อนเทั้งสองมิติ (การบรรเทาและการลดความเสี่ยงจากผลกระทบ) เข้าด้วยกัน ผ่านการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน และหน่วยงานภาคเอกชนผ่านกลไกการสนับสนุนทางการเงินจากปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดลงได้จากการจัดการขยะที่แหล่งกำเนิด

วัตถุประสงค์

          เพื่อพัฒนาโมเดลต้นแบบการจัดการขยะชุมชนที่แหล่งกำเนิดต้านโลกร้อนในระดับจังหวัด

          เพื่อศึกษาแนวทางการนำปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดลงได้จากการจัดการขยะ มาใช้ประโยชน์ในรูปแบบการสนับสนุนทางการเงินสำหรับการดำเนินกิจกรรมการปรับตัวและลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติทางภูมิอากาศ

เป้าหมาย

          โมเดลต้นแบบระดับจังหวัดที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (เทศบาล/องค์การบริหารส่วนตำบล) และชุมชนในจังหวัดนำร่อง มีส่วนร่วมในการจัดการขยะชุมชนที่แหล่งกำเนิดที่สามารถช่วยลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก

          แนวทางและกลไกการเชื่อมโยงการแก้ปัญหาโลกร้อนในระดับจังหวัดทั้งสองมิติ (การบรรเทาและการลดความเสี่ยงจากผลกระทบ) ผ่านการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนและหน่วยงานภาคเอกชนในบริบทการสนับสนุนทางการเงินสำหรับการดำเนินกิจกรรมการปรับตัวและลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติทางภูมิอากาศ
    
ผลที่คาดว่าจะได้รับ

          โมเดลต้นแบบการจัดการขยะชุมชนจากแหล่งกำเนิดต้านภัยโลกร้อนในระดับจังหวัด

          แนวทางและกลไกการนำปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดลงได้จากการจัดการขยะ มาใช้ประโยชน์ในรูปแบบการสนับสนุนทางการเงินสำหรับการดำเนินกิจกรรมการปรับตัวและลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติทางภูมิอากาศ

          ตัวอย่างที่ดีของชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องในการจัดการขยะชุมชน

          เครือข่ายและวิทยากรพี่เลี้ยงเพื่อขยายผลการดำเนินงานในพื้นที่อื่นๆ

พื้นที่ศึกษา

          จ.สกลนคร

ผู้รับผิดชอบโครงการ

          กลุ่มการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม

 

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank