ข้อเสนอโครงการ

Wednesday, 15 January 2020 Read 18815 times Written by 

S1 2020 1

โครงการประเมินทางเลือกการปรับตัวของเมืองชายฝั่งในบริเวณอ่าวไทย

ต่อการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล การกัดเซาะชายฝั่ง และพายุซัดฝั่ง

 

1. ที่มาและความสำคัญ

พื้นที่ชายฝั่งในหลาย ๆ พื้นที่ของโลก โดยเฉพาะประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียตะวันออก กำลังถูกคุกคามและเป็นพื้นที่เสี่ยงสูงที่จะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกี่ยวข้องกับทะเลชายฝั่ง ทั้งเหตุการณ์ที่มีจุดเริ่มเกิดขึ้นอย่างช้า ๆ (Slow Onset Event) เช่น การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิน้ำทะเล และเหตุการณ์สภาวะสุดขั้วของลมฟ้าอากาศและทะเล (Extreme Weather and Sea Event) ซึ่งเกิดขึ้นในระยะเวลาสั้น ๆ แต่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรง และจากข้อมูลการศึกษาวิจัย พบว่าประเทศไทยกำลังได้รับผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล การกัดเซาะชายฝั่ง และพายุซัดฝั่งอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่ชายฝั่งอ่าวไทยรูปตัว ก บริเวณปากแม่น้ำบางปะกงจนถึงปากแม่น้ำท่าจีน เป็นพื้นที่ที่มีการกัดเซาะรุนแรงมากที่สุด และจากการศึกษาด้วยแบบจำลองพบว่า การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลเฉลี่ยในอ่าวไทยในช่วง 30 ปีข้างหน้า มีค่าอยู่ระหว่าง 10-20 เซนติเมตร ซึ่งพื้นที่บางส่วนของกรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ และฉะเชิงเทรา จะได้รับผลกระทบมากที่สุด

 

การศึกษาความเสี่ยง และผลกระทบของชุมชนในพื้นที่อ่าวไทยรูปตัว ก ต่อการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล การกัดเซาะชายฝั่ง และพายุซัดฝั่ง เป็นการศึกษาถึงประเด็นที่มีความสอดคล้องและตอบโจทย์กับความต้องการในการเพิ่มความรู้ความเข้าใจในระดับประเทศและท้องถิ่น เพื่อนำไปสู่การเตรียมความพร้อมและเพิ่มศักยภาพของภาคส่วนที่มีความล่อแหลม ต่อความสูญเสียและความเสียหาย (Loss and Damage) จากทั้งเหตุการณ์ที่มีจุดเริ่มเกิดขึ้นอย่างช้า ๆ และเหตุการณ์สภาวะสุดขั้วของลมฟ้าอากาศตามบริบทของความตกลงปารีส การศึกษานี้ จะสามารถนำไปสู่การพัฒนาองค์ความรู้ เครื่องมือ แนวทางและวิธีการที่จำเป็น ในการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่เพื่อ ลดความเสี่ยง เพิ่มทางเลือกการปรับตัวรวมทั้งหน่วยงานภาครัฐหรือภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการเข้าใจถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อนำไปใช้ในการสนับสนุนกระบวนการตัดสินใจโดยบูรณาการประเด็นความเสี่ยงและการปรับตัวเข้ากับมิติการจัดการชุมชนชายฝั่ง เพื่อเตรียมความพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงทั้งระยะสั้นและระยะยาว เพื่อนำไปสู่การพัฒนาชุมชนชายฝั่งอย่างยั่งยืนในอนาคต

 

ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น จึงเห็นควรดำเนินการประเมินความเสี่ยง ประเมินผลกระทบ และจัดทำแนวทางการปรับตัวด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อให้เป็นไปตามแผนและบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการที่ตั้งไว้ และได้ข้อมูลทางวิชาการที่ครบถ้วนและมีความน่าเชื่อถือมาก 

 

2. วัตถุประสงค์โครงการวิจัย

          2.1 เพื่อประมวลสถานการณ์ด้านความเสี่ยง ผลกระทบ การรับรู้ และการปรับตัวต่อการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล การกัดเซาะชายฝั่ง และพายุซัดฝั่งในพื้นที่บริเวณอ่าวไทยรูปตัว ก

2.2 เพื่อวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยง และแนวทางการปรับตัวจากผลกระทบต่อการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล    การกัดเซาะชายฝั่ง และพายุซัดฝั่งในพื้นที่บริเวณอ่าวไทยรูปตัว ก

 

3. ขอบเขตของโครงการวิจัย

3.1 ศึกษาแผนยุทธศาสตร์และแนวทางการตั้งรับกับผลกระทบต่อการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล การกัดเซาะชายฝั่ง และพายุซัดฝั่ง ของจังหวัด/ อำเภอ/ ตำบล ที่มีพื้นที่ติดกับทะเลในบริเวณอ่าวไทยรูปตัว ก

3.2 สำรวจ รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล การกัดเซาะชายฝั่ง และพายุซัดฝั่งในอดีตและปัจจุบัน

3.3 วิเคราะห์ความเสี่ยงและพื้นที่ล่อแหลมของชุมชนที่มีพื้นที่ติดกับทะเลในบริเวณอ่าวไทยรูปตัว ก

3.4 สำรวจความตระหนักรู้และการรับรู้ของประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบต่อการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล การกัดเซาะชายฝั่ง และพายุซัดฝั่ง        

3.5 ประเมินแนวทางการปรับตัวของชุมชนในปัจจุบันที่ได้รับผลกระทบต่อการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล การกัดเซาะชายฝั่ง และพายุซัดฝั่ง

3.6 ประชุมหารือร่วมกับท้องถิ่นเพื่อรับฟังความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ

3.7 สรุปผลการดำเนินงาน พร้อมจัดทำรายงานผลงานวิจัย

 

4. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

          4.1 สถานการณ์ด้านผลกระทบ ด้านการรับรู้ และด้านการปรับตัวต่อการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล การกัดเซาะชายฝั่ง และพายุซัดฝั่ง ในพื้นที่บริเวณอ่าวไทยรูปตัว ก

4.2 ฐานข้อมูลการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล การกัดเซาะชายฝั่ง และพายุซัดฝั่ง ในพื้นที่บริเวณอ่าวไทยรูปตัว ก

4.3 แนวทางการปรับตัวจากผลกระทบต่อการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล การกัดเซาะชายฝั่ง และพายุซัดฝั่งในพื้นที่บริเวณอ่าวไทยรูปตัว ก

 

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank