บทบาทของป่าชุมชนบ้านห้วยวินเพื่อการปรับตัว

Wednesday, 05 September 2012 Read 28402 times Written by 

05 09 2012 7

กรณีศึกษา บทบาทของป่าชุมชนบ้านห้วยวินเพื่อการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

บ้านห้วยวิน อุทยานแห่งชาติดอยภูคา ประเทศไทย

งานวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของกรณีศึกษาจาก 5 ประเทศ ในเรื่องบทบาทของป่าชุมชนเพื่อการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

จัดทำโดย
กสิณา ลิ้มสมานพันธ์ และเรียบเรียงโดย เรแกน ซูซูกิ

หน่วยงานสนับสนุน
ศูนย์ฝึกอบรมวนศาสตร์ชุมชนแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (RECOFTC), Climate and Development Knowledge Network (CDKN), REDD-net, มูลนิธิรักษ์ไทย (Raks Thai Foundation), AIT-UNEP

ประสบการณ์เรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการแก้ปัญหา

ชาวบ้านห้วยวินได้รายงานว่าประสบอุบัติการณ์ซึ่งเชื่อว่ามาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหลายประการ ซึ่งได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล โดยฤดูกาลมีการขยับเร็วขึ้น 2 ถึง 4 สัปดาห์จากที่เคยเป็น ชุมชนนี้ได้บอกเล่าว่าในอดีต ฤดูฝนเริ่มในเดือนพฤษภาคม และต่อเนื่องไปจนถึงเดือนตุลาคม โดยมีปริมาณฝนตกสูงสุดในเดือนสิงหาคมและกันยายน อย่างไรก็ดี ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ฤดูฝนเริ่มต้นเร็วมาก ฝนตกตั้งแต่เดือนมีนาคมและบางครั้งฝนทิ้งช่วงเร็วกว่าเดิม หรือบางปีก็ช้ากว่าเดิม ช่วงที่ฝนเคยตกชุกมากที่สุดในเดือนสิงหาคมก็หายไป รูปแบบของปริมาณฝนตกมีความไม่สม่ำเสมอมากขึ้น ส่วนฤดูแล้งกลับยาวนานขึ้นและร้อนมากขึ้น สิ่งที่พิสูจน์ความรู้สึกของชุมชนต่อความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศคือปริมาณฝนตกต่อปีโดยเฉลี่ยในจังหวัดน่าน เท่ากับ 1,365 มิลลิเมตร ในช่วงปี 2543 ถึงปี 2552 แต่ปริมาณฝนตกในปี 2553 เท่ากับ 2,933 มิลลิเมตร (RECOFTC, 2011) และปริมาณฝนตกในปี 2554 ก็สูงขึ้นมากเช่นกัน

การเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล กอปรกับสภาพอากาศอันเลวร้ายที่เกิดขึ้น ส่งผลต่อลักษณะทางภูมิศาสตร์ในพื้นที่และรูปแบบการใช้ที่ดินในอุทยานแห่งชาติดอยภูคา สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่มีหน้าดินบางๆ ปกคลุมบริเวณเขาหินปูนตลอดทั้งเขตอุทยานแห่งชาติมีความเสี่ยงต่อการถูกชะล้างและการเกิดดินถล่มจากฝนที่ตกหนักมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณพื้นที่การเกษตรตามไหล่เขา การสูญเสียหน้าดินอย่างรวดเร็วจะทำให้ดินที่เหลืออยู่ขาดความอุดมสมบูรณ์

ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานอย่างชัดเจนว่าผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบต่อปริมาณผลผลิตของป่าไม้ ซึ่งโชคดีมากที่ในปัจจุบันนี้ บ้านห้วยวินยังสังเกตไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญในเรื่องจำนวนไม้ไผ่ ผลไม้ หรือไม้ฟืน อย่างไรก็ดี การสูญเสียหน้าดินในระยะยาวจากฝนที่ตกหนักขึ้นและมีช่วงยาวนานขึ้นมีแนวโน้มว่าจะส่งผลต่อป่าไม้อย่างแน่นอน ซึ่งคาดได้ว่าจะมีผลในอนาคตอันใกล้นี้ ลักษณะดินในป่าและพื้นที่โดยรอบเป็นดินที่คุณภาพไม่ดีอยู่แล้ว และมักมีทรายและหินปนอยู่มาก ดังนั้นพื้นดินดังกล่าวจึงมีแนวโน้มที่จะเกิดดินถล่มและสูญเสียดินเพิ่มมากขึ้นตลอดเวลา โดยเฉพาะ
ในช่วงห้าปีที่ผ่านมาและในช่วงที่เกิดสภาพอากาศแปรปรวนมากชาวบ้านยังกลัวว่าจะเกิดน้ำป่าไหลหลากซึ่งเกิดพร้อมกับดินถลม่ และทำลายที่นาบริเวณไหล่เขา คนในพื้นที่รายงานว่าเคยเห็นปรากฏการณ์ “ดินโปด” เป็นครั้งแรกในปี 2535 และสังเกตเห็นว่าเกิดบ่อยขึ้นในปีถัดมา

การเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลและสภาพอากาศยังส่งผลกระทบทางลบต่อความมั่นคงด้านอาหารของชุมชนบ้านห้วยวิน ตามความคิดของชาวบ้านแล้ว ผลกระทบที่น่าห่วงใยที่สุดคือเรื่องคุณภาพและปริมาณของพืชผลที่ได้รับ ในปี 2551 ฤดูแล้งที่ยาวนานและปริมาณฝนตกที่น้อยกว่าปกติมากทำให้เกิดมีหนูป่าจำนวนมากมากัดกินทำลายข้าวและพืชไร่อย่างอื่น หลังจากนั้นผู้ว่าราชการจังหวัดได้ประกาศให้ 15 อำเภอเป็นเขตประสบภัยธรรมชาติ และเกือบทุกครอบครัวไม่สามารถปลูกข้าวได้พอกับการบริโภคในครัวเรือนของตน

ในปี 2554 ฤดูฝนที่ยาวนานผิดปกติมีผลทำให้พืชผลที่ได้เป็นโรคเชื้อรา และชาวบ้านเล่าว่าพวกเขาเก็บเกี่ยวข้าวได้น้อยลงถึง60% โดยดูจากน้ำหนักของผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้ต่อไร่จากที่นาของตน ในปี 2553 ปริมาณฝนตกมีมากกว่าปกติมากส่งผลทำให้สูญเสียผลผลิตไปถึง 40% จากที่เคยเก็บเกี่ยวได้ในแต่ละไร่

ชาวบ้าน 20 ครัวเรือนจากทั้งสิ้น 26 ครัวเรือนในหมู่บ้านเพิ่งจะเปลี่ยนไปรับจ้างปลูกข้าวโพดและแม้จะมีการลงทุนสูง แต่พวกเขาก็ยังประสบกับอัตราสูญเสียของผลผลิตเหมือนเดิม การเปลี่ยนไปทำไร่ข้าวโพดเป็นความพยายามแก้ไขปัญหาความยากจนและความต้องการเงินเพิ่ม แต่กลับมีความเสี่ยงมากขึ้นเนื่องจากการเลิกทำนาเพื่อเลี้ยงตัวเองทำให้ไม่มีความมั่นคงด้านอาหารและเท่ากับเป็นการลดศักยภาพในการปรับตัวโดยรวม ทั้งในการปลูกข้าวโพดและทำนาปลูกข้าว ปัญหาผลผลิตที่ลดลงถูกซ้ำเติมจากการใช้สารเคมีต่างๆ เพิ่มมากขึ้น และต้องลดช่วงเวลาในการหมุนเวียนใช้แปลงนาเพื่อเพาะปลูกเหลือ 2 ปีเท่านั้น

มีปัจจัยอื่นอีกหลายประการที่ส่งผลทางลบต่อแหล่งอาหารที่ทำให้มีความมั่นคงด้านอาหาร แต่ความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ทั้งปริมาณฝนตกและสภาพอากาศที่แปรปรวนแบบอื่นๆ ส่งผลกระทบอย่างมากต่อแหล่งอาหารทุติยภูมิ เช่น ต้นตาล หวายและเห็ดมีจำนวนลดน้อยลง ชาวบ้านเชื่อว่าความสูญเสียดังกล่าวมีความเกี่ยวพันกับการที่ฝนตกเพิ่มมากขึ้น ซึ่งทำให้ลดจำนวนครั้งที่เกิดไฟป่า ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นต่อการกระตุ้นการสร้างสปอร์ และการกระจายพันธุ์ของพืชหลายชนิดที่ต้องการอุณหภูมิสูง

การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศยังส่งผลต่อจำนวนของประชากรพืชและสัตว์ในพื้นที่ด้วย แหล่งอาหารในแม่น้ำ เช่น ปลามันซึ่งเป็นปลาท้องถิ่นต้องการกระแสน้ำที่มากพอในช่วงฤดูกาลวางไข่ในเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน แต่ฤดูแล้งที่ยาวนานส่งผลต่อระดับน้ำในลำธารใกล้เคียง ชาวบ้านรายงานว่าปัจจุบันแทบหาปลาดังกล่าวไม่ได้เลย

อย่างน้อยที่สุดมีการเปลี่ยนแปลงทางบวกประการหนึ่งที่มาพร้อมกันกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอื่นๆในเชิงลบที่กล่าวมาแล้วข้างต้น นั่นคือ ในปี 2554 ชุมชนบ้านห้วยวินรายงานว่ามีน้ำพอใช้ในครัวเรือนในเดือนเมษายนเป็นครั้งแรก

Credit: http://www.recoftc.org

สามารถอ่านรายงานฉบับเต็มได้ที่: http://www.recoftc.org/site/uploads/content/pdf/Adaptation%20Case%20Study%20in%20Thailand%20%28Thai%20version%29_264.pdf

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank