การประชุมปรึกษาหารือกับผู้เชี่ยวชาญ (Expert consultation meeting)

Monday, 06 January 2020 Read 19179 times Written by 

g 2020 10 1

 

การประชุมผู้เชี่ยวชาญ เรื่อง การพัฒนาวิธีการประเมินและตัวแปรสำหรับการประเมินฟังก์ชั่นและพลวัตรคาร์บอนของพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมืองได้จัดดำเนินการประชุมเมื่อ วันที่ 22 พฤษภาคม 2562 เวลา 8.3013.00 น. ณ ห้องปักกิ่ง ชั้น 3 โรงแรมเอเชียกรุงเทพฯ มีผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการป่าไม้ในเมือง ได้แก่ นักวิชาการ ผู้แทนภาครัฐ เอกชน และองค์กรพัฒนาเอกชน เข้าร่วมประชุมจำนวน 14 คน ดังรายละเอียดการดำเนินการประชุม ซึ่งจากการประชุมปรึกษาหารือกับผู้เชี่ยวชาญ สามารถสรุปประเด็นข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงการคัดเลือกตัวแปรและวิธีการที่เหมาะสมสำหรับการประเมินหน้าที่การทำงานในระบบนิเวศได้ดังต่อไปนี้

1.รูปแบบและขนาดพื้นที่ของป่าไม้ในเมืองและพื้นที่สีเขียวของประเทศไทย มีขนาดเล็ก มีการกระจายตัวในชุมชนและทางสาธารณะ มีลักษณะความไม่เป็นเนื้อเดียวกัน มีพื้นที่ไม่มาก ดังนั้นวิธีการประเมินควรใช้การประเมินแบบประชากร (Census) อย่างไรก็ตาม มาตราส่วนในการศึกษา ที่เป็นตัวแทน ในระดับระบบนิเวศ เช่น พื้นที่สีเขียวบางกระเจ้า มีศักยภาพในการศึกษาการแลกเปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งจะให้ผลการศึกษาการผันแปรของหน้าที่การทำงานของระบบนิเวศป่าไม้ในเมืองได้

2.วิธีการประเมินหน้าที่การทำงานของป่าไม้ด้านพลวัตรคาร์บอน วิธีการที่เหมาะสมทั้งด้านการวิจัยทางวิชาการและวิธีการแบบง่ายที่ทำได้โดยชุมชนคือ วิธีวัดการเพิ่มพูนมวลชีวภาพ และคำนวณกลับเป็น อัตราการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ การปล่อยออกซิเจน การคายน้ำ และการควบคุมภูมิอากาศท้องถิ่น

3.ในแง่การศึกษาการบริการของระบบนิเวศ ควรมีการศึกษาผลกระทบด้านลบของต้นไม้ในเมือง เช่น โอกาสการเกิดความเสียหายและอุบัติเหตุ เช่น การแพ้ละอองเกสร การบาดเจ็บจากการหักตก โค่นล้มของไม้เนื้ออ่อน โตเร็ว ที่มีพื้นที่ปลูกอย่างมากในเมือง

4.พันธุ์ไม้โตเร็ว เป็นพันธุ์ไม้ที่มีศักยภาพต่อการเพิ่มสัดส่วนพื้นที่สีเขียวและพื้นที่ปกคลุมดินต่อพื้นที่ว่างได้ อย่างไรก็ตาม พันธุ์ไม้เหล่านี้มีศักยภาพในการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำกว่าไม้ที่เจริญเติบโตช้า ดังนั้นการออกแบบโครงสร้างและสัดส่วนของชนิดพันธุ์ไม้มีผลต่อการทำหน้าที่ของป่าไม้ในเมืองอย่างมีนัยสำคัญ

5.การจัดการป่าไม้ในเมือง โดยเฉพาะแนวคิดป่านิเวศ มีต้นทุนในการดำเนินการสูง ดังนั้น การคัดเลือกพันธุ์ไม้และการกำหนดระยะปลูกควรมีความเหมาะสมในแง่ประสิทธิภาพในการสร้างระบบนิเวศเพื่อได้รับการบริการจากระบบกับต้นทุนและการดูแลรักษา

6.แนวคิดในการสร้างเครื่องมือเพื่อประเมินหน้าที่และการบริการของป่าไม้ในเมือง ควรทำควบคู่กันไป ตั้งแต่ การศึกษาองค์ประกอบและโครงสร้างของหมู่ไม้หรือสังคมพืช ได้แก่ จำนวนชนิด และดัชนีความหลากหลายทางชีวภาพ ที่เป็นตัวกำหนดหน้าที่การทำงานในระบบต่าง ๆ ในป่าไม้ในเมือง และการประเมินการบริการทางนิเวศที่สังคมเมืองที่จะได้รับ ซึ่งมีความแตกต่างจากการบริการทางนิเวศของป่าไม้ธรรมชาติ เช่น การดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ การปล่อยออกซิเจน การลดความร้อนของเมือง การบรรเทามลพิษทางอากาศ การบริการเชิงเศรษฐกิจ ท่องเที่ยว และนันทนาการ เป็นต้น

7.ตัวแปรและวิธีการในการประเมินหน้าที่การทำงาน ควรมี 2 ระดับ คือ วิธีการอย่างง่ายที่ดำเนินการได้สำหรับชุมชน ประกอบด้วย หน้าที่การทำงานใน 3 กลุ่มข้อมูล ได้แก่ 1) จำนวนชนิดพันธุ์ไม้และโครงสร้างป่าในเมือง 2) หน้าที่เกี่ยวกับการผลิต การควบคุมภูมิอากาศท้องถิ่น และ 3) การบริการเชิงนิเวศ รายละเอียดโปรดอ่าน เกณฑ์การประเมินพื้นที่สีเขียวในเมืองและชุมชน พ.ศ. 2562 ซึ่งประกอบด้วย  มาตรฐานพื้นที่สีเขียวเชิงปริมาณ 6 เกณฑ์ มาตรฐานพื้นที่สีเขียวเชิงคุณภาพ 7 เกณฑ์ และ มาตรฐานพื้นที่สีเขียวเชิงบริหารและจัดการ 6 เกณฑ์ รวม 20 เกณฑ์

8. แนวทางในการทำงานระหว่างภาครัฐ เอกชน และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ตัวอย่างการดำเนินงานป่านิเวศของ พอสว. ที่กำหนดเป้าหมายเพิ่มพื้นที่สีเขียว 1 ไร่ และมีการจัดการข้อมูลเพื่อประเมินการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ ด้วยการวัดการเพิ่มพูนมวลชีวภาพ มีความต้องการระบบการจัดการข้อมูล วิธีการมาตรฐานที่ทำได้ง่ายสะดวกประหยัดเวลา  

 

g 2020 10 3

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank