บทวิพากษ์ "แบบจำลองสำหรับประเมินค่าเสียหายทางสิ่งแวดล้อม"

Tuesday, 18 September 2012 Read 1858 times Written by 

การนำเสนอบทความวิชาการ

18 09 2012 5
“อำนาจและความไร้มนุษยธรรมของความรู้: บทวิพากษ์แบบจำลองสำหรับประเมินค่าเสียหายทางสิ่งแวดล้อมบางประการ

หลังการทำลายป่าไม้”


วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน 2555  เวลา 13.00 – 16.30 น.
ณ ห้องรองเมือง ชั้น 4 โรงแรมเดอะ ทวิน ทาวเวอร์ส รองเมือง กรุงเทพฯ

ท่ามกลางกระแสความสนใจต่อปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของผิวโลกและผืนมหาสมุทร หรือที่เรียกกันว่า “ภาวะโลกร้อน” หลายประเทศได้มีความพยายามหลายประการเพื่อปรับตัวรับมือกับปรากฏการณ์ดังกล่าว
    
ในประเทศไทย ในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามดังกล่าว กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืชได้จัดทำแบบจำลองการคิดมูลค่าความเสียหายจากการทำลายป่าไม้ต้นน้ำ และนำไปใช้ฟ้องร้องดำเนินคดีเรียกค่าเสียหายกับเกษตรกรรายย่อยที่ตั้งถิ่นฐานและทำกินในเขตป่าอนุรักษ์ตั้งแต่ปี พ.ศ.2537 เป็นต้นมารวมกว่า 2,000 ราย โทษฐานที่ทำให้เกิดความสูญเสียต่อทรัพยากรธรรมชาติตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2535 มาตรา 97 ซึ่งกำหนดให้ “ผู้ใดกระทำหรือละเว้นการกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นการทำลายหรือทำให้สูญหายหรือเสียหายแก่ทรัพยากรธรรมชาติหรือสาธารณะสมบัติของแผ่นดิน มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายให้แก่รัฐตามมูลค่าทั้งหมดของทรัพยากรธรรมชาติที่ถูกทำลาย สูญหายหรือเสียหายไปแล้ว”  เกษตรกรรายย่อยจำนวนมากที่อาศัยอยู่ในเขตป่าอันเป็นพื้นที่พิพาททับซ้อนยังถูกกล่าวหาว่า “ทำให้โลกร้อนขึ้น” ได้รับความเดือดร้อนและผลกระทบอย่างหนักจนไม่สามารถทำมาหากินและดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข หลายครอบครัวต้องพลัดพราก บ้างบ้านแตกสาแหรกขาด บางรายเลือกจบชีวิตตัวเองเพื่อหนีปัญหาความไม่เป็นธรรมที่ต้องเผชิญ
 
ปรากฏการณ์ดังกล่าว สะท้อนให้เห็นการนำเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์มาใช้ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยไม่ได้พิจารณาถึงหลักการที่สำคัญทางเศรษฐศาสตร์ คือ การทำให้เกิดความเป็นธรรมและเกิดประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม มาร่วมกันทบทวนข้อจำกัดและความผิดพลาดของแบบจำลองฯ ทั้งในแง่แนวคิดและการนำไปใช้ประโยชน์ ความถูกต้องทางวิชาการและความสมเหตุสมผล และความน่าเชื่อถือของแบบจำลอง และระดมความเห็นถึงทางออกที่ควรจะเป็น เพื่อให้ความพยายามรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นไปอย่างเป็นธรรมกับทุกฝ่ายและลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย

ผู้เข้าร่วมประชุม      
60 คน ประกอบด้วยตัวแทนชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากเครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคต่างๆ นักวิชาการ ผู้แทนองค์กรอิสระ หน่วยงานภาครัฐ และองค์กรพัฒนาเอกชนและองค์กรภาคประชาสังคมอื่นๆ

รูปแบบการประชุม    
การสรุปสถานการณ์ การนำเสนอบทความวิชาการ การวิพากษ์และให้ความเห็นต่อบทความ และแลกเปลี่ยนมุมมองถึงปัญหา และทางออกที่ควรจะเป็น

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank