การประชุมระดมความคิดเห็น "โจทย์และกรอบวิจัยการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ"

Tuesday, 11 September 2012 Read 1340 times Written by 

 11 09 2012 2

การประชุมระดมความคิดเห็น

การพัฒนาโจทย์และกรอบวิจัยยุทธศาสตร์การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศเชิงพื้นที่แบบองค์รวม

1. หลักการและเหตุผล
          สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ได้ให้การสนับสนุนต่องานวิจัยและการศึกษาด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศมาระยะหนึ่งแล้ว และได้จัดทารายงานการสังเคราะห์และประมวลสถานภาพองค์ความรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของไทย ครั้งที่ 1 เมื่อปี พ.ศ. 2554 ซึ่งพบว่าการศึกษาด้าน ผลกระทบ ความล่อแหลมและการปรับตัวสาหรับในประเทศไทยนั้นยังมีอยู่อย่างจากัด โดยเฉพาะความรู้เรื่องการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในประเทศไทยนั้นยังมีอยู่น้อยและมีข้อจากัดในกรอบการพิจารณาอยู่มาก ทั้งนี้เห็นได้จากการศึกษาเรื่องผลกระทบและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในระยะที่ผ่านมาซึ่งมักดาเนินการโดยเน้นศึกษาแต่เพียงรายภาคส่วน และพิจารณาถึงการปรับตัวโดยการมองจากมุมมองของนักวิจัยในสาขาใดสาขาหนึ่ง (single discipline based study) ซึ่งมักจะเป็นมุมมองของนักวิทยาศาสตร์กายภาพเป็นหลัก นอกจากนั้น ข้อจำกัดในด้านการศึกษาวิจัยถึงการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศอีกประการหนึ่งคือ ในปัจจุบันนี้ยังมีนักวิจัยที่สนใจศึกษาประเด็นนี้น้อยมากและส่วนหนึ่งก็ยังขาดความเข้าใจที่ถูกต้องและเหมาะสมต่อประเด็นการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ซึ่งเห็นได้จากจานวนและคุณภาพของข้อเสนอโครงการที่เสนอขอรับทุนวิจัยและการดาเนินโครงการวิจัยภายใต้กรอบชุดโครงการการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในช่วงปี พ.ศ. 2554-2555 อาจกล่าวได้ว่าข้อจากัดด้านองค์ความรู้นี้นาไปสู่ข้อจากัดในการวางนโยบายและยุทธศาสตร์ระดับชาติในการที่จะกล่าวถึงและนาเสนอประเด็นการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศอย่างเป็นรูปธรรม อีกทั้งยังไม่มีการควบรวมประเด็นด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศลงในแผนงานของกระทรวง และ/หรือ แผนพัฒนาจังหวัดหรือแผนพัฒนาชุมชน

การศึกษาวิจัยด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่จะนาไปสู่การวางนโยบายและการนาใช้ปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรมควรจะต้องมีความชัดเจนในการมองประเด็นการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ โดยสามารถเชื่อมโยงสถานการณ์อนาคตในประเด็นของความเสี่ยงจากสภาพอากาศในอนาคตกับบริบทของพื้นที่ในปัจจุบันและอนาคต และวิเคราะห์หาแนวทางการพัฒนา และ/หรือ ยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมภายใต้พลวัตของระบบเศรษฐกิจสังคม โดยคานึงถึงความไม่แน่นอนของอนาคต และเสนอแนวทางตัดสินในลักษณะที่เป็นการตัดสินใจที่สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต (robust decision making) ทั้งนี้แนวทางการพัฒนา และ/หรือ ยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมควรที่จะตั้งเป้าหมายที่การสร้างความเข้มแข็ง (resilience) ของสังคมและระบบเศรษฐกิจ ประกอบกับการสร้างความทนทาน (robustness) ของแผนพัฒนาต่างๆ ในปัจจุบันต่อการเปลี่ยนแปลงในอนาคตหลายรูปแบบ นอกจากนั้น กรอบการวิเคราะห์วิจัยจะต้องรวมถึงการสร้างความเข้าใจถึงเงื่อนไขต่างๆ ที่ทาให้เกิดดาเนินการตามแนวทางนั้นๆ ได้ (enabling factor) อีกทั้งเงื่อนไขที่ทาให้การดาเนินการปรับตัวนั้นๆ ประสบผลสาเร็จและยั่งยืน (critical success factor) รวมทั้งการจัดตั้งกระบวนการเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเหล่านั้น ตลอดจนกระบวนการที่จะควบรวมการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศเข้ากับการวางแผนในระดับต่างๆ เพื่อที่จะนาไปสู่การทบทวนและปรับปรุงยุทธศาสตร์และนโยบายที่ได้จัดตั้งขึ้นนี้ในภายหลัง อีกทั้งขยายผลไปยังการวางแผนระยะยาวในพื้นที่อื่นๆ

จากประเด็นที่กล่าวมาข้างต้น การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศเชิงพื้นที่แบบองค์รวมจึงเป็นเรื่องน่าสนใจที่จะพัฒนาขึ้นเป็นโจทย์วิจัย และงานวิจัยต่อไป โดยจัดตั้งโครงการศึกษานาร่องขึ้นเพื่อเป็นแกนในการระดมนักวิจัยจากหลายสาขาและหน่วยงานปฏิบัติ ตลอดจนภาคประชาชน โดยมีเป้าหมายให้เป็นตัวอย่างเพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจกรอบความคิดการศึกษาดังกล่าว และเป็นแกนกลางในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างนักวิจัย ภาคนโยบาย และภาคประชาสังคม ซึ่งจะนาไปสู่การปรับกระบวนทัศน์ในการพิจารณาการวางแผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในอนาคตต่อไป ทั้งนี้ผลจากการวิจัยจะได้เป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและยุทธศาสตร์ และสามารถส่งผ่านให้กับหน่วยงานในระดับนโยบาย (ทั้งในระดับท้องถิ่น และประเทศ) ที่มีบทบาทในการจัดทานโยบายหรือยุทธศาสตร์ได้ดาเนินการจัดทานโยบายด้านการปรับตัวต่างๆ ต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในบริบทที่เหมาะสมและสนับสนุนยุทธศาสตร์การพัฒนาระยะยาว รวมถึงการสนับสนุนกลไกการปรับตัวหรือการจัดการความเสี่ยงจากสภาพอากาศที่มีความแปรปรวน อีกทั้งการทาให้เกิดกระบวนการในชุมชนเพื่อสนับสนุนการวางแผนที่นาไปสู่การดาเนินการในพื้นที่ ซึ่งมีเป้าหมายให้ชุมชน และ/หรือพื้นที่มีขีดความสามารถสูงขึ้นในการต้านรับความเสี่ยงในรูปแบบที่หลากหลาย รวมไปถึงแผนงานหรือยุทธศาสตร์ที่เกิดขึ้นในระดับต่างๆ (ชุมชน/ท้องถิ่น ลุ่มน้า /จังหวัด จนถึงระดับกรทรวง/ระดับชาติ) จะต้องมีความสอดคล้อง หรือสอดรับกัน จึงนามาซึ่งเหตุผลของการจัดการประชุมระดมความคิดเห็นในครั้งนี้ เพื่อให้ได้ข้อคิดเห็นต่อแนวคิดและกรอบการศึกษาศึกษาวิจัยด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศแบบองค์รวม แนวทางการจัดตั้งโจทย์วิจัย การคัดเลือกพื้นที่ศึกษานาร่องและข้อเสนอแนะถึงเครือข่ายนักวิจัย ตลอดจนหน่วยงานปฏิบัติและภาคประชาชนที่ควรเข้ามีส่วนร่วมในกระบวนการศึกษา

2. กรอบแนวคิดด้านการศึกษาถึงการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศเชิงพื้นที่แบบองค์รวม
          ในการพิจารณาถึงการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในพื้นที่ขนาดใหญ่พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง เช่น จังหวัด หรือ กลุ่มจังหวัด หรือลุ่มน้ำ จะต้องคำนึงถึงความเป็นระบบที่ซับซ้อน (complex system) อันประกอบด้วยหลายภาคส่วนซึ่งมีปฏิสัมพันธ์และความเชื่อมโยงระหว่างกัน ภาคส่วนเหล่านี้มีพลวัตที่แตกต่างกันและตกอยู่ใต้ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศแตกต่างกัน การดาเนินการใดๆ ของภาคส่วนใดหรือกลุ่มสังคมใดๆ อาจส่งผลถึงภาคส่วนอื่นๆ ดังนั้น การประเมินการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศจึงควรศึกษาโดยยึดหลัก holistic approach – integrated assessment

3. เป้าหมายและวัตถุประสงค์การประชุมระดมความคิดเห็น

ก. รับฟังความคิดเห็นต่อกรอบการศึกษาและข้อเสนอแนะด้านการพัฒนาโจทย์งานวิจัยเพื่อให้เกิดความเข้าใจต่อการวางแผนปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศแบบองค์รวม (Integrated assessment - Holistic study) และกระบวนการที่เหมาะสม

ข. ระดมความคิดเห็นถึงโครงสร้างนโยบายที่สามารถนาผลจากการศึกษานี้ไปใช้ประกอบหรือเป็นข้อมูลนาเข้าเพื่อปรับปรุงนโยบายแผนงานต่างๆ ให้เกิดการควบรวมประเด็นการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ตลอดจนความคาดหวังของหน่วยงานนโยบายระดับต่างๆ (เช่น กระทรวง กรม จังหวัด) และภาคประชาสังคม-ประชาชน (เช่น องค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) จากงานวิจัย เพื่อที่จะนาไปใช้ประกอบการวางนโยบาย

ค. หารือแนวทางการมีส่วนร่วมและบทบาทของภาคนโยบายระดับต่างๆ (เช่น กระทรวง กรม จังหวัด) และภาคประชาสังคม-ประชาชน (เช่น องค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) ในกระบวนการศึกษาวิจัย

ง. หารือแนวทางการดาเนินการวิจัยในลักษณะเครือข่ายนักวิจัยหลายสาขาและหลายสถาบัน ภายใต้แนวคิด แม่ข่าย-ลูกข่ายการวิจัย

จ. ระดมความคิดเห็นด้านเกณฑ์ในการคัดเลือกพื้นที่เป้าหมายในการจัดตั้งโครงการวิจัยนาร่อง และรับฟังข้อเสนอแนะพื้นที่ที่น่าสนใจศึกษา

4. วัน เวลา และสถานที่
วันศุกร์ ที่ 14 กันยายน 2555 ระหว่างเวลา 09.00–13.00 น.
ณ โรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค ถนนรัชดาภิเศก กรุงเทพฯ

หากท่านสามารถสละเวลาเข้าร่วมประชุมดังกล่าวได้หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม
โปรดตอบรับกลับมายัง
คุณจริยา ฐิติเวศน์ (ผู้ประสานงานการประชุม)
โทร. 02-218-9464-67
โทรสาร 02-218-9416
e-mail: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. , This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank