การปรับตัวของชุมชนและภาครัฐ ต่อการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล

Wednesday, 10 July 2019 Read 2810 times Written by 

การประชุม
“การปรับตัวของชุมชนและภาครัฐ ต่อการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล
การกัดเซาะชายฝั่ง และพายุซัดฝั่ง ในพื้นที่อ่าวไทยรูปตัว ก”
วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2562
ณ โรงแรมเบย์ ศรีนครินทร์ กรุงเทพมหานคร

 

1. ที่มาและความสำคัญ

     พื้นที่ชายฝั่งในหลาย ๆ พื้นที่ของโลก โดยเฉพาะประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียตะวันออก กำลังถูกคุกคามและเป็นพื้นที่เสี่ยงสูงที่จะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกี่ยวข้องกับทะเลชายฝั่ง ทั้งเหตุการณ์ที่มีจุดเริ่มเกิดขึ้นอย่างช้า ๆ (Slow Onset Event) เช่น การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิน้ำทะเล และเหตุการณ์สภาวะสุดขั้วของลมฟ้าอากาศและทะเล (Extreme Weather and Sea Event) ซึ่งเกิดขึ้นในระยะเวลาสั้น ๆ แต่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรง และจากข้อมูลการศึกษาวิจัย พบว่า ประเทศไทยกำลังได้รับผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล การกัดเซาะชายฝั่ง และพายุซัดฝั่งอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่ชายฝั่งอ่าวไทยรูปตัว ก บริเวณปากแม่น้ำบางปะกงจนถึงปากแม่น้ำท่าจีน เป็นพื้นที่ที่มีการกัดเซาะรุนแรงมากที่สุด และจากการศึกษาด้วยแบบจำลองพบว่า การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลเฉลี่ยในอ่าวไทยในช่วง ปีข้างหน้า มีค่าอยู่ระหว่าง 10-20 เซนติเมตร ซึ่งพื้นที่บางส่วนของกรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ และฉะเชิงเทรา จะได้รับผลกระทบมากที่สุด (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2559)
     การศึกษาความเสี่ยง และผลกระทบของชุมชนในพื้นที่อ่าวไทยรูปตัว ก ต่อการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล การกัดเซาะชายฝั่ง และพายุซัดฝั่ง เป็นการศึกษาถึงประเด็นที่มีความสอดคล้องและตอบโจทย์กับความต้องการในการเพิ่มความรู้ความเข้าใจในระดับประเทศและท้องถิ่น เพื่อนำไปสู่การเตรียมความพร้อมและเพิ่มศักยภาพของภาคส่วนที่มีความล่อแหลม ต่อความสูญเสียและความเสียหาย (Loss and Damage) จากทั้งเหตุการณ์ที่มีจุดเริ่มเกิดขึ้นอย่างช้า ๆ และเหตุการณ์สภาวะสุดขั้วของลมฟ้าอากาศตามบริบทของความตกลงปารีส การศึกษานี้ จะสามารถนำไปสู่การพัฒนาองค์ความรู้ เครื่องมือ แนวทางและวิธีการที่จำเป็น ในการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่เพื่อ “ลดความเสี่ยง เพิ่มทางเลือกการปรับตัว” รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐหรือภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการเข้าใจถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อนำไปใช้ในการสนับสนุนกระบวนการตัดสินใจโดยบูรณาการประเด็นความเสี่ยงและการปรับตัวเข้ากับมิติการจัดการชุมชนชายฝั่ง เพื่อเตรียมความพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงทั้งระยะสั้นและระยะยาว เพื่อนำไปสู่การพัฒนาชุมชนชายฝั่งอย่างยั่งยืนในอนาคต
     ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา จึงได้จัดการประชุมวิชาการ “การปรับตัวของชุมชนและภาครัฐ ต่อการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล การกัดเซาะชายฝั่ง และพายุซัดฝั่ง ในพื้นที่อ่าวไทยรูปตัว ก” ภายใต้โครงการศึกษาความตระหนักและความเสี่ยงของชุมชนในพื้นที่อ่าวไทยรูปตัว ก ต่อการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล การกัดเซาะชายฝั่ง และพายุซัดฝั่ง โดยการสนับสนุนจาก ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม

2. วัตถุประสงค์

2.1 เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และประสบการณ์ด้านความเสี่ยง ผลกระทบ การรับรู้ และการปรับตัวต่อการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล การกัดเซาะชายฝั่ง และพายุซัดฝั่งในพื้นที่บริเวณอ่าวไทยรูปตัว ก
2.2 เพื่อระดมความคิดเห็นของภาครัฐและภาคประชาสังคมเกี่ยวกับแนวทางการปรับตัวจากผลกระทบ ต่อการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล การกัดเซาะชายฝั่ง และพายุซัดฝั่งในพื้นที่บริเวณอ่าวไทยรูปตัว ก

3. รูปแบบการประชุม

การประชุมครั้งนี้ เป็นการนำเสนอผลการศึกษา สถานการณ์ ผลกระทบและการปรับตัวของชุมชนในพื้นที่อ่าวไทยรูปตัว ก ต่อการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล การกัดเซาะชายฝั่ง และพายุซัดฝั่ง ในพื้นที่อ่าวไทยรูปตัว ก

เสวนาในหัวข้อ “การปรับตัวของชุมชนและภาครัฐ ต่อการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล การกัดเซาะชายฝั่ง และพายุซัดฝั่ง ในพื้นที่อ่าวไทยรูปตัว ก”
ผู้เข้าร่วมเสวนา
1. ดร. หะริน สัจเดย์ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.โอภาส ปัญญา
3. คุณสุวรรณ บัวพลาย กรรมการชุมชนบ้านขุนสมุทรจีน
4. คุณธีรพงษ์ เหล่าพงศ์พิชญ์ สำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ดำเนินรายการโดย ผศ.ดร.ชนิษฎา ชูสุข คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

 

 

Download attachments:

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank