การสัมมนาถ่ายทอดความรู้และเสริมสร้างศักยภาพ ครั้งที่ 1 (ภาคกลาง)

Tuesday, 17 July 2018 Read 16752 times Written by 

 

pl1

โครงการจัดสัมมนาถ่ายทอดความรู้และเสริมสร้างศักยภาพให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ครั้งที่ 1 (ภาคกลาง)
ระหว่างวันที่ 7 - 8 มีนาคม 2561
ณ โรงแรมเอเชีย แอร์พอร์ท จังหวัดปทุมธานี

1. หลักการและเหตุผล
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ได้เล็งเห็นความสำคัญในการสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค ต่อสาระสำคัญและการดำเนินงานตามความตกลงปารีส เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมและยกระดับศักยภาพการดำเนินงานของหน่วยงานดังกล่าว ในการเตรียมความพร้อมสนับสนุนการดำเนินงานตามเป้าหมายที่ได้ระบุไว้ใน Thailand’s Nationally Determined Contribution (NDC) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงร้อยละ 20 - 25 จากการปล่อยในระดับปกติ ซึ่งตามบริบทของภูมิภาคและท้องถิ่นนั้น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค ถือว่าเป็นองค์กรหลัก ในการสนับสนุนทางวิชาการและขับเคลื่อนกลไกต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการลดก๊าซเรือนกระจก การปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตลอดจนการแก้ไขปัญหาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เนื่องจากเป็นหน่วยงานภาครัฐที่มีความใกล้ชิดประชาชนและเข้าใจปัญหาและบริบทในพื้นที่มากที่สุด ด้วยเหตุดังกล่าว จึงมีความจำเป็นต้องสร้างความรู้ความเข้าใจถึงสาระสำคัญของความตกลงปารีส และเสริมสร้างศักยภาพการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค เพื่อเตรียมความพร้อมสนับสนุน Thailand’s NDC
ดังนั้น กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม จึงได้กำหนดจัดสัมมนาถ่ายทอดความรู้และเสริมสร้างศักยภาพให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขึ้น โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาความรู้และเสริมศักยภาพ ให้กับบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค ในความรู้ความเข้าใจต่อสาระสำคัญของความตกลงปารีส และเพิ่มขีดความสามารถในการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของหน่วยงานดังกล่าว

2. วัตถุประสงค์
เพื่อถ่ายทอดความรู้และเสริมสร้างศักยภาพการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในประเด็นสำคัญของการดำเนินงานตามความตกลงปารีส เข้าใจถึงบทบาทของหน่วยงานท้องถิ่น และแลกเปลี่ยนด้านการดำเนินงานด้านเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

3. กลุ่มเป้าหมาย ระยะเวลา และสถานที่ดำเนินการ
ผู้บริหาร นักวิชาการ เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค
ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 7 - 8 มีนาคม 2561 ณ จังหวัดปทุมธานี จำนวน 200 คน

4. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
ผู้เข้าร่วมสัมมนา ได้รับความรู้และเสริมสร้างศักยภาพการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในประเด็นสำคัญของการดำเนินงานตามความตกลงปารีส เข้าใจถึงบทบาทของหน่วยงานท้องถิ่น และแลกเปลี่ยนด้านการดำเนินงานด้านเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

5. ผู้รับผิดชอบโครงการ
ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม



กำหนดการจัดสัมมนา
ถ่ายทอดความรู้และเสริมสร้างศักยภาพให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ครั้งที่ 1 (ภาคกลาง)
ระหว่างวันที่ 7 - 8 มีนาคม 2561
ณ โรงแรมเอเชีย แอร์พอร์ท จังหวัดปทุมธานี

วันที่ 7 มีนาคม 2561
15.00 - 17.00 น. ลงทะเบียนห้องพัก
17.00 - 18.00 น. ชี้แจงโครงการ และกิจกรรมการสัมมนา
18.00 - 20.00 น. รับประทานอาหารเย็น
20.00 น.             เข้าที่พัก

วันที่ 8 มีนาคม 2561
08.00 - 08.30 น. ลงทะเบียน
08.30 - 09.00 น. พิธีเปิด
09.00 - 12.00 น. เสวนาวิชาการ เรื่อง การดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศตามความตกลงปารีส
                          1. สาระสำคัญของความตกลงปารีส
                          โดย นายอัศมน ลิ่มสกุล กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
                          2. การดำเนินงานตามความตกลงปารีส ในฐานะหน่วยงานประสานกลางของประเทศไทย
                          โดย นางสาวอณุภรณ์ วรรณวิเศษ
                          สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
                          3. บทบาทของท้องถิ่นกับการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศตามความตกลงปารีส
                          โดย นายเอกลักษณ์ ณัถฤทธิ์ วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา
                          ดำเนินการเสวนาโดย นางธารี กาเมือง นักวิชาการอิสระด้านสิ่งแวดล้อม
12.00 - 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
13.00 - 15.00 น. เสวนาแลกเปลี่ยนโครงการและตัวอย่างดีๆ ในการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระดับท้องถิ่น
                          1. โครงการที่หลากหลายในการส่งเสริมการลดก๊าซเรือนกระจกสู่เมืองลดคาร์บอนในระดับท้องถิ่นของประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน
                          โดย นายเจษฎา สกุลคู องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)
                          2. ความมุ่งมั่นในการเป็นเมืองคาร์บอนต่ำ...สู่เมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืนของประเทศไทยและต้นแบบเมืองสิ่งแวดล้อมยั่งยืนอาเซียน
                          โดย นายวิจัย อัมราลิขิต นายกเทศมนตรีเมืองพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี
                          3. พัทยาเมืองคาร์บอนต่ำ ก้าวสู่เมืองท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
                          โดย นางรุ่งนภา ทับหนองฮี ผู้อำนวยการส่วนอำนวยการ สำนักการสาธารณสุข เมืองพัทยา
                          ดำเนินการเสวนาโดย นางธารี กาเมือง นักวิชาการอิสระด้านสิ่งแวดล้อม
15.00 - 16.00 น. ถาม - ตอบ และสรุปประเด็นสำคัญจากการถ่ายทอดความรู้
16.00 น. พิธีปิด


หมายเหตุ: รับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม เวลา 10.00 และ 15.00 น.

pl2

pl3

 

 pl4

เอกสารเผยแพร่สามารถดาวน์โหลดได้จากลิงก์นี้

https://drive.google.com/drive/folders/1UDIqs23y4MGRhZMePz79TVpB12KIA-TT?usp=sharing

เอกสารประกอบการบรรยายของวิทยากรสามารถดาวน์โหลดได้ด้านล่างนี้

Download attachments:

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank