การสัมมนาวิชาการ แนวทางการสร้างความตระหนักรู้และการมีส่วนร่วมของประชาชน

Friday, 21 April 2017 Read 1289 times Written by 

21 04 2017

โครงการสัมมนาวิชาการ

เรื่อง แนวทางการสร้างความตระหนักรู้และการมีส่วนร่วมของประชาชนด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยภายใต้ความตกลงปารีส

1. หลักการและเหตุผล
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นปัญหาสำคัญของโลกที่กำลังส่งผลกระทบอย่างกว้างขวาง ในหลายภูมิภาคและมีแนวโน้มทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นในอนาคต การรับรู้และตระหนักถึงสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันและความเสี่ยงที่ทุกคนกำลังเผชิญอยู่ รวมถึงการมีส่วนร่วมของบุคคลและชุมชน กลุ่มผลประโยชน์และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง นับเป็นความจำเป็นขั้นพื้นฐานต่อการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศ ในมาตรา 6 ของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ได้เรียกร้องให้ประเทศภาคีสมาชิกอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ส่งเสริมและให้การสนับสนุนในการพัฒนาและดำเนินงานด้านการศึกษา การสร้างความตระหนักรู้และการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบที่เกิดขึ้น รวมถึงการพัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์และสถาบันการฝึกอบรมบุคลากรทางวิทยาศาสตร์ วิชาการและการบริหารจัดการ การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของสาธารณชนและความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อให้การดำเนินงานในประเทศกำลังพัฒนาเป็นไปตามความต้องการของประเทศและเป้าหมายของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ประชาคมโลกได้ตระหนักและมีข้อกังวลร่วมกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและได้ร่วมมือกันเพื่อรับมือและแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้มาอย่างต่อเนื่อง โดยที่ประชุมสมัชชารัฐภาคี (Conference of the Parties; COP) กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ ๒๑ หรือ COP21 ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งมี ๑๘๖ ประเทศเข้าร่วมประชุม ได้บรรลุข้อตกลงและรับรอง ความตกลงปารีส (Paris Agreement) เพื่อเป็นกฎกติกาฉบับใหม่ที่ใช้บังคับกับทุกรัฐภาคี ในการยกระดับ การดำเนินงานการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกหลังปี ค.ศ. ๒๐๒๐ ความตกลงปารีสเป็นความตกลงฉบับประวัติศาสตร์ซึ่งนับเป็นจุดเปลี่ยนที่กำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศของโลก โดยเนื้อหาบางส่วนมีผลทางกฎหมายที่ทุกรัฐภาคีไม่ว่าจะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว หรือประเทศกาลังพัฒนาก็ตาม ต้องมีพันธกรณีร่วมกันภายใต้กรอบการดาเนินงานเดียวกัน จากการที่ความตกลงปารีส มีผลใช้บังคับเร็วกว่าที่คาดไว้ ซึ่งแสดงถึงความมุ่งมั่นของประเทศต่างๆ ในการร่วมมือกันยกระดับการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภายใต้กฎกติกาฉบับใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความพยายามมุ่งรักษาการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกให้ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส และเพิ่มความมุ่งมั่นเพื่อรักษาการเพิ่มขึ้น ของอุณหภูมิให้ต่ำกว่า 1.5 องศาเซลเซียส รวมถึงการเพิ่มขีดความสามารถในการปรับตัวและทำให้เกิด เงินทุนหมุนเวียนเพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับต่ำและมีภูมิต้านทานต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทั้งนี้ การสร้างความรู้ความเข้าใจต่อสาระสำคัญของความตกลงปารีสและนัยสำคัญของความตกลงฉบับใหม่ต่อการพัฒนาประเทศด้านต่างๆ ให้กับภาคส่วนต่างๆ ตลอดจนการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนและการเสริมสร้างศักยภาพให้แก่ภาคส่วนสำคัญที่เกี่ยวข้อง นับมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งต่อการเตรียมความพร้อมในการดำเนินงานตามความตกลงปารีสของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การดำเนินงานตามเป้าหมายที่ได้ระบุไว้ในรายงานการมีส่วนร่วมที่ประเทศไทยตั้งใจกำหนด (Thailand’s Intended Nationally Determined Contributions; INDCs) ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงร้อยละ 20-25 จากการปล่อยในระดับปกติ

ดังนั้น กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม โดยศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม จึงได้ดำเนินการจัดสัมมนาวิชาการ เรื่อง แนวทางการสร้างความตระหนักรู้และการมีส่วนร่วมของประชาชนด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย ภายใต้ความตกลงปารีส เพื่อเผยแพร่สาระสำคัญของความตกลงปารีส และนัยสำคัญของความตกลงฉบับใหม่ต่อการพัฒนาประเทศด้านต่างๆ ตลอดจนแนวทางการสร้างความตระหนักรู้และการมีส่วนร่วมของประชาชนด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภายใต้ข้อตกลงปารีสให้กับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นหน่วยงานภาครัฐ เอกชน สถาบันการศึกษา ประชาชน ให้มีความรู้ ความเข้าใจและสามารถนาไปใช้เป็นแนวทางในการเตรียมความพร้อมสำหรับดำเนินการ ตลอดจนสร้างความตระหนักและสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนตามความตกลงปารีสของประเทศไทยต่อไป

2. วัตถุประสงค์
เพื่อเผยแพร่สาระสำคัญของความตกลงปารีสและนัยสำคัญของความตกลงฉบับใหม่ต่อการพัฒนาประเทศด้านต่างๆ ตลอดจนแนวทางการสร้างความตระหนักรู้และการมีส่วนร่วมของประชาชนด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภายใต้ความตกลงปารีส

3. กลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมสัมมนา จำนวน 200 คน
3.1 เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานภาครัฐ สถาบันการศึกษา จำนวน 150 คน
3.2 หน่วยงานเอกชน รัฐวิสาหกิจ และประชาชน จำนวน 50 คน

4. ระยะเวลาดำเนินงาน
1 วัน (วันอังคารที่ 25 เมษายน 2560)

5. สถานที่
โรงแรมเอเชียแอร์พอร์ต จังหวัดปทุมธานี

6. เทคนิค/วิธีการจัดสัมมนา
6.1 บรรยายสาระสำคัญของความตกลงปารีส และนัยสำคัญของความตกลงปารีสต่อประเทศไทยและความเชื่อมโยงกับ Thailand 4.0
6.2 เสวนาประเด็นการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ ในการเตรียมความพร้อมและการดำเนินงานของประเทศไทย

7. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
กลุ่มเป้าหมายที่เป็นหน่วยงานภาครัฐ เอกชน สถาบันการศึกษา ประชาชน มีความรู้ ความเข้าใจและ สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการเตรียมความพร้อมสาหรับดำเนินการ ตลอดจนสร้างความตระหนักและสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนตามความตกลงปารีสของประเทศไทยต่อไป

8. ผู้รับผิดชอบโครงการ
ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม

กำหนดการ
สัมมนาวิชาการ เรื่อง แนวทางการสร้างความตระหนักรู้และการมีส่วนร่วมของประชาชน
ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย ภายใต้ความตกลงปารีส
วันอังคารที่ 25 เมษายน 2560
ณ โรงแรมเอเชีย แอร์พอร์ต จังหวัดปทุมธานี


08.30-09.00 น. ลงทะเบียน
09.00-09.30 น. พิธีเปิด
                      - กล่าวรายงานการสัมมนาวิชาการ
                      โดย นายสุรชัย อจลบุญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
                      - กล่าวเปิดการสัมมนาวิชาการ
                      โดย นายสากล ฐินะกุล อธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
09.30-10.00 น. ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง การสร้างความตระหนักรู้การมีส่วนร่วมของประชาชนและการเสริมศักยภาพต่อการดำเนินงานของประเทศไทยตามความตกลงปารีส
                      โดย นายสากล ฐินะกุล อธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
10.00-12.00 น. เสวนาวิชาการหัวข้อ สาระสำคัญของความตกลงปารีส การดำเนินงานของหน่วยงานประสานงานกลางของประเทศ นัยสำคัญของความตกลงปารีสต่อประเทศไทยและ ความเชื่อมโยงกับ Thailand 4.0
                      โดย 1. ผู้แทนสำนักงานประสานการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม
                             2. ดร.บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ ผู้อำนวยการสถาบันธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม
                      ผู้ดำเนินรายการ นายอัศมน ลิ่มสกุล นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชำนาญการ ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
12.00-13.00 น. พักรับประทานอาหารเที่ยง
13.00-15.30 น. เสาวนาประเด็นการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ ต่อการเตรียมความพร้อมและการดำเนินงานของประเทศไทยตามความตกลงปารีส
                      โดย 1. รศ. ดร. อำนาจ ชิดไธสง บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.)
                             2. นายชาคริต ดิเรกวัฒนาชัย รองประธานกรรมการแผนกสื่อสารองค์กรและความยั่งยืน บริษัท เอกชัย ดิสทิบิวชั่น ซิสเทม จำกัด (Tesco Lotus)
                             3. นางสาวบุญธิดา เกตุสมบูรณ์ มูลนิธิรักษ์ไทย
                             4. ดร. วิจัย อัมราลิขิต นายกเทศมนตรี เทศบาลเมืองพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี
                             5. นายกิตติ สิงหาปัด ผู้แทนสื่อสารมวลชน
                       ผู้ดำเนินรายการ นายอัศมน ลิ่มสกุล นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชำนาญการ ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม

15.30 - 16.15 น. อภิปรายและสรุปผลการสัมมนา
16.15 - 16.30 น. พิธีการปิดสัมมนาวิชาการ โดย นายสากล ฐินะกุล อธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม

หมายเหตุ รับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม เวลา 10.30-10.45 น. และเวลา 14.30-14.45 น.

พิเศษสำหรับผู้เข้าร่วมงานสัมมนา โดยผู้ที่ทำการลงทะเบียน 100 ท่านแรก จะได้รับหนังสือรายงานสังเคราะห์และประมวลสถานภาพองค์ความรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทย ครั้งที่ 2 พร้อมเอกสารวิชาการ

21 04 2017 1 1 1

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank