การประชุมวิชาการเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศแห่งชาติ GEOINFOTECH

Tuesday, 15 December 2015 Read 1544 times Written by 

15 12 2015 7

ความเป็นมา

     การประชุมวิชาการเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศแห่งชาติGEOINFOTECH เป็นเวทีสำหรับการเสนอและเผยแพร่ผลงานวิจัยของนักวิชาการ นักวิจัย นิสิตและนักศึกษา จากหน่วยงานของรัฐและเอกชน เป็นการแสดงความก้าวหน้าของเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ การแลกเปลี่ยนความรู้และความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อการวิจัยและพัฒนารวมทั้งสะสมประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศอันจะนำไปสู่การเพิ่มคุณภาพชีวิตสร้างรายได้และสร้างงานแก่ประชาชนทุกระดับเพื่อให้เกิดการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) สทอภ. (GISTDA) ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)โดยมีภารกิจหลัก ในการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศของประเทศไทย สทอภ. ร่วมกับ กรมแผนที่ทหาร และสมาคมวิชาชีพ จำนวน 6 สมาคม ประกอบด้วย สมาคมสำรวจข้อมูลระยะไกลและสารสนเทศภูมิศาสตร์แห่งประเทศไทย สมาคมภูมิศาสตร์แห่งประเทศไทย สมาคมระบบขนส่งและจราจรอัจฉริยะไทย สมาคมการแผนที่แห่งประเทศไทย สมาคมธรณีวิทยาแห่งประเทศไทยและสมาคมการสำรวจและการแผนที่จัดประชุมวิชาการเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศเป็นประจำทุกปี
กิจกรรมของงาน GEOINFOTECH นอกเหนือจากการนำเสนอบทความวิชาการและผลงานวิจัยแล้วยังมีกิจกรรมอื่น ๆ อาทิ แสดงปาฐกถา การบรรยายพิเศษ เสวนาจากผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน การแข่งขันการประกวดสื่อภูมิสารสนเทศ ระดับเยาวชน และการแข่งขันโปรแกรมประยุกต์ด้านเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ รวมถึงการแสดงนิทรรศการ และเทคโนโลยีสมัยใหม่ทั้งภาครัฐและเอกชน

เป้าหมาย

ผลักดันส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการนำเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ผลงานวิจัยด้านอื่นๆไปประยุกต์ใช้อย่างเป็นรูปธรรมและนำไปสู่การเพิ่มคุณภาพชีวิตสร้างรายได้และสร้างงานแก่ประชาชนทุกระดับเพื่อให้เกิดการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมวิชาการฯ ได้รับทราบความก้าวหน้าของเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ
2. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้นักวิชาการ นักวิจัย นิสิตและนักศึกษาจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน นำเสนอและเผยแพร่ผลงานวิจัย
3. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมวิชาการฯ ได้แลกเปลี่ยนความรู้และความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อการวิจัยและพัฒนา รวมทั้งสะสมประสบการณ์เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศในสาขาต่างๆ ในระดับชาติและนานาชาติ
4. เพื่อส่งเสริมให้มีการนำเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศไปประยุกต์ใช้ในหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องมากยิ่งขึ้น

เนื้อหาการประชุม

1. ความก้าวหน้าและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ
2. บทบาทและความพร้อมของประเทศ ด้านเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศในการก้าวสู่อาเซียน
3. การพัฒนาและประยุกต์ เครื่องมือ แบบจำลอง อัลกอริทึมและเทคนิคใหม่ๆ ด้านภูมิสารสนเทศ
4. การสำรวจรังวัดและการบริการเชิงตำแหน่ง (GNSS & Location Based Service)

http://geoinfotech.gistda.or.th/2016/

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank