การขยายผลโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานประเทศไทย

Friday, 20 March 2015 Read 1841 times Written by 

20 03 2015 1-1-2

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ร่วมกับ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)
ขอเชิญเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ
“การขยายผลโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานประเทศไทย (T-VER) ประเภทโครงการด้านการเกษตร”

วันที่ 26 มีนาคม 2558 ตั้งแต่เวลา 08.00 น.เป็นต้นไป
ณ ห้องประชุม SC1-200 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

หลักการและเหตุผล

โครงการคาร์บอนเครดิตภายใต้โครงการ “การขยายผลโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานประเทศไทย (T – VER) ประเภทโครงการด้านการเกษตร” ได้ดำเนินโครงการต้นแบบภาคการเกษตรขึ้น เพื่อทดสอบระเบียบวิธีการลดก๊าซเรือนกระจกที่พัฒนาขึ้น (Methodology) ตามการพัฒนากลไกโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction Program: T-VER) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการดำเนินการลดก๊าซเรือนกระจกอย่างสมัครใจ และส่งเสริมให้มีการปรับตัวมุ่งสู่การเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ (Low-carbon Society) และรองรับภารกิจข้อตกลงในการมีส่วนร่วมและมีเป้าหมายในการลดก๊าซเรือนกระจกในอนาคตหลังปี 2563 และได้มีการดำเนินการพัฒนาแนวทางการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจ ระเบียบวิธีการลดก๊าซเรือนกระจก หลักเกณฑ์ รวมถึงการจัดทำเอกสารข้อเสนอโครงการ การตรวจสอบและทวนสอบโครงการ รวมถึงเครื่องมือต่างๆ ที่ได้พัฒนาขึ้น เพื่อนำผลที่ได้มาพัฒนาปรับปรุงให้การพัฒนาโครงการ T – VER .ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้เพื่อให้เกิดแบบอย่างและเกิดแนวปฏิบัติที่ถูกต้อง (Good Practice) ก่อนนำไปใช้ขยายผลต่อไปยังภาคส่วนต่างๆ ในการพัฒนาโครงการ T-VER ต่อไป

กิจกรรมการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการในโครงการ “การขยายผลโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานประเทศไทย (T – VER) ประเภทโครงการด้านการเกษตร” จัดขึ้นเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ในการจัดทำโครงการและการจัดทำข้อเสนอโครงการให้กับผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานประเทศไทย (T – VER) และมีความสนใจในเรื่องการทดสอบระเบียบวิธีการลดก๊าซเรือนกระจกที่พัฒนาขึ้นใหม่ การพัฒนาโครงการต้นแบบขึ้นตามประเภทระเบียบวิธีการฯ นั้นๆ และเพื่อกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาโครงการ T-VER อันจะนำไปสู่การลดก๊าซเรือนกระจกในภาพรวมของประเทศ และสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ประเทศไทยในการพัฒนาไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำต่อไป

วัตถุประสงค์

1) เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ ระเบียบวิธีการและเครื่องมือต่างๆ ที่พัฒนาขึ้นในการพัฒนาโครงการต้นแบบ (Demonstration project) ของสวนผลไม้ ประเภทโครงการด้านการเกษตร
2) เพื่อขยายผลโครงการต้นแบบและส่งเสริมให้ภาคส่วนต่างๆ มีการดำเนินกิจกรรมการลดก๊าซเรือนกระจกผ่านการดำเนินโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจ (T-VER)

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1) ผู้เข้าร่วมงานเข้าใจในระเบียบวิธีการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจที่พัฒนาขึ้นใหม่ไปใช้ในการพัฒนาโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจในประเทศเพื่อเป็นโครงการต้นแบบสำหรับประเภทโครงการด้านการเกษตร
2) ผู้เข้าร่วมงานได้นำองค์ความรู้ไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาโครงการอื่นๆ ต่อไป

http://science.msu.ac.th/carboncreditth/

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank