สัมมนา Climate Change and Health

Wednesday, 10 December 2014 Read 2048 times Written by 

20 11 2014 2

การสัมมนา
เรื่อง การเตรียมการของประเทศเพื่อลดความเปราะบางและการปรับตัวจากผลกระทบ
จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ : ด้านสุขภาพ
(Climate Change and Health)
 วันพุธที่ 17 ธันวาคม 2557 เวลา 08.30-16.30 น.
ณ ห้องแมนดาริน ซี โรงแรมแมนดาริน แมเนจ บาย เซ็นเตอร์ พ้อยท์ กรุงเทพฯ
--------------------------------------

๑.    ความเป็นมา หลักการ และเหตุผล
ประเทศไทยกำลังเผชิญกับความท้าทายที่สำคัญต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน สืบเนื่องจากปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในระดับโลกอันมีสาเหตุมาจากการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศพัฒนาแล้วในช่วงหลังปฏิวัติอุตสาหกรรม เป็นตัวเร่งสำคัญที่ก่อให้เกิดการสั่งสมของปริมาณก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ และทำให้ปรากฏการณ์ก๊าซเรือนกระจก และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทวีความรุนแรงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ถึงแม้ว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะเป็นสถานการณ์ปัญหาที่สำคัญระดับโลก แต่ส่งผลกระทบต่อประเทศกำลังพัฒนาเช่นประเทศไทยเป็นอย่างมากในสองส่วนหลักๆ กล่าวคือ ประเทศไทยต้องเผชิญและรับมือกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งรวมถึง การเปลี่ยนแปลงรูปแบบของฤดูกาล การเกิดภัยพิบัติที่รุนแรงและบ่อยครั้งขึ้น ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ การเปลี่ยนแปลงของรูปแบบและการแพร่กระจายของเชื้อโรคและพาหะนำโรค นำมาซึ่งการเกิดโรคอุบัติใหม่และโรคอุบัติซ้ำ เป็นต้น ทั้งนี้ ประเทศไทย ในฐานะที่เป็นประเทศเกษตรกรรม มีรูปแบบการพัฒนา และวิถีชีวิตที่ต้องพึ่งพิงความอุดมสมบูรณ์ของฐานทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจึงนับเป็นภัยคุกคามที่สำคัญต่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ทั้งการรักษาการเติบโตทางเศรษฐกิจ การขจัดปัญหาความยากจนและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น รวมถึงการรักษาความสมดุลของระบบนิเวศ ความสมบูรณ์ของฐานทรัพยากรธรรมชาติและคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดี ในขณะเดียวกัน ปัญหาอีกส่วนหนึ่งที่ประเทศไทยต้องเผชิญ คือการเพิ่มขึ้นของปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากรูปแบบของการพัฒนาประเทศที่จำเป็นต้องพึ่งพาพลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นหลัก และจากการขยายตัวอย่างรวดเร็วของพื้นที่เมือง ทำให้มีความต้องการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นต้น ซึ่งหากประเทศไทยและประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ ยังคงไว้ซึ่งรูปแบบการพัฒนาดังกล่าว ย่อมจะส่งผลให้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบต่างๆ ทวีความรุนแรงขึ้นอย่างมากในอนาคต และทำให้การปรับตัวและรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอนาคตทำได้ยากยิ่งขึ้นไป
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะหน่วยประสานงานกลางอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มีหน้าที่สำคัญในการเสนอแนะนโยบาย ยุทธศาสตร์และแผนการดำเนินงานเกี่ยวกับการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศ ประกอบกับได้มีการจัดทำ (ร่าง) แผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. ๒๕๕7-๒๕๙๓ ซึ่งอยู่ระหว่างการนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้ใช้เป็นกรอบทิศทางการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศ อันประกอบด้วยกรอบแนวทางด้านการปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Adaptation) การลดก๊าซเรือนกระจกและส่งเสริมการเติบโตที่ปล่อยคาร์บอนต่ำ (Mitigation) และการสร้างขีดความสามารถด้านการบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่มีการกำหนดเป้าหมายการดำเนินการ ทั้งในระยะสั้น กลาง และยาว/ต่อเนื่อง นอกจากนี้ ประเทศไทยยังมีนโยบายและมาตรการรายสาขาที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ได้แก่ แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกร้อยละ ๒๕ ใน ๑๐ ปี แผนอนุรักษ์พลังงาน ๒๐ ปี แผนแม่บทด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ยุทธศาสตร์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศด้านการเกษตร แผนยุทธศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ แผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งที่ยั่งยืนและลดปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. ๒๕๕๖-๒๕๗๓ รวมถึงแผนในระดับท้องถิ่น เช่น แผนแม่บทกรุงเทพมหานครว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. 2556-2566 ที่อยู่ระหว่างการจัดทำ เป็นต้น
ทั้งนี้ ภายใต้ (ร่าง) แผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศฯ ได้ระบุประเด็นการปรับตัว (Adaptation) ด้านสาธารณสุข ให้มุ่งเน้นการเฝ้าระวังโรคและการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยทางภูมิอากาศที่มีผลต่อสุขภาพและการป้องกันการเกิดและแพร่ระบาดของโรค รวมถึงการส่งเสริมการเข้าถึงบริการทางสาธารณสุขที่มีคุณภาพ  เพื่อให้เกิดการเพิ่มขีดความสามารถในการดำเนินงานรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในด้านนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยความร่วมมือกับกรมอนามัย ในปี พ.ศ. 2558 จึงจัดให้มีการประชุมสัมมนาเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานโดยมุ่งเน้นผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีต่อสุขภาพ (Climate Change and Health) ซึ่งการสัมมนาดังกล่าวจะสามารถผลักดันให้เกิดการขยายเครือข่ายการดำเนินงานที่กว้างขวาง รวมทั้งสร้างความเข้มแข็งในการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีอยู่ยิ่งขึ้นต่อไป
๒.    วัตถุประสงค์
๒.๑ เพื่อเสริมสร้างความรู้และความเข้าใจในประเด็นผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีต่อสุขภาพ (Climate Change and Heath) ประสบการณ์การดำเนินการในต่างประเทศ เพื่อเตรียมความพร้อมของทุกภาคส่วนในการรับมือกับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น
2.2 เพื่อสร้างความตระหนักแก่ภาคส่วนต่างๆ ให้รับทราบถึงบทบาท หน้าที่ของตนในการร่วมขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะผลกระทบต่อสุขภาพ ให้บรรลุเป้าหมายของประเทศ
๒.3 เพื่อเสริมสร้างเครือข่ายระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะด้านสาธารณสุขเพื่อการประสานงานในการดำเนินงานรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศในอนาคต

๓.    รูปแบบ
การสัมนา ประกอบด้วย
3.1 การบรรยายจากผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศจาก World Health Organization ผู้แทนสำนักงานนโยบายแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
3.2 การอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นถึงข้อเสนอต่อการเตรียมการของประเทศ เพื่อลดความเปราะบางและเตรียมการปรับตัวจากผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีต่อสุขภาพ
๔.    กลุ่มเป้าหมาย
ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย นักวิชาการ ผู้แทนจากสถาบันการศึกษา ผู้แทนจากส่วนราชการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ผู้แทนจากภาคเอกชน ผู้แทนจากองค์กรพัฒนาเอกชน และผู้สนใจทั่วไป จำนวนประมาณ 100 คน
๕.    วัน เวลา สถานที่ประชุม
วันพุธที่ 17 ธันวาคม ๒๕๕ เวลา ๘.๓๐ น. – ๑6.30 น. ณ ห้องแมนดาริน ซี โรงแรมแมนดาริน สามย่าน กรุงเทพฯ

๖.    ผลที่คาดว่าจะได้รับ
๖.๑ ผู้เข้าร่วมสัมมนามีความรู้และความเข้าใจเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบต่อสุขภาพ และแนวทางการดำเนินการในประเทศไทย
๖.๒ ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้เรียนรู้เกี่ยวกับประสบการณ์ในการดำเนินการของหน่วยงานต่างๆ ในประเทศไทยและต่างประเทศที่เกี่ยวข้องข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบต่อสุขภาพ
๖.๓ ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้มีการสร้างภาคีเครือข่ายการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ที่เข้าร่วมประชุม
7. ผู้จัดการประชุม
สำนักงานประสานการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.)
ผู้ประสานงานการจัดประชุม : ภัทรทิพา ศันสยะวิชัย, สโรชา หรุ่นศิริ, จุฑามาศ พานิชรังสี
โทรศัพท์ ๐ ๒๒๖๕ ๖๕๐๐ ต่อ ๖๗๘๔
โทรสาร ๐ ๒๒๖๕ ๖๖๙๒
Email address : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
โดยความร่วมมือจาก
กอง......
กรมอนามัย
ผู้ประสานงาน : มิ้มและคนอื่นๆ /โทรศัพท์ โทรสาร อีเมล์

กำหนดการสัมมนา
เรื่อง “การเตรียมการของประเทศเพื่อลดความเปราะบางและการปรับตัวจากผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ : ด้านสุขภาพ (Climate Change and Health)”
วันพุธที่ 17 ธันวาคม 2557 เวลา 08.30-16.30 น.
ณ ห้องแมนดาริน ซี โรงแรมแมนดาริน แมเนจ บาย เซ็นเตอร์ พ้อยท์ กรุงเทพฯ

เวลา    กิจกรรม
08.30 – 09.00 น.    ลงทะเบียน
09.00 – 09.30 น.    เปิดการประชุม
โดย เลขาธิการสำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
09.30 – 10.30 น.    บรรยาย “ความเชื่อมโยงของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมและผลกระทบต่อสุขภาพ : ความเปราะบางและการเตรียมการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง”
โดย  Dr.Kristie Ebi และคณะ
      World Health Organization : WHO
10.30 – 10.45 น.    พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม
10.45 – 11.30 น .    บรรยาย เรื่อง สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในประเทศไทย
โดย  ดร.อัศมน  ลิ่มสกุล
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
11.30 – 12.00 น.    บรรยาย เรื่อง นโยบายและการเตรียมการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โดย นายประเสริฐ ศิรินภาพร
ผู้อำนวยการสำนักงานประสานการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สำนักงานนนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
12.00 – 13.00 น.    พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 – 16.00 น.    อภิปราย เรื่อง “การเตรียมการของประเทศ เพื่อลดความเปราะบางและเตรียมการปรับตัวจากผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ : ด้านสุขภาพ”       
โดย ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข (อาจเป็นเวชศาสตร์เขตร้อน สาธารณสุขชุมชน หรืออื่นๆ)
ผู้แทนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ผู้แทนภาคเมืองใหญ่ (Mega City) (นางสุวรรณา จุ่งรุ่งเรือง ผู้แทน กทม.)
ผู้แทนภาคท้องถิ่น (นายสมชาย จริยเจริญ ที่ปรึกษาโครงการเทศบาลคาร์บอนต่ำ
อดีตนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองแกลง)
ผู้แทนมูลนิธิรักษ์ไทย หรืออื่นๆ (องค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานด้านการปรับตัวในระดับชุมชน)
ดำเนินการอภิปรายโดย .........................................
16.00-16.30 น.        แสดงความคิดเห็น ตอบข้อซักถาม สรุปและปิดการประชุม

หมายเหตุ : ภาคบ่ายเสิร์ฟอาหารว่างและเครื่องดื่มในห้องประชุม

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank