โครงการประชุมวิชาการระดับชาติ “มสธ. วิจัย ประจำปี 2558”

Thursday, 20 November 2014 Read 3004 times Written by 

20 11 2014 12

โครงการประชุมวิชาการระดับชาติ “มสธ. วิจัย ประจำปี 2558”
 
หลักการและเหตุผล
               
ภารกิจที่สำคัญของมหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษา คือ การพัฒนาคุณภาพการศึกษาบนพื้นฐานของการวิจัยและพัฒนา เพื่อให้ได้มาซึ่งองค์ความรู้ใหม่และนวัตกรรมที่สามารถตอบสนองความต้องการของสังคมและประเทศชาติ สำหรับงานวิจัยที่จะสามารถนำตอบสนองต่อเป้าประสงค์ดังกล่าวได้นั้น จำเป็นต้องให้ความสำคัญตั้งแต่กระบวนการต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ กล่าวคือต้นน้ำ: เป็นการ คัดเลือกและพัฒนาโจทย์วิจัยและข้อเสนอโครงการที่สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นของผู้ใช้ประโยชน์ กระบวนการกลางน้ำ: เป็นการติดตาม ตรวจสอบโครงการ เพื่อปรับแก้ไขและควบคุมให้มีทิศทางเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ส่วนปลายน้ำ: เป็นการผลักดันให้เกิดการเผยแพร่ผลงานจากการวิจัย และการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ (Research Exploitation: RE) ที่เป็นรูปธรรม

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ตระหนักถึงความสำคัญด้านการวิจัย ทั้งการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน การวิจัยสถาบัน และการวิจัยประยุกต์ โดยส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างงานวิจัยของคณาจารย์ และบุคลากรของมหาวิทยาลัย เพื่อให้ผลิตงานวิจัยที่มีคุณค่าต่อสังคม รวมทั้งยังส่งเสริมให้เกิดการเผยแพร่ผลงานวิจัยที่มีประโยชน์สู่สาธารณะ เพื่อก่อให้เกิดการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ได้จริงทั้งในเชิงพื้นที่ เชิงนโยบาย เชิงสาธารณะ เชิงวิชาการ เชิงสร้างสรรค์ และเชิงพาณิชย์ โดยมุ่งเน้นให้นักวิจัยสามารถคิดต่อยอดได้ และเพิ่มมูลค่างานวิจัยได้  ขณะเดียวกันผลงานวิจัยต้องสามารถแข่งขันในเวทีวิชาการระดับชาติได้ด้วย

จากความสำคัญดังกล่าว มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช โดยสถาบันวิจัยและพัฒนา จึงได้จัดให้มีโครงการประชุมวิชาการระดับชาติ มสธ.วิจัย ประจำปี 2558 เรื่อง “การสร้างสรรค์งานวิจัยสู่การตีพิมพ์เผยแพร่และการใช้ประโยชน์ในระดับสากล” ขึ้น เพื่อเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความรู้จากงานวิจัย อันจะนำไปสู่การยกระดับคุณภาพงานวิจัยของมหาวิทยาลัยต่อไป
 
วัตถุประสงค์
1. เพื่อเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์และข้อค้นพบจากการวิจัยของคณาจารย์ นักวิจัย นักศึกษาและบุคคลทั่วไป
2. เพื่อกระตุ้นให้คณาจารย์ นักวิจัย และนักวิชาการ ตระหนักถึงความสำคัญของการตีพิมพ์เผยแพร่ใช้ประโยชน์จากงานวิจัย
3. เพื่อส่งเสริมให้คณาจารย์และนักวิจัยเกิดความคิดริเริ่มในการสร้างสรรค์งานวิจัยที่สามารถต่อยอด หรือขยายผลสู่เชิงพาณิชย์ได้ต่อไป
 
กลุ่มเป้าหมาย
ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย คณาจารย์ นักวิจัยของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช บุคลากรทางการศึกษา และผู้สนใจทั่วไป จำนวนประมาณ 150 คน

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank