นักวิชาการเตือนระวัง กทม.จมน้ำ

Tuesday, 25 September 2012 Read 809 times Written by 

25 09 2012 2

นักวิชาการระบุว่าความเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติของธรรมชาติ ทำให้ร่องมรสุมอยู่นานผิดปกติ โดยเสนอให้กรุงเทพมหานครรีบพร่องน้ำคลองเพื่อลดระดับน้ำ ส่วนการแก้ปัญหาระยะยาวต้องขยายท่อระบายน้ำให้ใหญ่ขึ้นสามารถระบายน้ำได้เป็น 100 มิลลิเมตรต่อชั่วโมง เพราะการสร้างเขื่อนไม่ใช่คำตอบของการป้องกันน้ำท่วม

นายธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล หน่วยศึกษาพิบัติภัยและข้อสนเทศเชิงพื้นที่ ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยถึงสถานการณ์วิกฤติน้ำในประเทศไทยปี 2555 ว่า ปีนี้พื้นที่กรุงเทพมหานครยังน่าเป็นห่วง เนื่องจากมีร่องมรสุม และพายุพาดผ่านประเทศไทยนานผิดปกติโดยยังไม่สามารถหาสาเหตุได้ ซึ่งตามปกติแล้วร่องมรสุมจะอยู่ประมาณ 4-7 วัน แต่ปีนี้อยู่มาเกือบ 1 เดือนแล้ว ซึ่งร่องมรสุมที่พาดผ่านนานก็จะทำให้ฝนตกหนัก จึงถือว่ากรุงเทพมหานครมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดน้ำท่วมที่มาจากน้ำฝน

สำหรับปีนี้คาดว่าจะมีพายุเข้ามาในช่วงเดือนตุลาคม เหมือนปี 2533, 2539 และ 2549 ที่ทำให้น้ำท่วมภาคกลาง ซึ่งมีโอกาสสูงมาก และประมาณวันที่ 29 กันยายนถึง 2 ตุลาคมนี้ คาดว่าจะมีฝนตกหนักซึ่งต้องจับตามองว่ากรุงเทพมหานครจะรับมืออย่างไร ขณะที่ปัจจุบันกรุงเทพมหานคร กับรัฐบาลยังไม่บูรณาการแผนงานร่วมกัน

ส่วนข้อแนะนำนั้นขณะนี้มีวิธีเดียวคือพร่องน้ำในคลอง เพราะการขุดลอกคูคลองอาจไม่ทันการ พร้อมทั้งต้องหารือกับรัฐบาลว่าจะต้องไม่ปล่อยน้ำเหนือผ่านเข้ามา นอกจากนั้น การที่รัฐบาลทุ่มงบประมาณสร้างพนังกั้นน้ำให้สูงขึ้น อาจจะยิ่งทำให้กรุงเทพมหานครมีความเสี่ยงมากขึ้น หากฝนตกหนักเป็นเวลานาน และเขื่อนก็เริ่มปล่อยน้ำลงมา ซึ่งอาจเกิดปัญหาเหมือนกับเมืองนิวออร์ลีนส์ ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเมื่อเกิดพายุกำแพงก็จะกลายเป็นอ่างเก็บน้ำ

สำหรับน้ำท่วมภาคกลางนั้นมีหลายปัจจัยไม่ใช่เฉพาะน้ำเหนือเท่านั้น ซึ่งปีนี้น่าห่วงเรื่องร่องมรสุมที่อยู่นานผิดปกติ อีกทั้งน้ำเหนือก็คาดว่าจะมาถึงกรุงเทพมหานครประมาณเดือนตลุาคมนี้เช่นกัน และช่วงนั้นก็อาจจะมีน้ำทะเลหนุนด้วยซึ่งถ้า 3 น้ำมาเจอกันกรุงเทพฯ ก็อาจต้องเจอปัญหาใหญ่

ส่วนในระยะยาวกรุงเทพมหานครจะต้องปรับท่อระบายน้ำให้ใหญ่ขึ้นจากที่ระบายได้ 60 มิลลิเมตรต่อชั่วโมงเป็น 100 มิลลิเมตรต่อชั่วโมง และขุดลอกคูคลองให้ลึกขึ้น ขณะที่แนวคิดที่จะก่อสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นนั้นคิดว่าเขื่อนไม่ใช่มาตรการเบ็ดเสร็จที่ให้แก้ปัญหาทั้งหมด แต่จะต้องมีการบริหารจัดการน้ำที่ดีหากบริหารจัดการไม่ดีเขื่อนอาจจะกลายเป็นปัญหา รัฐบาลต้องให้คำตอบเรื่องความคุ้มค่าให้ได้

ส่วนการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเกี่ยวกับการจราจรในช่วงที่เกิดฝนตกหนัก นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาโดยระบุว่า ในวันพรุ่งนี้ (26 ก.ย.) นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานคณะทำงานแก้ไขปัญหาการจรจาในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล จะเรียกประชุมคณะทำงาน ซึ่งจะมีตัวแทนจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงมหาดไทย และกรุงเทพมหานครเข้าร่วมประชุมเป็นครั้งแรก เพื่อแลกเปลี่ยนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปัญหาการจราจร รวมทั้งพิจารณาหาแนวทางแก้ไข โดยจะจัดทำเป็นแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหา เพื่อนำเสนอให้นายกรัฐมนตรีพิจารณาภายใน 7 วัน

สำหรับปัญหาเร่งด่วนที่คณะทำงานต้องเร่งแก้ไขเป็นลำดับแรกในขณะนี้คือปัญหาน้ำท่วมขัง โดยเฉพาะบริเวณทางลงทางด่วนดินแดง ถนนวิภาวดีรังสิต และบริเวณอนุสรณ์สถานแห่งชาติ เนื่องจากเป็นจุดที่มีรถสัญจรจำนวนมาก ทำให้การจรจาติดขัดรุนแรงในช่วงฝนตก เบื้องต้นได้ประสานกับ พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เพื่อขอใช้พื้นที่ของทหาร 2 จุด เป็นแก้มลิงเพื่อรองรับน้ำฝน คือพื้นที่บริเวณกองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์ หรือ พล ร.2 บริเวณดินแดง และสนามกีฬากองทัพบก

Credit: http://news.thaipbs.or.th

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank