ผวาน้ำป่าทะลักซ้ำ ชาวบ้าน-นร.บ้านปอน เมืองน่าน วอนรัฐช่วยด่วน

Thursday, 09 August 2012 Read 847 times Written by 

09 08 2012 6

น่าน - ชาวบ้านตำบลปอน และนักเรียนหวาดผวาน้ำเซาะตลิ่งเข้าบ้าน-โรงเรียน แม้ก่อนหน้านี้ชาวบ้านจะช่วยกันทำเสาเข็มป้องกันกระแสน้ำป่าเข้าบ้าน 79 หลังติดริมน้ำแล้ว แต่ยังหวั่นวิตกต้านแรงกระแสน้ำไม่ไหว แถมกระแสน้ำทำที่ริมตลิ่งหลังโรงเรียนพังเพิ่ม วอนราชการเร่งช่วยเหลือด่วน

รายงานข่าวจากจังหวัดน่านแจ้งว่า ท่ามกลางสายฝนที่ตกลงมาต่อเนื่อง ทำให้ขณะนี้ชาวบ้านปอน หมู่ 6 ต.ปอน อ.ทุ่งช้าง จ.น่าน กว่า 300 คน ยังคงต้องนอนขวัญผวาเฝ้าระวังฟังเสียงน้ำป่าหลากทุกคืน หลังเหตุการณ์น้ำป่าทะลักเมื่อปี 2554 ทำให้ทั้งหมู่บ้านซึ่งอยู่ติดลำน้ำน่านได้รับความเสียหายจากน้ำป่าพัดถล่ม กัดเซาะแนวตลิ่งพังทลาย ต้องรื้อถอนหอประชุมหนีน้ำ รวมทั้งที่ดินทำกินหลายไร่ของชาวบ้านหายไปกับน้ำเหลือเพียงโฉนดทิ้งไว้ให้ถือ ขณะที่ อบต.ปอนร้องขอโครงการก่อสร้างกล่องเรียงหินป้องกันตลิ่งผ่านระดับอำเภอไปถึงระดับจังหวัดนานเกือบปียังไม่คืบหน้า ทำให้ชาวบ้านต้องเร่งหาวิธีช่วยเหลือตนเอง ระดมกำลังทำเสาเข็มปักลงดินทำเป็นพนังกั้นน้ำ ทั้งที่ก็ไม่แน่ใจว่าจะสามารถต้านทานแรงน้ำป่าหลากได้

โดยพวกเขายังต้องวิตกกังวลนอนผวาทุกครั้งเมื่อมีฝนตกเนื่องจากใกล้เข้าสู่ช่วงน้ำป่าหลากอีกครั้ง เพราะหลังจากทำเสาแนวกันตลิ่งพังจากไม้ไผ่และเสาไม้ยูคาฯ ผ่านมาเดือนเศษ น้ำก็ยังเซาะตลิ่งอยู่ตลอดเวลาทำให้ชาวบ้านยิ่งหวาดผวาหนัก และจนถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีหน่วยงานราชการหรืองบประมาณใดๆ เข้ามาช่วยเหลือสนับสนุน

นายประยงค์ แสงศิริโรจน์ อาจารย์ประจำโรงเรียนบ้านปอน เปิดเผยว่า โรงเรียนบ้านปอนอยู่ฝั่งตรงข้ามแม่น้ำกับหมู่บ้านปอน เมื่อทางหมู่บ้านปอนทำพนังกั้นน้ำ ทำให้กระแสน้ำเปลี่ยนทิศทางและกระแสน้ำแรงขึ้นยิ่งกัดเซาะตลิ่ง ส่งผลให้ที่ดินหลังโรงเรียนเนื้อที่ประมาณ 12 ไร่ ซึ่งใช้เป็นพื้นที่สำหรับทำการเกษตรของโรงเรียน ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำเซาะตลิ่งทุกปีอยู่แล้วยิ่งถูกกระแสน้ำพัดจนตลิ่งหลังโรงเรียนทรุดพังอย่างหนัก ทำให้นักเรียนที่มีตั้งแต่ระดับอนุบาลเด็กเล็กไปจนถึงชั้น ป.6 กว่า 100 คนต้องหวาดผวา เกรงว่าตลิ่งหลังโรงเรียนจะพังและน้ำจะยิ่งเข้าโรงเรียน จึงวอนหน่วยราชการเร่งหาทางช่วยป้องกันและช่วยเหลือด่วน

ด้านนายสุพงศ์ ขะจาย รองนายก อบต.ปอน อ.ทุ่งช้าง จ.น่าน กล่าวว่า ขณะนี้ตำบลปอนมีพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำป่าหลากจำนวน 79 หลังคาเรือน กว่า 300 คน และยังมีวัดดอนไชยปอน และโรงเรียนบ้านปอน ซึ่งมีเด็กนักเรียนระดับอนุบาล-ป.6 จำนวน 109 คน นอกจากนี้ยังมีพื้นที่การเกษตรอีก 400 กว่าไร่ที่จะได้รับความเสียหายจากภัยน้ำป่าหลากในช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคมของทุกปี ซึ่งทาง อบต.ปอนได้สำรวจความเสียหายและของบประมาณเพื่อจัดทำกล่องเรียงหินป้องกันตลิ่งพังเพื่อป้องกันน้ำเซาะตลิ่งและลดแรงปะทะของแรงน้ำป่าหลากเข้าหมู่บ้านปอน แต่ยังไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณซึ่งล่าช้ามานานเกือบหนึ่งปีแล้ว

ซึ่งเบื้องต้นทาง อบต.ปอนร่วมกับชาวบ้านระดมกำลังเร่งทำเสาเข็มไม้ปักทำแนวกั้นตลิ่ง แต่ก็ไม่สามารถต้านทานแรงน้ำป่าหลากได้ ทำให้ขณะนี้ชาวบ้านต้องวิตกกังวลเนื่องจากใกล้เข้าสู่ช่วงน้ำป่าหลากอีกครั้ง ขอให้จังหวัดเร่งพิจารณาโครงการเพื่อแก้ไขปัญหา ก่อนที่จะเกิดความเสียหายทั้งชีวิต และทรัพย์สิน

ขอขอบคุณ http://www.manager.co.th

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank