กฟผ.เผยบริหารน้ำในเขื่อนตามแผนพร้อมรับน้ำฤดูฝน

Friday, 18 May 2012 Read 893 times Written by 

18_05_2012_1

กฟผ.บริหารจัดการน้ำในเขื่อนตามเป้าหมาย ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมามีฝนหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ โดยเฉพาะภาคเหนือ ส่งผลให้มีปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อนภูมิพล-สิริกิติ์เพิ่มขึ้น พร้อมเผยมีความพร้อมเต็มที่เพื่อรับสถานการณ์น้ำช่วงฤดูฝนที่จะมาถึง

นายกิตติ ตันเจริญ ผู้ช่วยผู้ว่าการโรงไฟฟ้าพลังน้ำ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำ กฟผ. ปัจจุบัน (16 พฤษภาคม 2555 เวลา 24.00 น.) มีปริมาณน้ำในอ่างฯ กฟผ.ทั้งหมด 56% ของความจุ หรือ 34,641 ล้าน ลบ.ม. มากกว่าปีที่แล้วในช่วงเวลาเดียวกันเพียง 1% หรือ 480 ล้าน ลบ.ม. โดยอ่างเก็บน้ำในภาคเหนือ (เขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์) นั้นเดิมมีปริมาณน้ำมากกว่าปีที่แล้วมาโดยตลอด แต่ในสัปดาห์นี้เริ่มมีปริมาณน้ำในอ่างฯ น้อยกว่าปีที่แล้ว เนื่องจากมีการระบายน้ำเพื่อการทำนาปีต่อเนื่อง

ทั้งนี้ วันที่ 5-7 พฤษภาคม 2555 ลมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมประเทศไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมภาคเหนือ ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกกระจายทั่วไปถึงหนักบางพื้นที่ โดยเฉพาะภาคเหนือ วัดปริมาณฝนสูงสุดได้ 115.9 มม. ที่ จ.ลำปาง และ 95.8 มม.ที่ อ.แม่สอด จ.ตาก ส่งผลให้มีปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์มากขึ้นตั้งแต่วันที่ 6-12 พฤษภาคม 2555 ที่ผ่านมา แต่ในปริมาณที่ไม่มากนัก โดยเขื่อนภูมิพลมีปริมาณน้ำไหลเข้าในช่วงเวลาดังกล่าวเฉลี่ยวันละ 26 ล้าน ลบ.ม.และเขื่อนสิริกิติ์เฉลี่ยวันละ 22 ล้าน ลบ.ม. และสำหรับช่วงวันที่ 15-19 พฤษภาคม ซึ่งจะมีฝนตกหนักได้อีก คาดว่าจะทำให้มีปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อนทั้งสองมากขึ้นอีกครั้งเช่นกัน

ปัจจุบัน (16 พฤษภาคม 2555 เวลา 24.00 น.) เขื่อนภูมิพล มีปริมาตรน้ำ 47% หรือ 6,345 ล้าน ลบ.ม. เป็นปริมาณน้ำใช้งานได้ 2,545 ล้าน ลบ.ม. มีช่องว่างรับน้ำได้อีก 7,117 ล้าน ลบ.ม. ในรอบสัปดาห์นี้มีการระบายน้ำเท่าที่จำเป็นตามความต้องการใช้น้ำเพื่อการทำนาปีในลุ่มน้ำเจ้าพระยาเฉลี่ยวันละ 25 ล้าน ลบ.ม. และสัปดาห์หน้าจะลดการระบายลงเหลือวันละ 15 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนสิริกิติ์ มีปริมาตรน้ำ 50% หรือ 4,741 ล้าน ลบ.ม. มีปริมาณน้ำใช้งานได้ 1,891 ล้าน ลบ.ม. มีช่องว่างรับน้ำได้อีก 4,769 ล้าน ลบ.ม. ในรอบสัปดาห์นี้มีการระบายน้ำตามความต้องการใช้น้ำเพื่อการทำนาปีในลุ่มน้ำเจ้าพระยาเฉลี่ยวันละ 20 ล้าน ลบ.ม.

ผู้ช่วยผู้ว่าการโรงไฟฟ้าพลังน้ำกล่าวเพิ่มเติมว่า เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2555 คณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการติดตาม-วิเคราะห์สถานการณ์น้ำและจัดสรรน้ำ เพื่อทำหน้าที่บูรณาการการบริหารจัดการการระบายน้ำทั้งระบบ เพื่อประโยชน์ทางการเกษตรและการใช้น้ำด้านต่างๆ ตลอดจนการป้องกันน้ำแล้งและน้ำท่วม ในลำน้ำสายหลักของประเทศ ซึ่งการบริหารจัดการน้ำในอ่างเก็บน้ำของ กฟผ.ในช่วงฤดูฝนปีนี้ จะอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะอนุกรรมการชุดนี้

“ตั้งแต่เดือนมกราคม 2555 ขณะนี้มีช่องว่างสามารถรับน้ำได้อีก 11,887 ล้าน ลบ.ม. และมีการวางแผนการระบายน้ำในเดือนสิงหาคม-ตุลาคม แต่น้อยเพื่อลดโอกาสที่จะเกิดอุทกภัยเช่นที่เคยเกิดในปี 2554 ขณะที่ยังมีปริมาณน้ำในอ่างที่สามารถสนับสนุนการใช้น้ำในกิจกรรมต่างๆ ได้อีก 4,435 ล้าน ลบ.ม. เรียกได้ว่ามีความพร้อมที่จะรับสถานการณ์น้ำในช่วงฤดูฝนปีนี้” นายกิตติกล่าว

ขอขอบคุณ http://www.manager.co.th/Business/ViewNews.aspx?NewsID=9550000061252 

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank