อากาศร้อนทำพิษ คนไทยป่วยกว่า 4 แสนราย

Tuesday, 01 May 2012 Read 785 times Written by 

01_05_2012_1

สธ.เผย สถานการณ์ 5 โรคฤดูร้อน-แห้งแล้งในรอบ 4 เดือนปีนี้ ทั่วประเทศมีรายงานผู้ป่วย 460,869 ราย เสียชีวิต 12 ราย ร้อยละ 90 ป่วยจากโรคอุจจาระร่วง ซึ่งน้อยกว่าช่วงเดียวกันในปี 2554 เน้นย้ำให้ทุกจังหวัดให้ความรู้การป้องกันโรค และขอให้ประชาชนปฏิบัติตามมาตรการ กินร้อน ช้อนกลาง และล้างมือ

นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับสถานการณ์ภัยแล้งและอากาศร้อนในขณะนี้ ว่า กระทรวงสาธารณสุข ได้กำชับให้สำนักงานสาธารณสุขทุกจังหวัด ดำเนินการป้องกันโรคที่มากับฤดูร้อนและภัยแล้ง โดยเน้นหนักโรคที่ติดต่อทางอาหารและน้ำดื่ม 5 โรค ได้แก่ โรคอุจจาระร่วง โรคอาหารเป็นพิษ บิด ไข้ไทฟอยด์ และอหิวาตกโรค จากการติดตามความคืบหน้า พบว่า ได้ผล ตั้งแต่เดือนมกราคม - เมษายน 2555 ทั่วประเทศมีรายงานผู้ป่วยรวมทั้งหมด 460,869 ราย เสียชีวิต 12 ราย โดยผู้ป่วยร้อยละ 90 ป่วยจากโรคอุจจาระร่วง ซึ่งสถานการณ์การเจ็บป่วยน้อยกว่าช่วงเดียวกันปี 2554 ที่มีจำนวนผู้ป่วยรวม 527,377 ราย เสียชีวิต 29 ราย

นายวิทยา กล่าวด้วยว่า อย่างไรก็ตาม ได้ให้ทุกจังหวัดดำเนินการป้องกันโรคอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะจังหวัดที่ประสบภัยแล้ง 48 จังหวัด ขอให้ควบคุมมาตรฐานของน้ำประปา ความสะอาดของตลาดสด ควบคุมมาตรฐานโรงงานผลิตน้ำดื่มบรรจุขวด โรงงานผลิตน้ำแข็ง โรงงานผลิตไอศกรีม ควบคุมมาตรฐานร้านอาหาร และแผงลอย และให้ความรู้ประชาชนในการป้องกันโรค ได้แก่ มาตรการกินร้อน คือ กินอาหารปรุงสุก ไม่กินอาหารดิบ หรืออาหารปรุงสุกๆ ดิบๆ ใช้ช้อนกลางตักอาหารเมื่อกินอาหารร่วมกับคนอื่น และล้างมือก่อนรับประทานอาหารและภายหลังใช้ห้องน้ำห้องส้วมทุกครั้ง จะทำให้ปลอดภัยจากโรคติดต่อทางอาหารและน้ำ

ด้าน นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัด สธ.กล่าวว่า สภาพอากาศที่ร้อนและแล้ง เชื้อโรคจะเจริญเติบโตและแพร่ระบาดรวดเร็ว โดยเฉพาะเชื้อแบคทีเรีย ขอให้ประชาชนดื่มน้ำสะอาด เช่น น้ำต้มสุกหรือน้ำดื่มบรรจุขวดที่มีตรา อย.ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนปรุงอาหาร ก่อนรับประทานอาหาร หรือก่อนเตรียมนมให้เด็ก ไม่ควรรับประทานอาหารสุกๆ ดิบๆ โดยเฉพาะอาหารที่ปรุงจากเนื้อสัตว์ หรืออาหารที่มีแมลงวันตอม

“หากต้องการจะเก็บรักษาอาหารที่ปรุงสุกแล้วรับประทานในมื้อต่อไป ควรเก็บไว้ในตู้เย็น โดยให้นำมาอุ่นทุกครั้ง ก่อนนำมารับประทาน และต้องกำจัดขยะมูลฝอย เศษอาหารและสิ่งปฏิกูลรอบๆ บริเวณบ้านทุกวัน เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลงวัน ซึ่งเป็นตัวการนำเชื้อโรคไปแพร่กระจาย และให้ถ่ายอุจจาระลงส้วมที่ถูกสุขลักษณะทุกครั้ง เพื่อป้องกันไม่ให้โรคแพร่ระบาด โดยเฉพาะเมื่อมีผู้ป่วยในบ้าน สำหรับผู้ประกอบอาหาร พนักงานเสิร์ฟอาหาร ควรหมั่นล้างมือก่อนจับต้องอาหารทุกครั้ง หากมีอาการอุจจาระร่วง ควรหยุดปฏิบัติงานจนกว่าจะหาย” นพ.ไพจิตร์ วราชิต

นพ.ไพจิตร์ กล่าวต่อว่า เมื่อมีอาการอุจจาระร่วง คือ ถ่ายเหลวมากกว่า 3 ครั้งต่อวัน ขอให้ดื่มผงน้ำตาลเกลือแร่ละลายน้ำแทนน้ำดื่ม ไม่ควรกินยาให้หยุดถ่าย เนื่องจากจะทำให้เชื้อโรคขังอยู่ในร่างกาย และจะเป็นอันตรายต่อระบบลำไส้มากขึ้น หากอาการไม่ดีขึ้น เช่น ถ่ายอุจจาระหรืออาเจียนมากขึ้น มีไข้สูง ให้พาไปพบแพทย์

ขอขอบคุณ http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9550000053917 

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank