กทม.เสนอ กยน.ปรับแผนที่แนวฟลัดเวย์

Wednesday, 29 February 2012 Read 1075 times Written by 

29_02_2012_3

แม้คณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ หรือ กยน.จะออกมาเปิดเผยแผนที่แนวฟลัดเวย์ไปแล้ว แต่ในส่วนกรุงเทพมหานคร กลับมองว่า การกำหนดแนวฟลัดเวย์ของกยน.นั้นเป็นการฝืนธรรมชาติ และผิดหลักด้านวิศวกรรม จึงเสนอให้ทบทวน และแก้ไข พร้อมแนะให้ปรับปรุงแนวฟลัดเวย์ฝั่งตะวันออก เชื่อมระบบระบายน้ำคลองหลักที่มีอยู่เดิมให้เกิดประสิทธิภาพ

เมื่อนำแผนที่แนวฟลัดเวย์ของคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ หรือ กยน.บริเวณสีน้ำเงินลายขวางมีลูกศรบอกทิศทางการไหลของน้ำ มาเปรียบเทียบกับแผนที่ภูมิประเทศจะเห็นว่าพื้นที่ฟลัดเวย์ฝั่งตะวันออก จะเป็นพื้นที่เขาใหญ่ ซึ่งหากมองตามหลักธรรมชาติแล้ว น้ำไม่สามารถกระโดดข้ามภูเขาลงมาสู่ด้านล่างได้

การใช้แนวเส้นแบ่งเขตพื้นที่ปกครองในจังหวัดลพบุรี และสระบุรี บริเวณตอนเหนือคลองระพีพัฒน์ ในการกำหนดแนวฟลัดเวย์ โดยไม่คำนึงถึงหลักวิศวกรรมที่ต้องอาศัยแผนที่ภูมิประเทศมาประกอบ นอกจากจะไม่ใช่แนวทางการแก้ปัญหาที่ถูกต้องแล้ว ยังเป็นปัญหาต่อการระบายน้ำ และอาจทำให้เกิดน้ำท่วมซ้ำรอยในพื้นที่ตอนล่างอย่างจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี และกรุงเทพมหานคร

จึงต้องถอดบทเรียนน้ำท่วมปีที่ผ่านมา เพื่อวางบรรทัดฐานในการบริหารจัดการน้ำแบบใหม่ ซึ่ง ดร. ธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เสนอว่า กนย. ควรพัฒนาแนวฟลัดเวย์เดิมให้เกิดประสิทธิภาพ โดยในพื้นที่ฝั่งตะวันออก ควรปล่อยให้ระบบคลองที่มีอยู่ ทำหน้าที่เป็นฟลัดเวย์ เพื่อเร่งระบายน้ำออกสู่ทะเล

ส่วนการทำฟลัดเวย์ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาจะกระทบต่อการระบายน้ำ เพราะพื้นที่ลาดเอียงต่ำ อาจทำให้น้ำไหลเข้า กทม. และมีโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดงขวางทางน้ำไหล ประกอบกับคลองทวีวัฒนาที่มีความยาวบรรจบกับคลองภาษีเจริญ ไม่เชื่อมต่อไปยังพื้นที่แก้มลิง ซึ่ง กยน.ต้องพัฒนาแก้มลิงกว่า 76 ตารางกิโลเมตร ควบคู่กับการขุดลอกคลอง ท่อระบายน้ำ และติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำตั้งแต่เส้นทางเข้าสู่แก้มลิง ย้อนขึ้นเหนือจากสมุทรสาคร นครปฐม นนทบุรี และปทุมธานี เพื่อให้ปลายน้ำ สามารถเร่งระบายน้ำออกสู่ทะเล เป็นการผ่อนภาระของแม่น้ำท่าจีน

นอกจากนี้ ยังเสนอให้วิศวกรจำลองแผนที่ Topographic Map แล้วทำการจำลอง Simulation ว่าน้ำไหลอย่างไร หากมีระบบคลองและสถานีสูบน้ำรองรับ โดยจะยอมให้ท่วมในพื้นที่ใด ปริมาณ ระยะเวลาเท่าใด ก่อนแจ้งเตือนให้ประชาชนทราบล่วงหน้า และควรกำหนดมาตรการชดเชยเฉพาะในช่วงวิกฤติน้ำมาก หรือ เยียวยาในกรณีน้ำแล้งด้วย

ขอขอบคุณ http://news.thaipbs.or.th 

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank